++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ภารกิจของ “อภิสิทธิ์”

โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล 10 ธันวาคม 2551 18:01 น.

ณ เวลาที่ผมลงมือเขียนคอลัมน์ชิ้นนี้อยู่ แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทยจะได้ชื่อว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นยังคงเป็นไปได้มากที่สุด
      
        ขณะที่ชื่ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น “เสนาะ-ประชา-เฉลิม-เชษฐา” นั้นหากไม่เป็นสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ต้องถือว่าเป็นชื่อท ี่ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก หรือ หากรู้จักก็เป็นเพียงชื่อที่ไร้เครดิต-ไร้บารมีในฐานะผู้นำประเทศ ผิดกับชื่อ “อภิสิทธิ์” ที่ตอนนี้ผู้คนทุกภาคส่วนให้การยอมรับไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ ทหาร ต่างประเทศ สื่อมวลชน ประชาชน
      
        แม้ว่าชื่ออภิสิทธิ์ ณ วันนี้ จะมีรอยด่างของเนวิน ชิดชอบ และอดีตพรรคร่วมรัฐบาลพลังประชาชนมาปนเปื้อนบ้างก็ตาม ทว่า ประชาชนไทยก็ยังพอจะกล้ำกลืนฝืนทนกับ “ความอัปลักษณ์” หน้านี้ของการเมืองไทยไปได้ เพราะอย่างน้อยทุกคนก็คาดหวังเอาไว้ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ในนามอภิสิทธิ์ น่าจะดูได้มากกว่ารัฐบาลเพื่อไทยในนามใครก็ไม่รู้
      
        ในช่วงเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมานี้หลังจากที่นายบารัค โอบามา คว้าชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สื่อมวลชนไทยหลายกลุ่มก็เริ่มให้ฉายานายอภิสิทธิ์เหมือนกันว่าเป็น “โอบามาร์ค” ด้วยความที่เป็นคนรุ่นใหม่วัยใกล้เคียงกันคือ สี่สิบกว่าปี ประกอบกับการได้รับการบ่มเพาะจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลก หนึ่งคือ ฮาร์วาร์ด หนึ่งคือ ออกซฟอร์ด แถมยังสังกัดพรรค Democrat เหมือนกันอีก
      
        “โอบามาร์ค” ผู้ซึ่งจะถูกตั้งความหวังไว้ว่าจะเปลี่ยนประเทศไทย ดังเช่นที่ “โอบามา” พยายามจะ Change ประเทศสหรัฐอเมริกาและโลก
      
        สำหรับโอบามาหลังคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อต้นเดือนพฤศจิกา ยน และกำลังจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้า แน่นอนว่าภารกิจ Change ในฐานะผู้นำสหรัฐฯ และผู้นำของโลกโดยพฤตินัย ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ เคยคุยหรือเคยหาเสียงเอาไว้ เพราะรัฐบาลของนายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้ทิ้งปัญหาเอาไว้ให้นายโอบามาเป็นกองพะเนินเทินทึก
      
        สัปดาห์ที่แล้วนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ชื่อดัง เจ้าของทฤษฎีอำนาจละมุน (Soft Power) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โจเซฟ เอส นาย (Joseph S. Nye) ได้เขียนบทความเรื่อง Obama meets the world he wants to reshape กล่าวถึงปัญหาต่างๆ ที่โอบามาจะต้องเข้ามาแก้ไขและปูรากฐานของการเปลี่ยนแปลงไปในเวลาเดียวกัน เพื่อจะเปลี่ยนสังคมอเมริกันและโลกไปในทางที่เขาต้องการ โดย ศ.นาย ได้เรียงลำดับความสำคัญของปัญหาหลักๆ ที่โอบามาจะต้องเตรียมรับมือไว้ดังนี้ คือ หนึ่ง ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ได้พัฒนาขยายวงกว้างจนกลายเป็นภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลกไปแล้ว สอง สงครามที่รัฐบาลบุชไปก่อเอาไว้ทั้งในอิรักและอัฟกานิสถาน
      
        สาม การประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (Global war on terrorism) ที่บุชเป็นเจ้านโยบายหลังจากเกิดเหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2544 (ค.ศ. 2001) ทว่าปัจจุบันแทนที่สถานการณ์การก่อการร้ายจะเบาบางลง กลุ่มอัลกออิดะห์จะถูกกวาดล้าง กลับเป็นว่ากลุ่มอัลกออิดะห์ยังอยู่แถมมีเครือข่ายกว้างขวางยิ่งขึ้น ส่วนสถานการณ์การก่อการร้ายก็เกิดขึ้นถี่ยิ่งกว่าเดิมในทุกภูมิภาคทั่วโลก และปัญหาสุดท้าย คือ การปรับปรุงนโยบายการต่างประเทศที่ต้องเริ่มต้นด้วยภูมิภาคตะวันออกกลางกับป ระเทศอิหร่าน และขยายไปถึง ยุโรป รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ และเอเชีย ต่อไป
      
