++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เผยผลตรวจสุขภาพจิตคนไทยดีขึ้นกว่าปี 2551 ยกเว้นคน กทม.!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2552 17:00 น.
ผล สำรวจสุขภาพจิตครึ่งปีแรก คนไทยสุขภาพจิตดีขึ้นกว่าปี 51
ทุกภาคสุขภาพจิตดีขึ้นยกเว้นคน กทม.ขณะที่เพศชายเสี่ยงน้อยกว่าหญิง
ผู้สูงอายุ-รากหญ้าสุขใจเพิ่มชัดเจนตั้งข้อสังเกตเหตุเพราะนโยบายรัฐบาลหรือ
ไม่ เชียร์นโยบายเบี้ยคนพิการ แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
ช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิตคนไทย

วันที่ 13 พ.ย.กรมสุขภาพจิต สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันแถลงข่าว
"ผลสำรวจสุขภาพจิตคนไทยปี 2552" โดยนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้
อำนวยการสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า จากการสำรวจคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน
35,700 คน ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2552
ด้วยข้อถามสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ ที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น
เบื้อง ต้นพบว่า มีคะแนนสุขภาพจิตอยู่ที่ 32.73 คะแนน
ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับสุขภาพจิตของคนทั่วไปที่ควรอยู่ที่ 27.01-34
คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าถือว่ามีสุขภาพจิตดีขึ้น ซึ่งปี 2551
คนไทยมีคะแนนสุขภาพจิต 31.80 คะแนน ทั้งนี้
คนไทยมีสุขภาพจิตอยู่ในช่วงมาตรฐานของคนทั่วไป 50.2% สูงกว่าคนทั่วไป
35.1% และต่ำกว่าคนทั่วไปเพียง 14.7%


ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
นายจีราวรรณ กล่าวต่อว่า เมื่อจำแนกตามเขตการปกครอง และภาค พบว่า
คนไทยทั้งในและนอกเขตเทศบาลมีสุขภาพจิตดีขึ้น โดยในปี 2551
คนในเขตเทศบาลมีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่าคนนอกเขตเทศบาล แต่ในปี 2552
คนนอกเขตเทศบาลกลับมีสุขภาพจิตดีกว่าคนในเขตเทศบาล และคน
ไทยทุกภาคมีสุขภาพจิตดีขึ้น ยกเว้นคนกรุงเทพฯมีสุขภาพจิตดีลดลง
อาจเป็นเพราะผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมา
ซึ่งคนภาคใต้มีสุขภาพจิตดีที่สุด รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
และภาคกลาง

นางจีราวรรณ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาตามเพศ
เพศชายมีคะนนสุขภาพจิตดี 33.02 คะแนน สูงกว่าเพศหญิงที่มีเพียง 32.46
คะแนน และผู้ ที่มีอายุ 40-59 ปี เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพจิตสูงที่สุด
รองลงมาเป็นกลุ่มผู้มีอายุ 25-39 ปี กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุ 15-24
ปีตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า
ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า
โดยผู้ที่มีระดับการศึกษาอุดมศึกษามีสุขภาพจิตดีที่สุด ตามด้วยมัธยมศึกษา
ประถมศึกษาและต่ำกว่าประถม/ไม่เคยเรียนหนังสือ

"ที่ น่าสนใจ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
มีสุขภาพจิตสูงขึ้นในสัดส่วนที่ถือว่าชัดเจน โดยในปี 2551
มีคะแนนสุขภาพจิต 31.44 คะแนน ในปี 2552 เพิ่มเป็น 32.62 คะแนน
ซึ่งอาจเป็นผลจากโครงการให้สวัสดิการผู้สูงอายุหรือเบี้ยยังชีพของรัฐบาล
เช่นเดียวกับ กลุ่มผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าประถม หรือกลุ่มรากหญ้า
คะแนนสุขภาพจิต เพิ่มจาก 30.29 ในปี 2551 เป็น 32.17 ในปี 2552
นับว่าดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จำเป็นต้องมีการหาสาเหตุต่อไปว่าเป็นเพราะนโยบายของรัฐที่ลงไปถึงคนระดับนี้
มากขึ้นหรือไม่" นางจีราวรรณกล่าว

ผศ.ดร.รศรินทร์ เกรย์
หนึ่งในผู้วิจัยการสำรวจสุขภาพจิตคนไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวว่า
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างและช่วงเวลาเดียวกับของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ด้วยคำถาม 15 ข้อ แบ่งเป็นด้านสภาพจิตใจ 5 ข้อ สมรรถภาพทางจิตใจ 3 ข้อ
คุณภาพของจิตใจ 4 ข้อ และปัจจัยเกื้อหนุน 3 ข้อ พบว่า
คนไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้น และเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตน้อยลง โดยในปี
2551 ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี 33.7% เพิ่มขึ้นเป็น 35.1% ในปี 2552
ขณะที่ผู้ที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตลดลงจาก 17.8% ในปี 2551
เหลือเพียง 14.7% ในปี 2552 โดยทุกภาคเสี่ยงลดลง ยกเว้น
กรุงเทพฯเสี่ยงเพิ่มขึ้น และคนชนบทเสี่ยงมีปัญหาน้อยกว่าคนในเขตเทศบาล

