++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

การสร้าง home page สำหรับหน่วยงาน P.S.O.

3 ขั้นตอนของการพัฒนา Web site เพื่อรองรับมาตรฐาน P.S.O.
โดย ภก.ประชาสรรณ์ แสนภักดี M.P.H. Chiang Mai U.
http://siam.to/prachasan

ในข้อกำหนดของมาตรฐานสากลประเทศไทย P.S.O. 1101 และ P.S.O. 1102 กำหนดว่า
หน่วยงานต่างๆ ที่จะ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลประเทศไทย ระบบข้อมูล (P.S.O. 1101)
จะต้องมี home page หรือ www ของตนเอง และใน P.S.O. 1102
ระบุว่าจะต้องมีการสื่อสารผ่าน E-mail จากเกณฑ์ชี้วัดดังกล่าว
ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะในเรื่องของ แนวทางการพัฒนา Web site รวมทั้งการพัฒนาระบบ
Internet ขององค์กรเพื่อรองรับการก้าวสู่การรับรองมาตรฐานสากล ประเทศไทย (Thailand
International P.S.O.)

พอกล่าวถึง Internet หรือ homepage ผู้บริหารหลายต่อหลายคนของหลายๆ
องค์กรมีทัศนคติต่อเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่อง ของนักคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องของ
programmer เลยไปมอบหมายให้เขาเหล่านั้นดูแล พอเวลาผ่านไป web site ของสำ
นักงานก็ไม่พัฒนาไปถึงไหน หรือบางองค์กร ลงทุนจ้างคนข้างนอกองค์กรมาพัฒนาให้
พอเวลาผ่านไป ผลงานไม่ได้ดั่งใจ ที่ปรารถนา เหล่านี้เป็นประเด็นปัญหาที่ผู้เขียนจะนำมาเป็นโจทย์ในการเสนอแนวทางการพัฒนา

ในการพัฒนา Web site ของหน่วยงาน โดยส่วนใหญ่เขาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ดังนี้
1) ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ (System analysis)
เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลของระบบ ทั้งหมด ที่จะมาเกี่ยวข้องกับการพัฒนา web
site ซึ่งเป็นสื่อชนิดหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลขององค์กร หลายหน่วยงาน ไม่มีการ
ลงทุนในเรื่องของการวิเคราะห์ระบบ รู้แต่ว่า อยากได้นั่น อยากได้นี่ แล้วก็สั่งการ
ก็พอ วันนี้องค์กรมีความซับซ้อน มีระบบ ย่อยภายในระบบองค์กรมากมาย (subsystem)
จึงมีความจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ระบบ คำถามมีอยู่ว่า*******

?? ใครจะเป็นผู้วิเคราะห์ระบบ??? [ ] คนในองค์กร [ ] คนนอกองค์กร
ถ้าเป็นคนในองค์กรจำเป็นไหมที่เขาจะต้อง จบการศึกษาทางด้าน system analysis
ถ้าเขาเป็นคนที่คิดเป็นระบบ มีมนุษยสัมพันธ์ มองโลกในแง่ดี ชอบเรียนรู้เรื่อง ใหม่ๆ
ที่ท้าทาย ให้เขาทำหน้าที่ในเรื่องนี้ได้ไหม? ถ้าเป็นคนบอกจะต้องจ้างเขามาทำงาน
ใช้งบประมาณเท่าใด? เขาจะรู้เรื่องขององค์กรของเราดีเท่าคนในหรือเปล่า? เอาเป็นว่า
ประเด็นนี้ผู้อ่านไปคิดกันต่อนะครับ คงเดาออกว่า ผู้เขียน
ปรารถนาจะให้เลือกคนในหรือคนนอก เป็นผู้วิเคราะห์ระบบ

แล้วเขาวิเคราะห์อะไรกันบ้าง (What)
สิ่งที่จะวิเคราะห์ระบบเพื่อเตรียมพัฒนา web site ประกอบด้วย ประเด็น
หรือเรื่องราวต่างๆ คือ

1.1) วิเคราะห์ความต้องการ หรือเป้าหมายของ web ว่า จะพัฒนา web
เพื่ออะไร (for what) คำตอบอาจจะ เพื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อการบริการประชาชน
ในเรื่องข้อมูลสุขภาพ เพื่อให้มีเหมือนองค์กรอื่นที่เขามี ฯลฯ

1.2) วิเคราะห์ผู้ชม หรือผู้ที่จะเข้ามาดูข้อมูลใน web
ว่าจะเป็นใครบ้าง เช่น จะเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชน ทั่วไป นักเรียน วัยรุ่น
หรือใคร ต้องให้มีความชัดเจน เพราะมันจะเป็นตัวกำหนด ขอบเขตของเนื้อหาบน web ของเรา

1.3) วิเคราะห์ในเรื่องของการลงทุน พัฒนาระบบ และการดูแล web ในระยะยาว
มีหลายหน่วยงาน ที่ลงทุน ซื้อ Chivas ด้วยเงิน 5 บาท หมายความว่า ให้งบประมาณจำนวน
น้อยนิดแล้วหวังผลเลิศ จะเกิด web ที่อลังการ Oh! NO.
ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องยกาครับ โดยเฉพาะในระยะยาว ที่จะต้องมีการปรับปรุง (update)
ข้อมูลอยู่ประจำ ต้องบอกว่า ไม่มีใครเสียสละชีวิตมานั่ง update
ข้อมูลทุกวันโดยไม่มีสิ่งตอบแทนอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ว่า ในระยะ ยาว
จะมีงบประมาณสนับสนุนหรือไม่ จำนวนเท่าใด

