++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

"ถ้ากรรมดีและกรรมชั่วมีจริง ทำไม บางคนทำชั่วกลับได้ดี แต่บางคนทำดี กลับได้ชั่ว "



กรรมดี กรรมชั่วมีจริงแน่นอน เพราะกรรมหมายถึงการกระทำ ถ้าทำดีก็จัดเป็นกรรมดี เรียกว่ากุศลกรรม หรือบุญกรรม ถ้าทำชั่วก็เป็นกรรมชั่ว เรียกว่าอกุศลกรรม หรือบาปกรรม ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว ก็มีจริง คือ ใครทำดีก็ย่อมได้ดี ใครทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว เห็นกันอยู่เป็นจำนวนมาก

แม้ในปัจจุบัน เป็นเพียงแต่ว่า กรรมนั้นจะให้ผลเร็วหรือช้าเท่านั้น ในการพิสูจน์ผลของกรรมจะต้องใช้กาลเวลาด้วย เพราะกรรมบางอย่างให้ผลเร็ว กรรมบางอย่างให้ผลช้า กรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้

กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อไป ดังนั้นจึงกล่าวกันว่า "กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ผลของกรรม"

การ ทำกรรมเหมือนการปลูกพืช คือ บุคคลหว่านพืชชนิดใดชนิดหนึ่งลงไปก็ย่อมได้รับผลของพืชชนิดนั้น เช่นปลูกถั่วไว้ ผลที่ได้รับก็ต้องเป็นถั่ว จะเป็นข้าวหรือเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ปลูกอ้อยไว้ ผลที่ได้รับก็ต้องเป็นอ้อย จะเป็นข้าวโพดหรืออย่างอื่นไปไม่ได้

กรรม ก็เช่นเดียวกัน เมื่อทำกรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น คือทำดีต้องได้ดี ทำชั่วก็ต้องได้ชั่ว เป็นเพียงแต่ว่าต้องใช้เวลาสำหรับกรรมบางอย่าง เพราะกรรมบางอย่างให้ผลช้า

เช่น การศึกษาเล่าเรียน กว่าจะเรียนจบต้องใช้เวลาหลายปี จบแล้วก็ต้องหางานทำอีก เมื่อมีงานทำแล้วจึงได้เงินมาใช้ อันเป็นผลส่วนหนึ่งของการเรียน แต่กรรมบางอย่างเห็นผลเร็ว เช่นหุงข้าวในวันนี้ ก็ได้รับผลในเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมงในวันนี้

แต่คนบางคน ทำชั่วแล้วยังมีความสุขความเจริญดีอยู่ ยังไม่ได้รับผลของกรรมชั่วที่ทำไว้ หรือคนทำดีบางคนยังต้องได้รับทุกข์ทรมานเดือดร้อนอยู่ ยังไม่ได้รับผลกรรมดีที่ทำไว้ จึงมีคนไม่น้อยเข้าใจผิดไปว่า "ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว"

ทั้งนี้ก็เพราะความซับซ้อนในกฎแห่งกรรมนั่นเอง คือ การที่คนบางคนทำชั่วแล้วยังไม่ได้รับผลชั่ว ก็เพราะกรรมดีที่เขาทำไว้ยังให้ผลอยู่ แต่กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ถึงวาระให้ผล แต่เมื่อใดกรรมดีของเขาอ่อนพลังลงหรือหมดไป

กรรมชั่วที่เขาทำไว้จะ ต้องถึงวาระให้ผลอย่างแน่นอน หรือคนทำดี แต่ยังเดือดร้อนลำบากอยู่ และเมื่อใดกรรมชั่วของเขาอ่อนกำลังลง หรือหมดไป กรรมดีของเขามีพลังมากขึ้น เขาก็ย่อมได้รับผลอย่างแน่นอน