        นอกจากนี้ ศ.นาย ยังให้ความเห็นด้วยว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งโอบามาได้ทำให้ภาพลักษณ์และฟื้นฟู Soft Power ของอเมริกาในสายตาชาวโลกมาได้ระดับหนึ่งแล้ว โดยขั้นต่อไปโอบามาต้องใช้ทั้งอำนาจแข็งและอำนาจอ่อนดำเนินนโยบายต่อไปอย่าง ชาญฉลาด เพื่อเอาชนะสงครามเย็นยุคใหม่นี้
      
        กลับมาถึง “โอบามาร์ค” หรือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กันบ้าง
      
        อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่ต้น คุณอภิสิทธิ์ถือได้ว่าเป็นนักการเมืองที่มีต้นทุนสูงที่สุดคนหนึ่งในแวดวงกา รเมืองไทยในเวลานี้ ทั้งหน้าตา ภาพลักษณ์ การศึกษา ประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัว ประสบการณ์ทางการเมือง โดยสิ่งเหล่านี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น Soft Power ของคุณอภิสิทธิ์เช่นกัน กระนั้นหากว่าที่นักการเมืองหนุ่มวัย 44 ปี ผู้นี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศไทยจริงๆ เขามีภารกิจหลักอะไรบ้างในการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงประเทศไทย?
      
        โดยทัศนะส่วนตัว ผมขอเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาที่คุณอภิสิทธิ์จะต้องเข้าไปแก้ไขดังนี้คือ
      
        ลำดับที่หนึ่ง การปกป้องและรักษาสถาบันหลักของชาติโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ และการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ โดยสาเหตุที่ผมขอจัดอันดับปัญหานี้ไว้เป็นลำดับแรกแทนที่จะเป็นปัญหาเศรษฐกิ จหรือปัญหาภาคใต้ ก็เพราะรัฐบาลมิอาจมีสมาธิในการบริหารเศรษฐกิจในภาวะที่คลื่นสึนามิเศรษฐกิจ โลกกำลังโถมทับประเทศไทยได้เลย หากไม่มีการแก้ปัญหาเรื่องการบ่อนทำลายสถาบันอันเป็นที่เคารพของประชาชน และปัญหาทางการเมืองให้บรรเทาเบาบางลงเสียก่อน
      
        ส่วนวิธีการหรือยุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ ์ และคณะผู้บริหารประเทศของเขาจะเป็นเช่นไร พวกเราก็จำเป็นต้องจับตาดูต่อไป แต่เชื่อแน่ได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องหมูๆ เพราะการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคุณอภิสิทธิ์หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องยึดหลัก “คุณธรรมและความถูกต้อง” เข้าไปปฏิรูปภาคส่วนต่างๆ ท่ามกลางกระแสการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลระดับเขี้ยวลากดิน และการบ่อนทำลายจากฝั่งระบอบทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นปฏิรูปการเมือง ปฏิรูประบบยุติธรรม ปฏิรูปสื่อสารมวลชน ปฏิรูประบบราชการ ปฏิรูปความเน่าเฟะของการปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งถูกละเลยมาตลอดระยะเวลา 6-7 ปีที่ระบอบทักษิณครองอำนาจในการบริหารประเทศ
      
        ลำดับที่สอง แก้ไขและบรรเทาปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังจะแพร่พิษร้ายแรงต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคการส่งออก การจ้างงาน ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2552 นี้
      
        ลำดับที่สาม ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้และการปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในสา มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคุณอภิสิทธิ์สามารถแก้ไขปัญหาแรกได้ โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูประบบยุติธรรม ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ก็จะได้รับบรรเทาไปเองในระดับหนึ่ง ก่อนที่จะรัฐบาลจะสามารถดำเนินนโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจอื่นๆ ต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว
      
        ลำดับที่สี่ ป ัญหาเรื่องเขาพระวิหารและชายแดนด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวพันไปถึงปัญหาใหญ่อื่นๆ เช่น การสูญเสียดินแดนและสิทธิเหนือแหล่งพลังงานในอ่าวไทย โดยในประเด็นนี้ผมว่าไม่น่าจะใช่เรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรงของคุณอภิสิทธิ์แต ่อย่างใด โดยเฉพาะถ้าหากได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นท่านกษิต ภิรมย์ หรือ อ.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่เข้าใจรากฐานของปัญหาดีอยู่แล้ว
      
        ก ารที่ผมยกเอา 4 ปัญหานี้มากล่าวถึงก่อน มิใช่ว่าปัญหาอื่นๆ จะเป็นเรื่องไม่สำคัญ แต่ในสายตาของผมแล้วเห็นว่าสี่เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไ ขก่อนปัญหาใดๆ และเป็นการแก้ไขปัญหาเพื่อแก้วิกฤตของประเทศชาติและของประชาชนจริงๆ มิใช่การแก้ไขปัญหาเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง หรือตระกูลใดตระกูลหนึ่งเท่านั้น


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000145590 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น