ผศ.ดร.รศรินทร์ กล่าวด้วยว่า
สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต พบว่า
ผู้สูงอายุเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
แต่สัดส่วนของความเสี่ยงในปี 2552ลดลงมากกว่ากลุ่มอายุอื่น โดยลดลงจากปี
2551 ถึง 4.5% ขณะที่กลุ่มอายุ 15-24 ปี ลดลงเพียง 3.7% 25-39 ปี ลดลง
3.5% และ 40-59 ปี ลดเพียง 1.6% นอกจากนี้ เพศชายเสี่ยงน้อยกว่าเพศหญิง
ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นจะทำให้เสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตลดลง
ขณะที่ผู้ที่มีรายได้มากขึ้นความเสี่ยงจะลดลง

ผศ.ดร.รศรินทร์ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาจากสถานะทางสังคม พบว่า
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพ วิชาการ และนักบริหาร
เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตน้อยที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มเกษตรกร
ผู้ประกอบธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรมและบริการ กลุ่มเสมียน
พนักงานขายและให้บริการ
กลุ่มคนงานทั่วไปและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตและก่อสร้าง
ตามลำดับ หากจำแนกตามสถานะการถือครองที่ดิน
ผู้ถือครองทำการเกษตรที่เป็นเจ้าของที่ดิน เสี่ยงน้อยที่สุด ตามด้วย
ผู้ถือครองทำการเกษตรที่เช่าที่ดิน/ทำฟรี คนงานเกษตรและผู้ทำประมง ป่าไม้
ล่าสัตว์ เก็บของป่าและบริการทางการเกษตร

หากดูจากหนี้สินของครัวเรือน
กลุ่มที่เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตน้อยที่สุด คือ
ผู้ที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว ผู้ที่ไม่มีหนี้ ผู้มีทั้งหนี้ในและนอกระบบ
และผู้ที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว
ซึ่งอาจเนื่องจากกลุ่มผู้ที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว
ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อซื้อบ้าน ที่ดินหรือลงทุน
ทำให้ไม่มีปัญหาสุขภาพจิตมากนัก ขณะที่กลุ่มผู้ไม่มีหนี้
อาจมีทั้งผู้ที่ไม่ต้องการเป็นหนี้และผู้ที่ต้องการกู้เงินแต่ไม่สามารถกู้
ได้ จึงเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว
และผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีสมาชิกเป็นผู้พิการจะเสี่ยงต่อการมีปัญหา
สุขภาพจิตถึง 24.1%
และเสี่ยงมากกว่าผู้ที่อยู่ในครัวเรือนที่มีสมาชิกไม่พิการเกือบ 2 เท่า

"การ จัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรหรือผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกิน
นอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจแล้วยังเป็นการสร้างความมั่น
คง ทางด้านจิตใจให้กับประชาชนด้วย เช่นเดียวกัน
นโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล
และการให้เบี้ยยังชีพกับผู้พิการทุกคน นับว่ามาถูกทางแล้ว"
ผศ.ดร.รศรินทร์ กล่าว

ด้านนพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต
กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า คนอายุมากขึ้น
จะมีความพอใจในชีวิตมากขึ้น
มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์คับขันดีขึ้น
มีความสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
แต่มีความเชื่อมั่นว่าครอบครัวจะดูแลตนหากป่วยหนักลดลง
การดูแลสุขภาพจิตคนแต่ละวัยจึงต้องการนโยบายที่แตกต่างกัน
ในคนอายุน้อยควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาความสามารถด้านจิตใจ
และการมีจิตสาธารณะ
ส่วนผู้สูงอายุควรสนับสนุนปัจจัยด้านความเป็นอยู่และการอยู่ร่วมกันเป็นครอบ
ครัว

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของคนในเมือง โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ คือ
เรื่องเศรษฐกิจ และข้อมูลข่าวสาร
เพราะคนในเมืองใช้เวลาในการรับรู้และแปรปรวนกับการรับรู้ข่าวสารมาก เช่น
ข่าวความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา และเมษาเลือด เป็นต้น
ส่วนการที่คนเขตชนบทมีสุขภาพจิตดีขึ้น อาจเนื่องจากแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล
แต่นโยบายยังคงมุ่งเน้นสร้างสวัสดิการชุมชน
อย่างกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงและสวัสดิการบุคคล คือ
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ขณะนพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า
นโยบายภาครัฐที่จะส่งผลดีกับสุขภาพจิต คือ
นโยบายที่สร้างความมั่นคงทางการงานอาชีพ
ไม่ควรมุ่งเน้นแต่การเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งจะเห็นได้จากการที่คนเมืองมีความพอใจในชีวิตน้อยกว่าคนชนบท
แต่ควรในโยบายสนับสนุนให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน ไม่มีหนี้สินนอกระบบ
และให้การช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการและผู้สูงอายุ
เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น