1.4) วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยที่จะต้องแยกแยก
จัดหมวดหมู่ (categolize) ข้อมูล อย่างเป็น ระบบ เช่น ข้อมูลที่จะนำขึ้น web
จะประกอบด้วยอะไรบ้าง? ตัวอย่างเช่น ถ้าจะวิเคราะห์ ระบบข้อมูล สำนักงานสาธารณ
สุขจังหวัดอันหนึ่งอันนอ พอจะวิเคราะห์ได้ว่าประกอบด้วย

1.4.1) ข้อมูลประวัติหน่วยงาน ข้อมูลนายแพทย์ สสจ.
ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนปัจจุบัน มีทั้งข้อมูลประวัติ และรูปภาพ (image)
หลายหน่วยงานไม่ค่อยสนใจประวัติศาสตร์ มัวแต่ไปทำวันนี้ให้ดีที่สุด
พอทำไม่ได้ดั่งใจ เลยกลาย เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์

1.4.2) ข้อมูล วิสัยทัศน์-Vision พันธกิจ-Mission นโยบาย-Policy
แผน-Plan ซึ่งเป็นหัวใจ ของทุกองค์กร จะต้องมี เพื่อแสดงภาวะผู้นำต่อสายตาสาธารณะ
(public view)

1.4.3) ข้อมูลบุคลากร (Personnel) ประกอบด้วยผู้บริหารองค์กร
ทุกสายงาน สมาชิก องค์กร เจ้าหน้าที่ ในส่วนนี้อาจจะนำเสนอทั้งข้อมูลตัวหนังสือ
(Text) และรูปภาพ (image) บางหน่วยงาน กลัง server จะเต็ม อนุญาต ให้นำข้อมูลขึ้น
web เฉพาะตัวหนังสือ( จึงไม่ค่อยเร้าใจคนดูเท่าใดนัก)

1.4.4) ข้อมูลเนื้อหา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น เนื้อหา ทางวิชาการ เช่น
ข้อมูลโรค ข้อมูลสุขภาพ เนื้อหาทาง ด้านกิจกรรม โดยอาจจะแบ่งเป็น
- ข้อมูลวิชาการ ความรู้เพื่อประชาชน
- ข้อมูลภาพกิจกรรม ข้อมูล ภาพข่าว
- ข้อมูลการรณรงค์
- ข้อมูลสถิติ ต่างๆ เช่น สถิติ เอดส์ สถิติ อสม.
สถิติประชากร เป็นต้น
- ประกาศ สอบ ประกาศ อบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน

1.4.5) วิเคราะห์องค์ประกอบของ web ที่ต้องมีโดยพื้นฐาน เช่น
สมุดเยี่ยม(guestbook) กระดานข้อความ (webboard) counter นับจำนวนผู้เข้าชม
ระบบการค้นหาข้อมูลใน web search engine หรือ แผนที่ของ site ที่เรียก site map
ระบบสมัครสมาชิก mailing list และอื่นๆ ที่คิดว่าควรจะมี

1.5) วิเคราะห์คนทำงาน ว่าทีมงานพัฒนา web ประกอบไปด้วยใครบ้าง
เพราะส่วนนี้จะมีความสำคัญกับการ พัฒนา เป็นอย่างมาก โดยทั่วไปทีมงานพัฒนา web
จะประกอบด้วย

1.5.1) web master เป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมดของ web
หรืออาจจะเรียกว่าเป็นหัวหน้าที่ก็ได้ คนๆ นี้ อาจจะ ไม่ต้องเป็นผู้ลงไปทำ web
ก็ได้ ขอเพียงเป็นนักบริหารมืออาชีพ (manager by gene)

1.5.2) graphic designer or creative man เป็นผู้ออกแบบกราฟิก
หรือภาพประกอบ web การให้สี พื้น สีตัวหนังสือ เพื่อให้ดูแล้วสบายตา

1.5.3) content generator คือคนที่รวบรวมเนื้อหา
หรืออาจจะเป็นผู้เขียนเนื้อหาขึ้นมาใหม่ ต้องเป็นคน ที่มีใจรักในการเขียน

1.5.4) เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อมูล (key) จำเป็นมากๆ
สำหรับคนนี้เพราะข้อมูลจำนวนมากต้องเสียเวลา ในการคีย์
ถ้าได้คนที่พิมพ์ดีดแบบสัมผัสจะยิ่งดี

จากข้อมูลที่นำเสนอคงจะเข้าใจคำว่า เงิน 5 บาทซื้อ Chivas ไม่ได้
เพราะฉะนั้น หน่วยงานใด กำลังจะ พัฒนา web ด้วยเงิน หลัก 100 หรือ หลัก 1,000
เตรียม รอรับความแห้งแล้งของ web ไว้ได้เลย ทั้งๆ ที่เงินจำนวนหลัก หมื่น
กลับนำไปลงทุนในการประชาสัมพันธ์ผ่านกระดาษ เช่น พิมพ์จดหมายข่าว ทำ cut out
เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น