++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เชาว์อารมณ์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมโยคะอาสนะประกอบเสียงดนตรี

Emotional Quotient of Early Childhood as Activated by Yoga Asanas Activities Accompanied by Background Music
ชำนาน กงสะเด็น (Chamnan Kongsaden)*
ดร.นิตยา เปลื้องนุช (Dr. Nittaya Pleungnuch)**
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชาว์อารมณ์ของเด็กปฐมวัย ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมโยคะอาสนะประกอบเสียงดนตรี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชาย-หญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนฝายหินหนองทุ่มวิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมโยคะอาสนะประกอบเสียงดนตรี จำนวน 5 แผน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20 นาที 2) แบบประเมิน ความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต (2546) ที่ประเมินความสามารถหลัก 3 ด้าน คือ ดี เก่ง สุข แยกเป็น 9 ด้านย่อย คือ (1) ด้านดี คือ การรู้จักอารมณ์ การมีน้ำใจ การรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด (2) ด้านเก่ง คือ ความกระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การกล้าพูดกล้าบอก (3) ด้านสุข คือ ความพอใจ ความอบอุ่นใจ และความสนุกสนานร่าเริง ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ เท่ากับ 0.81 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design ) ซึ่งใช้แบบแผนการทดลองแบบTime Series Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดกิจกรรมโยคะอาสนะประกอบเสียงดนตรี มีคะแนนเฉลี่ยเชาว์อารมณ์หลังการทดลองมีส่วนต่างสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งในด้านดี ด้านเก่งและด้านสุข
ABSTRACT
The objective of this research was to study the emotional quotient of early childhood as activated by Yoga Asanas activities accompanied by background music. The sample were 20 male and female Kindergarten I Students during the first semester of 2006 school year at Faihin Nongtum Wittayasan School under the jurisdiction of the Office of Khon Kaen Educational Service Area 5.
The instruments included: 1) Five plans of experience management of Yoga Asanas activities accompanied by background music. Duration of experiment treatment was 8 weeks, 5 days a week, 20 minutes a day, and 2) the Evaluation form of emotional quotient of early childhood the age of 3-5 years of the Department of Mental Health (2003) assessing 3 major aspects of ability: good, intelligent, happy dividing into 9 sub-aspects: (1) For “Good” aspect, including the emotional recognition, generosity, knowing what is right or wrong, (2) For “Intelligent” aspect, including enthusiasm/interested in studying, adjusting oneself with changing, being able to speak, and (3) For “Happy” aspect, including the satisfaction, warmness, and enjoyment. The reliability coefficient of total issue was 0.81. The research design was Quasi Experimental Design. Time Series Design was administered by using one group of sample. Data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation.
The research findings found that the average scores of emotional quotient of sample obtaining Yoga Asanas activities accompanied by background music from the post-test was higher than the pre-test in “Good” aspect, “Intelligent” aspect, and “Happy” aspect.
คำสำคัญ : เชาว์อารมณ์ โยคะอาสนะ
Key words : Emotional Quotient, Yoga Asanas
*มหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพื้นฐาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น