++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สธ.คุมมาตรฐานเซลล์ต้นกำเนิด รักษา "โรคหัวใจ ข้อเข่า เบาหวาน"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 ตุลาคม 2552 12:36 น.
นายวิทยา แก้วภราดัย

สธ.เร่งจัดทำข้อ กำหนด ควบคุมมาตรฐานการใช้เซลล์ต้นกำเนิด
รักษาผู้ป่วย ให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 ครอบคลุมตั้งแต่ห้องแล็ป การวิจัย
ผลิตภัณฑ์ และการตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิด
เพื่อใช้เป็นคู่มือมาตรฐานกลางของประเทศ
จะเริ่มลงมือวิจัยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคเบาหวาน

วันนี้ (30 ต.ค.) ที่โรงพยาบาลวัฒโนสถ กทม. นายวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
กล่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดศูนย์ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไข
กระดูกว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อรักษาโรคบางชนิด
จัดเป็นวิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ระดับสูง
สามารถนำมารักษาโรคที่เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูกลดลงหรือผิดปกติ
ได้แล้ว เช่น ในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง โรคมะเร็ง ถือเป็นมาตรฐานทางการแพทย์
ส่วนการรักษาวิธีอื่น ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัย

ในส่วนของ สธ.มีนโยบายส่งเสริมให้แพทย์
นักวิจัยไทยพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเช่นเดียวกับทั่วโลก
เพื่อยกระดับมาตรฐานของวงการแพทย์ไทย ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
และต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับจริยธรรมทางการแพทย์
โดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำข้อกำหนดและคู่มือ 4 ด้าน ดังนี้
ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จัดทำข้อกำหนดทางห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บที่จะศึกษาวิจัย
ให้กรมการแพทย์จัดทำข้อกำหนดด้านงานวิจัยทางคลินิก
ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กับเซลล์ต้นกำเนิด และสภากาชาดไทยจัดทำข้อกำหนดธนาคารเซลล์ต้นกำเนิด
เพื่อใช้เป็นคู่มือมาตรฐานกลางของประเทศไทยให้เสร็จสิ้นภายในปี 2553
เพื่อใช้เป็นกรอบให้นักวิจัยและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เซลล์ต้นกำเนิดปฏิบัติตาม
โดยให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เตรียมจัดการประชุมระดับชาติเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อระดมสมองในการจัด
ทำคู่มือมาตรฐานดังกล่าว และเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
คาดว่าจะจัดประมาณกลางปี 2553

ส่วน ความก้าวหน้าในส่วนของ สธ.ขณะนี้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิดทางคลินิกเมื่อเดือน
มกราคม 2552 เพื่อศึกษาวิจัยขั้นสูงในการพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิด 3
เรื่องหลัก ได้แก่
1.พัฒนาวิธีการแยกและเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดด้วยวิธีมาตรฐาน
นำไปใช้ในการวิจัยเพื่อรักษาโรค โรคหัวใจ โรคกระดูกและข้อ
2.วิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเซลล์ต้นกำเนิด
ให้ห้องปฏิบัติการอื่นๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ
3.ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคที่ปัจจุบันยังไม่มี
วิธีรักษาให้หายขาดได้ หากสำเร็จจะเป็นข่าวดีในวงการแพทย์ของไทย

ใน ปี 2553 นี้ จะเริ่มการวิจัยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาผู้ป่วย
3 โรค ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อมจากการเสียดสีทดแทนการใช้กระดูกอ่อน
ที่โรงพยาบาลเลิดสิน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ที่สถาบันโรคทรวงอก
และการทดลองรักษาโรคเบาหวานร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งอยู่ในขั้นตอนทดลองปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดในสัตว์ทดลอง
หากสำเร็จจะเป็นข่าวดีในวงการแพทย์ของไทย
และเป็นความหวังของผู้ป่วยไทยที่ได้ใช้เซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาหรือซ่อม
แซมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่ผิดปกติจากการเป็นโรค ความเสื่อมของร่างกาย
ความสูงอายุ และจากสาเหตุอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น