++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

“ระบบ” (System) กับ “ระบอบ” หมายความว่าอย่างไร


คำว่า “ระบบ” นั้น ความหมายที่ทำให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ระบบอะไร” หมายถึง “ใครเป็นผู้ถือ ดุล”

“ระบบ” (System) ทุกระบบ ตั้งแต่ใหญ่ที่สุดจนถึงเล็กที่สุด ตั้งแต่ “เอกภาพ” (Universe) จนถึง “ปรมาณู” (Atomic) ทั้งที่เป็น “รูปธรรม” และเป็น “นามธรรม” (Abstract) จะดำรงอยู่ได้ต้องมีความ สมดุลหรือดุลยภาพ และในดุลยภาพนั้นต้องมี “ผู้ถือดุล”

ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่ที่สุดซึ่งเรียกว่า เอกภาพ ก็คือ “ความว่าง” หรือ “ศูนย์” พุทธศาสนา เรียกว่า “สูญตา” (Zero) ผู้ถือดุลของระบบที่ใหญ่รองลงมาคือ “สุริยระบบ” (Solar System) ก็คือ “ดวง อาทิตย์”

ความสมดุลเกิดจาก “การถ่วงดุล” แต่มักจะมีความเข้าใจกันว่า การถ่วงดุลนั้น หมายถึง แต่ละ ส่วนในระบบมีกำลังหรืออำนาจเท่ากัน แน่นอนบางส่วนมีกำลังหรือมีอำนาจเท่ากัน หรือมากน้อยกว่า กันไม่มาก แต่จะต้องมีส่วนหนึ่งมีอำนาจหรือกำลังมากที่สุดครอบงำส่วนอื่นทั้งหมด จึงจะทำให้การ ถ่วงดุลระหว่างส่วนต่างๆ เกิด “ความสมดุล” และดำรงความเป็น “ระบบ” (System) นั้นๆ อยู่ได้ เช่น การถ่วงดุลในสุริยระบบ ดาวพระเคราะห์ต่างๆ มีกำลังมากน้อยกว่ากันไม่มากถ่วงดุลกัน แต่ “ดวง อาทิตย์” มีกำลังมากที่สุดเป็นตัวหลักให้เกิดการถ่วงดุล และดำรงความเป็นดุลยภาพของ “สุริยระบบ” ไว้ได้ แต่ถ้าดวงอาทิตย์สูญเสียกำลังที่ควรมี สุริยระบบหรือระบบสุริยจักรวาลก็จะแตกสลายทันที

ฉะนั้น คำว่า “ระบบอะไร” จึงเป็นการบอกความหมายว่า “ใครเป็นผู้ถือดุล” เช่น “ระบบสุริย- จักรวาล” หมายถึงดวงอาทิตย์เป็นผู้ถือดุล “ระบบรัฐสภา” จึงหมายถึง “สภาผู้แทนราษฎร” เป็น “ผู้ถือ ดุล” หรือเป็น “สถาบันหลักทางการเมือง” ของระบบรัฐสภา และ “ระบบประธานาธิบดี” จึงหมายถึง “ประมุขแห่งรัฐ” หรือ
“ประธานาธิบดี” เป็นผู้ถือดุล หรือเป็นสถาบันหลักทางการเมือง และนอกจาก มี สถาบันหลักเป็นผู้ถือดุลแล้ว ยังมี “ศาล” เป็นผู้ถือดุลในดุลอีกด้วย จึงจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ นี่ คือปัญหาหลักวิชาการที่นักร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมีความเข้าใจ และถ้าไม่มีความเข้าใจประเภท อวดรู้ คิดเอาตามชอบใจ บ้านเมืองก็บรรลัยเท่านั้น

ผู้ถือดุลหรือสถาบันหลักทางการเมือง ต้องมีอำนาจมากกว่าสถาบันอื่นๆ คือ นอกจากต้องมี อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) แล้ว ยังต้องมาจากการเลือกตั้งอีกด้วย กล่าวคือ ระบบรัฐสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาล่างจึงต้องมาจากการเลือกตั้ง และระบบ ประธานาธิบดี ประธานาธิบดีซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐจึงต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนสถาบันอื่นที่ไม่ใช่ สถาบันหลักทางการเมือง เช่น สภาสูงหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนนายก รัฐมนตรีไม่ใช่ประมุขของประเทศ แต่เป็นประมุขของการปกครองจะมาจากการเลือกตั้งมิได้

