++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ความแปรผันของลำดับดีเอ็นเอบริเวณ internal transcribed spacer ใน ribosomal DNA ของพืชสกุล Alpinia Roxb. (วงศ์ขิง) บางชนิด และการใช้เป็นเครื่องมือในการร

ความแปรผันของลำดับดีเอ็นเอบริเวณ internal transcribed spacer ใน ribosomal DNA ของพืชสกุล Alpinia Roxb. (วงศ์ขิง) บางชนิด และการใช้เป็นเครื่องมือในการระบุชนิดพืช

Variation of the internal transcribed spacer of ribosomal DNA among some Alpinia Roxb. (Zingiberaceae) species and its application for species identification

ตวงพร กุณฑลลักษมี (Tuangporn Kultonlaksami)* ดร. ดวงกมล แม้นศิริ (Dr. Duangkamol Maensiri)** ดร. สุรพล แสนสุข (Dr. Surapol Saensook)***

บทคัดย่อ

ทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอบริเวณ Internal transcribed spacer (ITS) ของพืชสกุล Alpinia 13 ชนิดเพื่อหาตำแหน่งที่สามารถใช้ในการระบุชนิดพืชได้ ผลการเรียงเทียบลำดับดีเอ็นเอพบว่า มีพืชบางชนิดที่มีลำดับ ITS เหมือนกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ดีเอ็นเอบริเวณ ITS อาจไม่เหมาะสมสำหรับการใช้ศึกษาสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของพืชสกุลนี้ และยังพบว่า motif 5-GAATTGCAGAATCC-3 ที่มีการอนุรักษ์สูง ซึ่งเคยมีรายงานว่าเป็นลักษณะเฉพาะของพืชดอกมีลำดับที่แตกต่างไปในพืชสกุล Alpinia สามารถระบุตำแหน่งที่มีความแปรผันในพืช 13 ชนิด ซึ่งใช้ในการระบุชนิดพืชได้ 37 ตำแหน่ง ผลการวิจัยยังได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ลำดับดีเอ็นเอในการระบุพืช

ABSTRACT


Internal transcribed spacer (ITS) sequences of 13 species of plants in the genus Alpinia were analyzed to locate useful sites for species identification. The alignment of the sequences revealed identical ITS sequences among some species suggesting doubt in utilizing ITS for phylogenetic study of the genus. The highly conserved motif 5
-GAATTGCAGAATCC-3 previously thought to be characteristic of angiosperm has been shown not to be applicable to Alpinia. 37 variable sites were identified and found useful for species identification of the 13 species studied. How molecular identification based on DNA sequence is to be used was suggested.

* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
***อาจารย์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น