++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

นักวิจัย มข. ศึกษาพบ"นักสืบแมลงซากศพ" ช่วยคลี่คลายคดีฆาตกรรม

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

นักวิจัย มข. สร้างองค์ความรู้ใหม่ ผุดสาขา "กีฏนิติวิทยา"
เพื่อศึกษาแมลงที่กินซากศพ
ซึ่งมีประโยชน์ในการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม
โดยจะใช้วงจรชีวิตของแมลงประมาณระยะเวลาการตาย

ผศ.ดร. ทัศนีย์ แจ่มจรรยา อาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า คดีฆาตกรรมที่หาสาเหตุไม่ได้
ส่วนใหญ่มาจากการไม่ทราบระยะเวลาการตายของเหยื่อจากการศึกษาวิจัย
ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า แมลงที่อยู่ในศพนั้น จะทำหน้าที่เป็นนักสืบ
คำนวณหาเวลาการตาย
เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการคลี่คลายคดีฆาตกรรมได้

" ด้วยข้อจำกัดทางด้านนิติเวชที่ว่าไม่สามารถสังเกตการเย็นตัวของศพ
การตกตะกอนของเม็ดเลือด
การเกร็งของกล้ามเนื้อและข้อต่อของร่างกายหลังการตายเลย 24 ชั่วโมง
จนไม่สามารถชี้ชัดเวลาตายได้
จึงเป็นที่มาของการศึกษางานวิจัยระหว่างภาควิชานิติเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ และภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สร้างองค์ความรู้ด้านกีฏนิติวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวกับแมลงที่กินซากศพ
ซึ่งมีประโยชน์ในการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม"

ผศ.ดร. ทัศนีย์ อธิบายเพิ่มเติมถึงการศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าวว่า
การศึกษาโดยจะใช้วงจรชีวิตของแมลงประมาณระยะเวลาการตาย
จากเดิมชันสูตรเพียงลักษณะของศพที่ไม่สามารถบอกเวลาการตายหลังศพเน่า
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
จึงเข้ามาสนับสนุนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในจังหวัด
ขอนแก่น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา
เพื่อใช้ประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวน
นับเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

"ใน การพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม
โดยใช้วงจรชีวิตของแมลงประมาณระยะเวลาการตายนั้น
เมื่อเราไปที่ศพเราก็จะไปเก็บเอาตัวหนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
แล้วเราก็จะคิดกลับไปว่า
ตัวหนอนนี้อายุเท่าไหร่แล้วจึงบวกกับระยะเวลาหลังการตาย 1 วัน
พอศพเริ่มเน่ามีแมลงมาวางไข่ จะนำวงจรชีวิตของแมลง
เพื่อที่จะประมาณระยะเวลาหลังการตายของศพ"

ด้าน กาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ
เปิดเผยถึงความร่วมือและผลการศึกษาว่า จากการทำงานวิจัยร่วมกัน
ทำให้รู้ว่าแมลงเป็นพยานที่ดี จะช่วยชี้ชัดได้ว่า
ผู้ตายนั้นตายมากี่วันแล้ว ซึ่งนำไปใช้ในการประกอบกับหลักฐานอื่น ๆ
ให้เรื่องความยุติธรรมในการสืบสวนสอบสวนชัดเจนขึ้น

"จาก การศึกษากับซากหมูโดยใช้เป็นสัตว์ทดลองใช้ศึกษาวงจรชีวิตของแมลง
ซึ่งศึกษาพบว่า แมลงวันหัวเขียว 2 ชนิด
จะเป็นแมลงวันกลุ่มแรกที่เข้ามาวางไข่เมื่อซากศพครบ 1 วัน
มีวงจรชีวิตตั้งแต่ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัยในเวลา
5-10 วัน ส่วนด้วงหนังสัตว์ จะเข้ามาหลังการตาย 9 วัน วงจรชีวิต 4
ระยะเช่นเดียวกัน อายุประมาณ 1 เดือน
ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมได้แบ่งกลุ่มสำรวจและเก็บแมลงตัวอย่างเพื่อฝึก
วินิจฉัยชีวิตแมลงที่สัมพันธ์กับระยะเวลาย่อยสลายของซากหมูด้วยสูตรคำนวณ
ดังนี้ สูตรประมาณระยะเวลาหลังการตาย = ระยะเวลาก่อนแมลงวางไข่ +
ระยะเวลาการเจริญเติบโตของแมลง"


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000036412

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น