คำว่า “ระบอบ” (Regime) หมายความว่าอย่างไร
คำว่า “ระบบอะไร” หมายความว่า “ใครเป็นผู้ถือดุล” แต่คำว่า “ระบอบอะไร” หมายความว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร”

คำว่า “ระบอบ” ในที่นี้ตรงกับคำอังกฤษว่า “Regime” ไม่ใช่ “System” แปลว่า “มรรควิธีของ การปกครอง” (Method of Government) หรือมรรควิธีของรัฐบาล

ฉะนั้น ที่เราเรียกว่า “ระบอบ ประชาธิปไตย” (Democratic Regime) จึงหมายถึง “มรรควิธีการปกครองที่มีอำนาจอธิปไตย เป็นของ ประชาชน” และที่เราเรียกว่า “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime) จึงหมายถึง “มรรควิธีการ ปกครองที่ไม่ใช่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” คือ เป็นของคนส่วนน้อยที่เป็นกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ที่คอยหาวิธีผูกขาดอำนาจรัฐไว้กับกลุ่มของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยอาศัยการ เลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ระบอบ” จึงมีเพียง 2 ระบอบเท่านั้น คือ
1. ระบอบประชาธิปไตย (Democratic Regime)
2. ระบอบเผด็จการ (Dictatorial Regime)

ระบอบประชาธิปไตยก็คือ “ปวงชน” หรือ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย หรือเรียกอีก นัยหนึ่งว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” (Sovereignty of the People) เป็นระบอบที่มีเพียงชนิด เดียวและรูปเดียวเท่านั้น ส่วนระบอบเผด็จการคือ “คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย” หรือ อำนาจอธิปไตยตกอยู่ในกำมือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก็ได้ ที่ไม่ใช่เป็นของประชาชนทั่วไป ด้วยเหตุนี้ “ระบอบเผด็จการจึงมีหลายรูป” คือระบอบอะไรหมายถึง “อำนาจเป็นของใคร” นั่นเอง เช่น

ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง อำนาจอธิปไตยของกลุ่มบุคคลผู้ถืออาวุธ

ระบอบเผด็จการรัฐสภา หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของกลุ่มคนร่ำรวยในคราบของนักการ เมือง

ระบอบฟาสซีสต์ หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของกลุ่มทุนผูกขาด

ระบอบเผด็จการชนกรรมาชีพ หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของชนกรรมาชีพ

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (สมัยกลาง) หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ ในลัทธิเจ้าครองนคร (Feudalism)

ระบอบทักษิณ หมายถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของคุณทักษิณ เป็นต้น

ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ประชาชนทุกคนไม่อาจถืออำนาจอธิปไตยพร้อมกันได้ จึงต้องมีผู้ ถือแทน เรียกว่า “ประชาธิปไตยทางผู้แทน” (Representative Democracy) และ “พรรคการเมือง” (Political Party) ก็คือ ผู้แทนของประชาชนในการถืออำนาจอธิปไตย แต่พรรคการเมืองนั้นมี 2 ชนิด ไม่เหมือนกัน คือ พรรคการเมืองของประชาชน กับพรรคการเมืองของนายทุน แต่บ้านเรามีแต่พรรค การเมืองของนายทุน ยังไม่เคยมีพรรคการเมืองของประชาชน และพรรคการเมืองของนายทุนก็คือ “อำนาจอธิปไตยไม่ใช่เป็นของปวงชน” ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า “ระบอบเผด็จการ” (Dictatorial Regime)

ฉะนั้น ชาติบ้านเมืองจะพัฒนาไปได้ และทำให้ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขได้ จึงต้อง ทำลายระบอบเผด็จการ และสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทน

อ.วันชัย พรหมภา

..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น