A Scenario of Khon Kaen University as a Research University
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข (Thanomwan Prasertcharoensuk)*
ดร. วิโรจน์ สารรัตนะ (Dr. Wirot Sanrattana) **
ดร. จุมพล พูลภัทรชีวิน (Dr. Chumpol Poolpatarachewin)***
ดร. ทวีชัย บุญเติม (Dr. Thaveechai Bunterm) ****
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนาตัวบ่งชี้การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 11 ราย และการศึกษาบริบทมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้น (2) การศึกษาอนาคตภาพการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 15 ราย จำนวน 2 รอบ โดยรอบแรกเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก รอบสองเป็นการสอบถามความเห็นด้วยแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลเชิงปริมาณได้นำมาวิเคราะห์หาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการทำนายความเป็นไปได้ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้ ค่ามัธยมฐาน 3.5 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.5 และค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐานไม่เกิน 1.0
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop a scenario for Khon Kaen University’s (KKU) transformation into a research university. The study used Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) that consisted of two phases: 1) the development of a research university’s indicators by 11 experts, and a contextual study of KKU based on the indicators and 2) an in-depth study of KKU as a research university that consisted of two rounds of interviews with 15 experts. The first round involved in-depth interviews; while in the second round completed a 5-level rating-scaled questionnaire. Quantitative data were analyzed to determine the median, mode, and inter-quartile range. These results were compared to the following benchmarks for forecasting KKU’s possibility as a research university: a median of 3.5 or higher, an inter-quartile rating of 1.5 or lower, and a difference between the mode and median of no more than 1.0.
* ดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ** รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น