++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2552

“เครียด-จิต-สมองเสื่อม-ซึมเศร้า-ติดยา” 5 โรคฮิตคนสูงวัย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
.
       กรม สุขภาพจิตเผย 5 อันดับปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ อันดับ 1 โรควิตกกังวลและเครียด 2 โรคจิต 3 สมองเสื่อม 4 ซึมเศร้า 5 ติดสารเสพติด แนะมอบความสุขให้ผู้สูงวัยด้วยความรัก ความเข้าใจ กอดสัมผัส ให้เวลาและโอกาส ชี้ผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักเครียด ปวดเมื่อย จากการเดินทาง แนะ 2-3 ชั่วโมงควรให้หยุดพักเป็นระยะๆ


   
       วันที่ 8 เมษายน ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา นพ.ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในงานรณรงค์กลับบ้านปลอดภัย มอบความสุขใจ แด่ผู้สูงวัยที่คุณรักว่า ในช่วงวันสงกรานตืหรือวันปีใหม่ของไทยเป็นช่วงเวลาที่ลูกหลานจะมีโอกาสแสดง ความรักความกตัญญูต่อผู้สูงอายุ ทั้งนี้ จากรายงานปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในสถานบริการสังกัด กรมสุขาภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ใน รอบ 5 ปี พ.ศ.2547-2551 มีผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการ 141,566 ราย ต่อปี ผู้ป่วยใน 2,663 รายต่อปี
      
       สำหรับ ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยนอก 5 อันดับ คือ โรควิตกกังวล และความเครียด ร้อยละ 26.42 โรคจิต ร้อยละ 25.73 โรคที่มีสาเหตุจากสมองและร่างกาย ร้อยละ 18.47 โรคซึมเศร้า ร้อยละ 18.24 และ โรคจากสารเสพติด ร้อยละ 3.43
      
       “ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น การเจ็บป่วยการเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกายที่ก่อให้เกิดความวิคตกกังวลความเครียดความรู้สึกกดดัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาททางสังคม เช่น การเกษียณอายุ การสูญเสียบทบาทการเป็นหัวหน้าครอบครัว การเสียชีวิตของคู่สมรส ญาติ คนใกล้ชิดหรือเพื่อนซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุทั้งสิ้น” นพ.ชาตรี กล่าว
      
       นพ.ชาตรี กล่าวต่อว่า ขอแนะนำให้มอบสิ่งที่ดีๆ ที่มีคุณค่าทางจิตใจ 5 ด้าน ให้แก่ผู้สูงอายุในครอบครัว 1.การมอบความรัก ด้วยการเคารพยกย่องให้เกียรติ ห่วงใย เอื้ออาทร ทั้งการกระทำและคำพูด 2.มอบความเข้าใจ โดยต้องยอมรับธรรมชาติของผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมไปตามวัย เข้าใจถึงวัยและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลง อาจมีการหลงลืม หรือกระทำเรื่องเดิมซ้ำๆ 3.มอบการสัมผัส เช่น การกอด บีบนวด จับมือ เพื่อถ่ายทอดความรัก 4.มอบเวลา ด้วยการพาท่องเที่ยว พูดคุยถามทุกข์สุข ความเป็นอยู่ และ5. มอบโอกาส การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุแสดงประสบการณ์ หรือความภาคภูมิใจ และสนใจเรื่องราวต่างๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ได้ทำงานหรือกิจกรรมที่สามารถทได้
      
       “นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มักมีการเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะหากมีผู้สูงอายุที่เดินทางไปด้วยอาจเกิดความเครียด ปวดเมื่อยร่างกาย จึงควรมีช่วงเวลาพัก โดยไม่เดินทางติดต่อกันนานเกิน 2-3 ชั่วโมง ควรมีการหยุดพักเป็นระยะๆ เพื่อผ่อนคลายอิริยาบถ และใช้พลังสุขภาพจิต อึด ฮึด สู้ ผ่อนคลายความเครียดในการเดินทาง ผ่อนคลายอารมณ์ ขณะรถติด ไม่หงุดหงิดง่าย และควบคุมอารมณ์ ปรับความคิด เช่น ถึงช้า ดีกว่าไปไม่ถึง” นพ.ชาตรีกล่าว
      
       นพ.ชาตรี กล่าวถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ว่า ในสังคมการมีความเห็นที่แตกต่างได้แต่ไม่ควรแตกแยก และเชื่อว่าการการชุมนุมจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น สังคมไทย เป็นสังคมที่รู้จักการให้อภัย และสถานการณ์ต่างๆจะคลี่คลายดีขึ้น ยิ่งในช่วงนี้ที่มีอากาศร้อนส่งผลให้เกิดความเครียดได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ ชุมนุม ดังนั้น ควรทำใจให้เย็น และไม่ทุ่มความหวังกับเรื่องต่างๆ มากจนเกินไป ที่สำคัญคือควรใช้สติปรับอารมณ์ หลีกเลี่ยงความรุนแรงด้วย

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000039686

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น