++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จินตนาการเด็กออกแบบหุ่นยนต์/ดร.ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 พฤศจิกายน 2552 10:03 น.
สัปดาห์ที่ผ่านมา
ผมมีโอกาสไปทำหน้าที่หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรายการ "Honda Asimo Super
Idea Contest-พลังฝันสู่สิ่งประดิษฐ์ในอนาคต" ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆที่
บริษัทรถยนต์ชั้นนำฮอนด้าให้การสนับสนุนมาตลอด ปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้วครับ
มีน้องๆเข้าร่วมส่งโครงการถึงกว่า 35,000 ผลงาน
โดยผ่านเข้ารอบสุดท้ายเพียง 30 ผลงาน แบ่งระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อย่างละ 15 ผลงาน ผู้ชนะเลิศในแต่ละระดับ
จะได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
และได้นำผลงานไปประกวดที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยครับ

ผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายมีเพียง 1 ใน 1000 ของผู้สมัคร
แน่นอนที่สุดว่าไม่ธรรมดา
และสร้างความลำบากใจต่อคณะกรรมการตัดสินอย่างยิ่ง
เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็นสามกลุ่มคือ จินตนาการ (ไอเดีย)
แบบจำลองหรือโมเดล และการนำเสนอผลงาน
ผมเองนั้นจะเน้นเรื่องของจินตนาการโดยการพิจารณาไปถึงความคิดที่ไม่ซ้ำแบบ
ใครมีความแปลกใหม่ ประโยชน์ของผลงาน ความเป็นไปจริงในอนาคต
และผลงานที่ออกมาควรสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข

จินตนาการและความมานะพยายามเป็นของคู่กัน
ความมานะพยายามของชนชาติญี่ปุ่นทำให้สามารถพัฒนาอุปกรณ์ตามความฝันของตน
สำเร็จมาแล้วหลายชิ้นงาน ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ "อาซิโม"
ที่นักวิชาการหุ่นยนต์ทั่วโลกไม่เคยคาดคิดว่าจะเป็นจริงได้ในทศวรรษนี้
ผมเองสมัยศึกษาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2529)
เคยเห็นภาพเขียนอายุประมาณ 100 กว่าปี
แสดงถึงจินตนาการของบรรพบุรุษแดนอาทิตย์อุทัยนี้เป็น สะพานไม้ไผ่ยาว 30
กิโลเมตร เชื่อมต่อเกาะใหญ่สองเกาะคือ เกาะฮอนชูและเกาะชิโกกุ
สะพานนี้เป็นจริงแล้วเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมา
แต่สร้างด้วยเหล็กและคอนกรีต
พลังจินตนาการนั้นเป็นส่วนสำคัญในสังคมญี่ปุ่น
ผู้ใหญ่ญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจต่อจินตนาการของเด็กๆค่อนข้างมาก
และมีข้อสังเกตุว่าเด็กของประเทศเขาจะมีจินตนาการส่วนใหญ่ที่เหลือเชื่อและ
ค่อนข้างจับต้องไม่ได้ เช่น อยากสร้างระบบเติมสีสันให้กับปุยเมฆ เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ผลงานของเด็กไทยจะเป็นรูปธรรมมากกว่า
และแสดงความมุ่งมั่นที่ต้องการแก้ไขปัญหารอบตัวที่ประสบอยู่
อาทิเช่นในงาน"Honda Asimo Super Idea
Contest-พลังฝันสู่สิ่งประดิษฐ์ในอนาคต" มีผลงาน บอลลูนพิทักษ์อากาศ
ไม้เท้าผู้พิทักษ์คุณตาคุณยายจากโจรผู้ร้าย หุ่นยนต์ทำลายไข้หวัด 2009
แปรงฟันเตือนภัย (โรคฟันผุ) เป็นต้น ผมติดใจผลงานชนะเลิศระดับประถมศึกษา
4-6 "หุ่นยนต์เลิกบุหรี่" ของ เด็กหญิงพีร สัตย์เพริศพราย
ที่เข้ากับบรรยากาศการต่อต้านการจัดงานเอ็กซ์โปบุหรี่ในประเทศไทย
เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้มีลักษณะคล้ายแมลงวันตัวใหญ่
กรรมการหลายท่านมีความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งชื่อเป็นหุ่นยนต์
แต่ผมแอบชื่นชมน้องพีรในใจว่า
อายุเพียงหกขวบสามารถมีจินตาการสร้างกลไกที่มีฟังชั่นครบสามอย่างที่เป็น
คุณลักษณะของหุ่นยนต์ นั่นคือ การรับรู้ (Perception)
การคิดและตีความ(Cognition) และการเคลื่อนไหว (Motion and Mobility)
น้องพีรเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงอันตรายของบุหรี่ต่อคนสูบและคนรอบข้างและค่า
ใชจ่ายของสังคมที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
สิงห์อมควันได้มายินเด็กน้อยคนนี้คงสำลักควันแน่ครับ
เธอบอกว่าที่จมูกหุ่นยนต์มีเซนเซอร์ตรวจจับควันบุหรี่
เมื่อตรวจเจอก็จะบิน (โดยใช้ระบบมองเห็น: Robot Vision)
ไปใกล้แล้วไปพ่นน้ำดับบุหรี่นั้นเสีย

ครั้นถูกกรรมการซักว่า
หุ่นยนต์ตัวนี้คงไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปบินในงานวันลอยกระทง
เดี๋ยวจะบินไปดับธูปในกระทงเสียหมด หนูน้อยก็ตอบกลับอย่างฉะฉานทันที
ว่าหุ่นยนต์ของเธอจะไม่ไปดับธูปหรอก เพราะควันธูปไม่มีสารนิโคติน
เป็นไงละครับ เด็กไทยอายุหกขวบรอบรู้มากขนาดนี้
ผู้ใหญ่ไทยควรหันมาสนับสนุนและเชื่อมั่นในเด็กไทยนะครับ
อ้อ..ยังมีอีกครับ หุ่นยนต์มีระบบ Face Recognition
เมื่อเจอคนสูบบุหรี่จะมีการ์ดออกมา "เตือนและตัดแต้ม"
และหากเจอคนที่สามารถเลิกบุหรี่มาได้โดยตลอดหุ่นยนต์ก็จะมีการ์ดออกมาชื่นชม

จินตนาการนั้นเป็น "เหตุใกล้"
ที่นำมาด้วยขบวนการเรียนรู้อย่างวิทยาศาสตร์
ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง (Spiral Up) เช่นที่
ปรมาจารย์ด้านเรียนรู้ Peter Senge กล่าวไว้ตามไดอะแกรม หรือ
นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล Richard Feymann
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดจากการจินตการหรือการเดา (Guess)
เมื่อนำมาวิเคราะห๋ผ่านเครื่องมือทางคณิตศาตร์ (Compute)
แล้วไปเปรียบเทียบ (Compare) กับประสบการณ์หรือการทดลอง (Experience and
Experiment) ถ้าผลลัพท์สอดคล้องกันเราก็ได้ความรู้หรือทฏษฎีที่ถูกต้อง
หากขัดแย้งก็ต้องโยนสิ่งที่เราเดาไว้นั้นทิ้งไป
แม้ชื่อเรื่องที่เราตั้งไว้ตอนต้นจะไพเราะเพราะพริ้งเช่นใดก็ตาม

ในทางวิทยาศาสตร์นั้นเราสนใจรายละเอียดมากกว่าชื่อที่ใช้เรียกครับ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่
djitt@fibo.kmutt.ac.th

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000135106

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น