เพื่อความเข้าใจชัดในเรื่องนี้ จะขอยกตัวอย่างให้ดูสัก ๒ เรื่อง คือ เรื่องนายแดงสำนึกผิด และเรื่องนายมีนักเลงการพนัน

นาย แดง ใจกล้า ฆ่าคนตายที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วหนีการจับกุมไปหลบซ่อนตัวที่จังหวัดสงขลา สำนึกในความผิดของตัวว่า ตนได้ทำความชั่วกรรมนั้นจะตามมาให้ผลในวันข้างหน้า เขาจึงตั้งใจทำดีเพื่อลบล้างกรรมชั่วของเขา คือเมื่อเขาไปอยู่ที่สงขลา ก็ตั้งใจทำมาหากินอยู่ที่นั่น

คนที่นั้นไม่มีใครรู้เบื้องหลังชีวิตของเขา เขาเข้าวัดทุกวันพระ ทำบุญฟังธรรม และรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำ และตั้งใจทำงานโดยสุจริต

คน ทางจังหวัดเชียงใหม่ ที่รู้พฤติกรรมชั่วของเขาในการฆ่าคนแล้วหนีไป จึงพูดกันว่า "ทำชั่วได้ชั่วมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" เพราะนายแดงทำชั่วแล้ว ไม่เห็นได้รับผลชั่ว แต่ไปหลบตัวสบายอยู่ที่จังหวัดสงขลา
๑๐ ปีต่อมา ตำรวจสืบทราบว่า นายแดงหนีไปหลบซ่อนอยู่ที่จังหวัดสงขลา จึงตามไปจับกุมได้ในขณะที่นายแดงกำลังนั่งฟังธรรมอยู่บนศาลาการเปรียญอยู่ใน วันหนึ่ง แล้วใส่กุญแจมือนำไปดำเนินคดีตามกฏหมาย ฝ่ายชาวบ้านทางสงขลาแถบนั้นไม่รู้เรื่องเดิมมาก่อน

เห็นแต่นายแดง เป็นคนดี เป็นอุบาสก รักษาศีล ๘ ทุกวันพระ มาวัด ฟังธรรม ทำบุญอยู่เสมอจึงพูดกันว่า "คนดีแท้ ๆ ถูกใส่ความ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ดูนายแดงเป็นตัวอย่าง ทำดีแท้ ๆ กลับได้ชั่ว" แต่ถ้าทั้งคนที่เชียงใหม่และที่สงขลา รู้ความจริงของนายแดงโดยตลอดแล้ว พวกเขาคงไม่เข้าใจผิดในเรื่องกฎแห่งกรรม

เรื่องที่สอง คือ นายมี ชอบใจ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี มีนาและสวนอยู่หลายแปลง แต่เป็นคนขี้เกียจ ทั้งชอบเล่นการพนัน และมีลูกหลายคน เขาจึงยากจน และเป็นหนี้สินเขา ต่อมานายมี รู้สึกตัวว่า การที่ตนต้องลำบากเดือดร้อนยากจน ต้องเป็นหนี้สินเขา ก็เพราะตนขี้เกียจและชอบเล่นการพนัน จึงเลิกเล่นการพนัน

หัน มาช่วยลูกเมียทำนา ทำสวนอย่างขยันขันแข็ง เพราะมีที่ทำมาหากินอยู่พร้อมแล้ว เมื่อเขาทำนาทำสวนในปีนั้น ทั้งข้าวในนาและพืชผลในสวนของเขากำลังงอกงามอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่ทันได้เก็บเกี่ยว นายมีก็ยังยากจนและเป็นหนี้เขาอยู่เช่นเดิม และยังมีความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นเสียอีก

เพราะต้องลงทุนลงแรงในการทำ งานทั้ง ๆ ที่เขาและครอบครัวได้ทำทำมาหากินโดยความขยันหมั่นเพียรและสุจริต คนบางคนที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิตเบื้องหลังของนายมี เห็นแต่นายมีขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน แต่ยังยากจนและเดือดร้อนอยู่

