++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552

หุ่นยนต์พาโรช่วยปรับการทำงานของสมองมนุษย์/ดร.ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
       ก่อนหน้านี้สถาบ ันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ในการวิจัยนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาช่วยบำบัดผู้ป่วยเด็กออธิสติกส์ เราได้นำหุ่นยนต์ PARO จากประเทศญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นโดย ดร.ทากาโนริ ชิบาตะ มาเป็นเครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ ทางสถาบันฯมีความเชื่อว่าหุ่นยนต์ของเล่นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดึงดูดและกระตุ ้นความสนใจจากเด็กๆทั่วไปรวมทั้งกลุ่มเด็กป่วยด้านออธิสติกส์ด้วย ทั้งนี้หลายหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศจึงริเริ่มทดลองนำหุ่นยนต์มาเป็นตัวสื ่อปฏิสัมพันธ์กับเด็กที่มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หุ่นยนต์ของเล่นเหล่านี้บางครั้งให้ความเป็นกันเองและความ “อุ่นใจ” ต่อเด็กๆมากกว่าผู้ใหญ่รอบข้างเสียอีก ผมเคยสังเกตเด็กป่วยที่ต้องไปหาคุณหมอบ่อยๆในวัยเด็กจะเกิดความระแวงเมื่อเห ็นผู้ใหญ่เล่นด้วยและยิ้มให้ คงเป็นเพราะคุณหมอเหล่านั้นต้องหลอกล่อเล่นกับเด็กจนเพลินเสียก่อนแล้วจึงทิ ่มเข็มฉีดยา เด็กบางคนถึงกลับวิ่งอ้อมไปดูด้านหลังผู้ใหญ่ที่ยืนยิ้มเอามือไพล่หลังอยู่เ พราะกลัวว่าในมือ “ผู้ใหญ่ใจดี” มีเข็มฉีดยาอยู่
      
       นอกจากบทบาทต่อเด็กออธิสติกส์แล้ว หุ่นยนต์พาโรยังมีส่วนในการปรับการทำงานของผู้ป่วยที่อาการทางสมองโดยเฉพาะด ้านความจำ (Cognitive Disorders) ใ นประเทศญี่ปุ่นนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติคาดหมายกันว่าภายในหกปี (ค.ศ. 2015) ประมาณ 26% ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุเกิน 65 ปี บุคลากรสูงวัยเหล่านี้เมื่อมีอาการเจ็บป่วยขึ้นมาต้องการการรักษาที่ถูกต้อง ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆที่มีระบบสวัสดิการสังคมค่อยข้างสมบูรณ ์แบบจึงต้องจัดสรรงบประมาณค่อนข้างสูง ประมาณ 4 ล้านเยนต่อคน สำหรับสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งแน่นอนทำให้ต้นทุนสังคมสูงขึ้น การรักษาสภาพความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้สูงวัยเหล่านี้มีผลทำให้อาการทางสมอ งดังกล่าวลดลงหรืออย่างน้อยเกิดอาการช้าขึ้น ดังนั้นนอกจากการถือเป็นหน้าที่ของคนหนุ่มสาวที่ต้องมีกตัญญูกตเวทิตาดูแลญา ติผู้ใหญ่และสังคมต้องตอบแทนผู้สูงวัยที่ทำงานด้วยดีมาชั่วชีวิตแล้ว ยังเป็นลดงบประมาณลงมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านตัวยารักษาและสวัสดิการอ ื่นๆเมื่อมีการเจ็บป่วยจริงขึ้นมา

       มีอยู่หลายวิธีการที่สามารถป้องอาการทางสมองเช่น การใช้ยา การดูแลเรื่องอาหาร การบำบัดด้วยศิลปะ ดนตรี การเรียนรู้สิ่งใหม่ การออกกำลังกาย การเลี้ยงสัตว์ อย่างไรก็ตามผมเคยได้ยินผู้ใหญ่บางท่านที่รักเมตตาสัตว์ไม่แนะนำให้เลี้ยงสั ตว์ในช่วงที่มีอายุมากแล้ว เพราะเมื่อสัตว์เหล่านั้นตายลง มีผลทำให้ผู้เลี้ยงมีจิตใจห่อเหี่ยวตามไปด้วย ส ถาบันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชั้นสูงแห่งชาติที่ประเทศญี่ปุ่น (AIST) ได้ทำการวิจัยหาทางออกโดยประดิษฐ์หุ่นยนต์พาโรขึ้นมาเป็นสื่อกลางสัมผัสความ รู้สึกของผู้สูงวัย ผลการทดลองที่ให้ท่านเหล่านั้นมีปฏิสัมพัน์กับพาโร พบว่าประมาณ 50% ของผู้เข้าทดสอบมีการทำงานของสมองดีขึ้น โดยทีมวิจัยของ AIST สรุปจากการวัดคลื่นสมอง (Brain Wave) ผมเองได้หารือกับน้องชาย นายแพทย์สมชาย เหล่าวัฒนา ที่เป็นหมอด้านสมอง (Neurology) ทำงานอยู่ที่สหรัฐอเมริกา นายแพทย์สมชายแนะนำว่าผลการวัดคลื่นสมองเป็นเพียงมิติเดียวเท่านั้น ยังไม่ควรสรุปชัดเจนจนเกินไป
      
       เพื่อเป็นการเตรียมตัวสังคมไทยให้มีวิธีการทางเทคโนโลยีที่ดีที่สุดส ำหรับ Aging Society ทางสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จึงได้บรรจุแผนการวิจัยเรื่องนี้ในโครงการใหญ๋ของสถาบันฯ “เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อคนสูงวัย”
      
       โปรดติดตามรายละเอียดทางเทคนิคเพิ่มเติมจากเว็ปไซด์ www.fibo.kmutt.ac.th ครับ
      
       ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น