การวิเคราะห์ต้นทุนด้านแรงงานทางตรงของการนำสายดูดเสมหะกลับมาใช้ซ้ำโดยใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวและเวลา : กรณีศึกษา The Direct Labour Cost Analysis of Re-Use Suction Tubes by Motion and Time Study Technique : A Case Study ธนัญญา สุภรัมย์ (Thananya Suparum)* ดร. พรเทพ ขอขจายเกียรติ (Dr.Porntep Khokajaikiat)** บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนด้านแรงงานทางตรงของสายดูดเสมหะที่นำกลับมาใช้ซ้ำของงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งการวิเคราะห์ต้นทุนด้านแรงงานทางตรงของงานจ่ายกลางในปัจจุบันพบว่ายังไม่มีการนำเอาหลักการการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา มาประยุกต์ใช้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงนำหลักการการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลามาช่วยในการวิเคราะห์หาต้นทุนด้านแรงงานทางตรงของการนำกลับมาใช้ซ้ำของสายดูดเสมหะ และจากการวิจัยพบว่า เวลามาตรฐานของขั้นตอนการล้างทำความสะอาดสายดูดเสมหะ เท่ากับ 7.64 วินาทีต่อเส้น และ เวลามาตรฐานของขั้นตอนการการบรรจุ การอบฆ่าเชื้อ และการจัดเตรียมเพื่อส่งมอบ เท่ากับ 14.16 วินาทีต่อเส้น ซึ่งจากการนำเวลามาตรฐานที่ได้นี้ไปคำนวณหาต้นทุนด้านแรงงานทางตรงพบว่า ค่าแรงงานต่อเส้นของขั้นตอนการล้างทำความสะอาดสายดูดเสมหะ เท่ากับ 0.063 บาท และค่าแรงงานต่อเส้นของขั้นตอนการการบรรจุ การอบฆ่าเชื้อ และการจัดเตรียมเพื่อส่งมอบ เท่ากับ 0.198 บาท ดังนั้นต้นทุนรวมด้านแรงงานทางตรงของสายดูดเสมหะที่นากลับมาใช้ซ้ำของงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คือ 0.261 บาทต่อเส้น ABSTRACT This research aimed to analyze a direct labour cost of re-use suction tubes by Central Sterile Supply Department: CSSD, คำสำคัญ : การวิเคราะห์ต้นทุน การเคลื่อนไหวและเวลา Key words : Cost Analysis, Motion and Time Study |
* นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น