++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้เกี่ยวกับพัทธสีมา

ชาวพุทธทั่วไป ควรจะมีความรู้ในเรื่องสีมาและนิมิตบ้าง
เพื่อจะได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ สีมา แปลว่า เขต หรือ แดน
เหมือนกับเสาหิน เป็นเครื่องชี้เขตแดนของชาวบ้านทั่วไปนั้นเอง
ตามพระวินัย สีมา มี 2 ประเภท ใหญ่ๆคือ
1.อพัทธสีมา คือ แดน ที่พระสงฆ์ มิได้กำหนดไว้ตายตัว
หากกำหนดเอาตามที่ทางราชการบ้านเมืองกำหนดไว้
พระสงฆ์แต่ก่อนใช้เป็นเขตประชุมสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมชั่วคราว
แต่สงฆ์ไม่มีกรรมสิทธิ์ถือเอาเป็นของสงฆ์อย่างถาวร
สีมาชนิดนี้จึงไม่แน่นอนไม่ทราบว่าราชการจะยึดคืนเมื่อไร
สมัยนี้จึงไม่นิยมใช้อพัทธสีมา
2. พัทธสีมา คือ แดนที่พระสงฆ์หมายกำหนดขึ้น โดยจัดตั้งลูกนิมิต
สิ่งที่เป็นเครื่องหมาย มีหิน เป็นต้น ไว้เป็นจุดๆ วางไว้ 8 ทิศ หรือ 4
ทิศก็ได้ ตามที่นิยมโดยมากใช้ลูกนิมิตนอกโรงอุโบสถ 8 ลูก
ในภายหลังมีการเพิ่มลูกนิมิตตรงกลางอุโบสถอีก1 ลูก
ขนาดของพัทธสีมา ซึ่งเป็นโรงอุโบสถนั้น
มีพระพุทธานุญาตกำหนดขนาดเล็กพอจุพระสงฆ์ได้ 21 รูป
ซึ่งนั่งอยู่ในหัตถบาสพร้อม กันแต่ถ้าจะทำพัทธสีมาใหญ่
ก็ให้มีขนาดกว้างได้ไม่เกิน 3 โยชน์
ถ้าเกินขนาดที่กำหนดนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ (สีมาวิบัติ)

วิธีผูกพัทธสีมา 7 ขั้นตอน
การผูกพัทธสีมา พึงทำไปตามลำดับหรือขั้นตอน ดังนี้
1. พื้นที่ที่จะสมมุติเป็นสีมา ต้องได้รับอนุญาติจากราชการบ้านเมืองก่อน
2. ต้องประชุมภิกษุที่อยู่ในเขตสีมาหรือนำฉันทะของท่านมา
3. ต้องสวดถอนเป็นภาษาบาลี
4. จัดเตรียมลูกนิมิตไว้ตามทิศ(สี่ทิศหรือแปดทิศ)
5. เมื่อสมมุติสีมา ต้องประชุมภิกษุผู้อยู่ภายในนิมิต
6. สวดทักนิมิตเป็นภาษาบาลี
7. สวดสมมุติสีมาเป็นภาษาบาลี
พัทธสีมามี 4 ประเภท
1. ขัณฑสีมา คือ
สีมาขนาดเล็กที่สงฆ์กำหนดผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา
โดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นเครื่องคั่นแดน(สีมันตริก)ระหว่างมหาสีมา กับ
ขัณฑสีมาเพื่อไม่ให้สีมาทั้ง 2 คาบเกี่ยวกัน
2. มหาสีมา คือ สีมาที่ท่านกำหนดผูกทั่วบริเวณวัด
3. สีมา 2 ชั้น หมายถึง มหาสีมา กับ ขัณฑสีมาในวัดเดียวกัน
4. นทีปารสีมา สีมาที่สมมุติคร่อมฝั่งน้ำหมายถึง
สีมาที่สงฆ์สมมุติคร่อมฝั่งน้ำทั้ง 2 โดยเปิด แม่น้ำไว้กลางสีมาชนิดนี้
ทรงพระพุทธานุญาตให้สมมุติได้เฉพาะในตำบลที่มีเรือไปมาอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น