จึงพูดกันว่า "ไหนว่า คนทำดีได้ดี แต่ทำไมนายมีทำงานโดยสุจริต และขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน แต่ยังยากจนและเดือดร้อนอยู่"

ต่อ มา เมื่อข้าวในนา และพืชผลในสวนของเขาเก็บเกี่ยวแล้ว และให้ผลดีมาก เขาก็มีกินมีใช้อย่างสบาย หมดหนี้สิน หลายปีเข้าเขาก็มีความร่ำรวยขึ้น เพราะความขยันหมั่นเพียร และเพราะรู้จักตั้งตัวประกอบอาชีพสุจริต

ต่อ มา นายมีกลับคบเพื่อนเก่า ที่เป็นนักเลงการพนัน ซึ่งมาชวนเล่นการพนันอีก เขาจึงเลิกกิจการในนาและในสวน หันมาเล่นการพนันตามเดิมอีกเหมือนเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีกินมีใช้อยู่ เพราะเงินทองที่เก็บไว้ตอนขยันหมั่นเพียรนั้นยังเหลืออยู่มาก

บางคน ที่ไม่รู้จักประวัติเดิมของนายมี เห็นนายมีเล่นการพนันและไม่ยอมทำการงาน แต่ยังมีกินมีใช้อยู่สบาย จึงพูดว่า "ไหนว่า คนเราทำชั่วได้ชั่ว แต่นายมีขี้เกียจไม่ทำงาน และเล่นการพนัน กลับอยู่สบาย คนที่ขยันเสียอีกต้องเหนื่อยยากลำบากในการทำมาหากิน"

ทั้งนี้ก็เพราะ ว่า คนที่พูดเช่นนั้นไม่ทราบความจริงโดยตลอด การที่นายมียังมีกินมีใช้อยู่ก็เพราะกรรมดีครั้งก่อนของเขา คือความขยันหมั่นเพียรในการทำมาหากิน จึงมีเงินเก็บไว้ ทำให้เขาสบายดีอยู่ แต่ถ้าเขายังขี้เกียจอีก และยังไม่ยอมเลิกเป็นนักเลงการพนัน ในที่สุด เขาก็ต้องเดือดร้อน ยากจน และเป็นหนี้เป็นสินเขาอีกอย่างแน่นอน

เพราะ ฉะนั้น การพิสูจน์กฏแห่งกรรมจะต้องใช้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ด้วย แต่เท่าที่ผู้เขียนสังเกต อย่างมากไม่เกิน ๓๐ ปี จะต้องได้รับผลดีหรือผลชั่วที่ตนทำไว้อย่างแน่นอน

นอกจากกาลเวลาแล้ว ยังต้องพิจารณาให้รอบคอบอีกหลายด้าน เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เป็นตัวประกอบในความซับซ้อนของเรื่องกฎแห่ง กรรม เช่นยังอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ

ขึ้นอยู่กับกรรมนั้นว่า เป็นกรรมเล็กน้อยหรือมาก เบาหรือหนัก และยังขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และสถานที่อื่น ๆ ที่เข้ามาประกอบอีกด้วย

ใน การพิสูจน์หรือเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมนั้น ถ้าจะให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เราต้องศึกษาให้เข้าใจเรื่องกรรม ๑๒ ประการด้วย คือ กรรมให้ผลตามกาล ๔ อย่าง กรรมให้ผลตามหน้าที่ ๔ อย่าง และกรรมให้ผลตามลำดับ ๔ อย่าง

อีก อย่างหนึ่ง จะต้องเข้าใจเหตุและผลของกรรมดีและกรรมชั่วนั้นรวมทั้งสภาพจิตใจ ของคนที่ทำกรรมดีและกรรมชั่วนั้นด้วย จึงจะเข้าใจกฎแห่งกรรมชัดยิ่งขึ้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุ เมื่อมีเหตุแล้วก็ต้องมีผล จึงควรทำความเข้าใจเรื่องบุญบาปว่า คืออะไรด้วย

