++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ผลของจุลินทรีย์ดินในการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ


Effect of Soil Microorganisms in Aqueous Biofertilizer Production
ปริญญา ขยันการนาวี (Parinya Kayangarnavee)* ดร. สิทธิศักดิ์ อุปริวงศ์ (Dr. Sittisak Upariwong)** ดร. สิรินดา ยุ่นฉลาด (Dr. Sirinda Yunchalard)*** ดร. เทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ (Dr. Thepparit Tulaphitak)****

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้จุลินทรีย์ดินจากแหล่งต่างๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพ โดยใช้แผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3 ซ้ำ ทดลองหมักเพื่อผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรผัก ผลไม้ กากน้ำตาล และรำข้าวเจ้าละเอียดเป็นวัตถุดิบ ประกอบด้วย 8 ชุดทดลอง ได้แก่ วัตถุดิบร่วมกับจุลินทรีย์ดิน 6 ชุด วัตถุดิบปราศจากจุลินทรีย์ดิน 1 ชุด และวัตถุดิบร่วมกับสารเร่ง พด.2 จากกรมพัฒนาที่ดิน 1 ชุด หลังจากหมักเป็นเวลา 30 วัน พบว่าทุกชุดทดลองมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 3.50- 3.59 ค่าการนำไฟฟ้า (EC) เท่ากับ 15.04- 15.56 เดซิซีเมน/เมตร จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดเท่ากับ 1.12 x 108- 2.95 x 1010 โคโลนี/มิลลิลิตร ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดเท่ากับ 12.37- 16.70 กรัม/ลิตร อินทรียวัตถุ (OM) เท่ากับ 1.20- 2.35 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) เท่ากับ 3.44- 11.43 และปริมาณธาตุอาหารพืช N, P และ K เท่ากับ 0.12- 0.21, 0.12- 0.17 และ 0.23- 0.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จำนวนแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา อยู่ในช่วง 1.82 x 108- 8.47 x 108, 7.38 x 106- 2.95 x 107 และ 3.67 x 105- 2.45 x 107 โคโลนี/มิลลิลิตร ตามลำดับ

ABSTRACT

Aim of this research was expected to use soil microorganisms from several locations in Northeastern region of Thailand as a starter for aqueous biofertilizer production. The experiment was designed by CRD with 3 replications. Vegetables, fruits, molass and rice bran were used as substrate for aqueous biofertilizer production in this experiment. The aqueous biofertilizer consisted 8 treatments as follows: substrate with soil microorganisms 6 treatments; substrate without soil microorganisms 1 treatment and substrate with Por-Dor.2 starter from Land Development Department 1 treatment. After 30 days of fermenting process, the properties of all treatments were as follows: pH = 3.50- 3.59, electrical conductivity = 15.04- 15.56 dS/m, total microorganisms = 1.12 x 108- 2.95 x 1010 CFUs/mL, total sugar content = 12.37- 16.70 g/L, organic matter (OM) = 1.20- 2.35%, C/N ratio = 3.44- 11.43 and nutritional values of N, P and K; 0.12- 0.21, 0.12- 0.17 and 0.23- 0.43% respectively. Numbers of bacteria, yeast and mold; 1.82 x 108- 8.47 x 108, 7.38 x 106- 2.95 x 107 and 67 x 105- 2.45 x 107 CFUs/mL respectively.3.
* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น *** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น **** อาจารย์ ภาควิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น