++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กาฬสินธุ์พุทธาภิเษกพระพุทธฟ้าแดดสงยาง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 ธันวาคม 2551 15:24 น.

กาฬสินธุ์ -พุทธศาสนิกชนจังหวัดกาฬสิ นธุ์ ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธฟ้าแดดสงยาง และ บำเพ็ญกุศลอายุวัฒนถวายพระเดชพระคุณพระเทพสารเมธี เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดประชานิยม เมืองกาฬสินธุ์ โดยในพิธียังได้จัดให้มีการบวชชีพราหมณ์ทำบุญแผ่นดินให้สงบสุขด้วย
      
       ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ รายงานว่า ที่วิหารเทศรังสีวัดประชานิยม เมืองกาฬสินธุ์ เหล่าพุทธศาสนิกชนจังหวัดกาฬสินธุ์ กว่า 1,000 คน ร่วมกันประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธฟ้าแดดสงยาง และบำเพ็ญกุศลอายุวัฒนถวายพระเดชพระคุณพระเทพสารเมธี เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต) และเจ้าอาวาสวัดประชานิยม
      
       การประกอบพิธีได้เริ่มต้นด้วยการจัดให้มีการบวชชีพราหมณ์ ชาย- หญิงกว่า 400 คน จากนั้นพระสงฆ์ได้เจริญพระพุทธมนต์ และแสดงธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ซึ่งเป็นการอบรมให้พุทธศาสนิกชนร่วมส่งแรงใจให้สังคมไทยสงบสุข
      
       พิธีพุทธาภิเษกพระพุทธฟ้าแดดสงยาง มีเกจิชื่อดังในภาคอีสานและจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร่วมกันนั่งปรก ประกอบด้วย พระราชศีลโสภิต (หลงปู่หนูอินทร์) วัดป่าพุทธมงคล จังหวัดกาฬสินธุ์ พระครูวิทิตธรรมาภรณ์ (หลวงปู่เจียม) วัดเทพวิสุทธาราม อ.กุดบาก จ.สกลนคร พระเทพสารเมธี (หลวงพ่อบัวศรี) วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์ พระปริยัติสารเวที (หลวงพ่อทองสุข) วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์ พระครูปิยธรรมโชติ (อ.สำรวย) วัดทรงธรรมผาสวรรค์ จ.กาฬสินธุ์ พระครูปัญญาวราวุธ (หลวงพ่อหนูพลอย) วัดดอนประชาอุทิศ จ.กาฬสินธุ์ พระอาจารย์สมหวัง สนตมโน วัดป่าก้าวมงคล จ.กาฬสินธุ์ พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล วัดพุทธนิมิตภูค่าว จ.กาฬสินธุ์ และพระครูสิริปุญญารักษ์ (อ.บุญเกิด) วัดอัมพวันม่วงน้อย จ.กาฬสินธุ์
      
       สำหรับประวัติ เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองในประวัติศาสตร์ของชนยุคทวารวดี มีอายุ 1,700 ปี ในท้องถิ่นเขตอำเภอกมลาไสย และ อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีศาสนวัตถุ อาทิ พระธาตุยาคู ใบเสมา และพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ปรากฏเป็นหลักฐานถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและเป็นการส่งเสริมปล ูกฝังอนุชนให้รักถิ่นกำเนิดของตนเอง
      
       จึงได้กำหนดให้มีการพุทธาภิเษกพระพุทธฟ้าแดดสงยาง (ย้อนยุค) ที่ได้จัดสร้างทั้งหมด 1 พันชุด ชุดละ 4 องค์ แยกเป็น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์กลีบบัว
      
       นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการทอดผ้าป่าสมทบกองทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรอีกด้วย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น