ทั้งบุญและบาปก็มี เหตุและผลของมัน เหตุของบุญก็คือการทำดี ผลของบุญก็คือความสุข ส่วนสภาพจิตใจของคนที่ทำบุญ ก็คือ ความสะอาดผ่องใสของจิต

แต่เหตุของบาปก็คือการทำชั่ว ผลของบาปก็คือความทุกข์ ส่วนสภาพจิตใจของคนที่ทำบาปก็คือความเศร้าหมอง สกปรกของจิต

บาง คนมองกรรมดีกรรมชั่วเฉพาะแต่ผลของมัน คือมองแค่ความสุขหรือความทุกข์เพียงฝ่ายเดียว แต่ไม่ได้มองเหตุของมัน หรือมองเฉพาะแต่เหตุของมัน คือ การทำดีหรือทำชั่วเพียงฝ่ายเดียว ไม่มองผลของมัน

หรือบางคนมองเฉพาะแต่เหตุกับผลของกรรม แต่ไม่ได้มองถึงสภาพจิตใจของคนที่ทำบุญหรือบาป จึงทำให้เห็นไม่ตลอดสาย ฉะนั้น จึงต้องดูให้ตลอดสาย จึงจะเข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมได้ชัด เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผล หากปราศจากเหตุผลก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา

แท้ ที่จริง ถ้าจะมองถึงสภาพจิตใจของคนที่ทำดีทำชั่วแล้ว คนทำดีและคนทำชั่วย่อมได้รับผลทันทีที่ทำกรรมนั้น ๆ คือ จิตใจของคนที่ทำดีย่อมประเสริฐขึ้นในทันทีที่ทำดี ส่วนคนทำชั่วก็มีจิตใจต่ำลงในทันทีที่ทำชั่วนั้น

แม้คนบางคนจะทำ ชั่วด้วยความร่าเริงยินดี แต่จิตใจที่แท้จริงของเขานั้นเศร้าหมอง ต่ำทราม ลดคุณภาพลง ส่วนคนทำดีบางคน แม้จะมองดูว่าลำบาก เหนื่อยยาก แต่จิตใจของเขาก็สะอาดและสูงขึ้น ย่อมส่งผลเป็นความสุขความเจริญอย่างแน่นอน
ฉะนั้น การเข้าใจกฏแห่งกรรม จำจะต้องพิจารณารอบคอบด้วย จึงจะสามารถเข้าใจได้ชัด"


"ทำไม กรรมชั่วจึงไม่ให้ผลทันตาเห็น คนจะได้เลิกทำกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี"

สาเหตุ เพราะเป็นธรรมชาติในกฏแห่งกรรมอย่างนั้นเอง เนื่องจากกรรมบางอย่างให้ผลในชาตินี้ แต่กรรมบางอย่างให้ผลในชาติหน้า หรือชาติต่อไป เช่นเดียวกับการปลูกพืชและต้นไม้ คือ พืชบางอย่างให้ผลภายในระยะเวลาเพียง ๓ - ๔ เดือน เช่น ข้าวและถั่ว เป็นต้น

แต่ พืชบางอย่างให้ผลนานกว่านั้น เช่น อ้อยและสับปะรด เป็นต้น ต้นไม้บางอย่างกว่าจะให้ผลต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๕ ปีขึ้นไป เช่น มะม่วงและมะพร้าว เป็นต้นแต่บางอย่างต้องใช้เวลานานกว่านั้นจึงจะให้ผล เช่น ตาลและไม้สัก เป็นต้น

เราจึงไม่อาจจะเร่งผลของกรรมบางอย่างที่ยังไม่ถึงเวลาเผล็ดผลได้เลย"

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.pantown.com)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น