คณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ เผยภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
ส่งผลให้แมลง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพิ่มจำนวนขึ้น
ทำให้เกิดโรคจากพาหะแมลงเพิ่มขึ้น
รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำอื่นๆ ด้วย
ศ.น.สพ.รุ่งโรจน์ ธนาวงศ์นุเวช หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนาเรื่อง
"โรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำในสัตว์" ว่า
ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ
เริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยมีปัจจัยจากหลายสาเหตุ อาทิ
ภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ส่งผลให้แมลง
ซึ่งเป็นพาหะนำโรค เช่น มาลาเรีย เพิ่มจำนวนขึ้น
นอกจากนี้
การทำลายป่ายังทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเจอมาก่อน เช่นโรคซาร์ส
เพราะคนเข้าไปสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง ด้วยการจับตัวชะมดมากิน
ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นการพัฒนาสายพันธุ์ของไวรัส
จนกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์
ที่การเดินทางมีความสะดวกมากขึ้น
ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ดัง นั้น ทุกคนต้องช่วยกันเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด
โดยการให้ความรู้ในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
หากพบว่าตนเองป่วยให้รีบไปพบแพทย์
และแจ้งถึงปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่างๆ
ทั้งการเดินทางไปในต่างประเทศ หรือการสัมผัสสัตว์โดยตรง
เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง
และหาทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000133980
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น