++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

อย่ารีไซเคิลด้วยปาก


ปีนี้ในกทม.มีคนลอยกระทงโฟม 149,460 ใบ คิดเป็นร้อยละ 17.79 ของจำนวนกระทงทั้งสิ้น 842,959 ใบที่เจ้าหน้าที่กทม.เก็บได้หลังคืนวันลอย กระทง เทียบกับปีที่แล้วที่มีกระทงโฟมเพียงร้อยละ 1.4 ของปริมาณทั้งสิ้น
350,000 ใบ ซึ่งก็เท่ากับ 4,900 ใบเท่านั้นเอง ต้องนับว่าเป็นความสำเร็จของผู้ว่าฯกทม.ที่ได้ประกาศสนับสนุนกระทง
โฟมด้วยเหตุผลที่ว่าเก็บง่ายและไม่ทำให้น้ำเน่าเสียเหมือนกระทง ที่ทำด้วยวัสด
ุธรรมชาติ หากปีหน้ายังคงยืนยันในหลักการนี้ปริมาณกระทงโฟม คงจะเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ และกรุงเทพมหานครก็
อาจจะกลายเป็นศูนย์กลางการลอยกระทงโฟมก็เป็นได้
อุตสาหกรรมการผลิตโฟมคงจะเฟื่องฟู คงจะมีการแข่งขันออกแบบ
กระทงโฟมรูปแบบใหม่ๆ และอุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติกโพลีสไตรีนชนิด
ที่ใช้ทำโฟมก็คงจะโชติช่วงชัชวาล

เรามาดูกันว่าการรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ชนิดต่างๆ นั้น เขามีกรรมวิธีทำกันอย่างไร

ดิฉันเองนั้นมีความรู้น้อย เวลาจะอ้างอิงอะไรสักอย่างก็ได้แต่ใช้ข้อมูล ของคนอื่น ที่อยู่ใกล้มือเพียงปลายนิ้วสัมผัสก็มีเพียงอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
จึง ได้เข้าไปในเว็บไซต์ของ yahoo เปิดเข้าไปในหมวด environment เลือก
ประเภท recycling เข้า ไปในอีกหลายๆ เว็บที่เป็นเรื่องการรีไซเคิลพลาสติก พอ
จะรวบรวมข้อมูลมาไว้ ณ ที่นี้ได้ว่า

มีการจัดประเภทของพลาสติกชนิดต่างๆ เอา
ไว้เป็น 7 ประเภทเรียง ตามคุณสมบัติง่ายยากในการหลอมนำกลับมาใช้ใหม่คือ PETE, HDPE, V, LDPE, PP, PS และ OTHER
พลาสติกทั้ง 7 ประเภทยังแยกเป็น 3 เกรดตามสถานภาพการนำไปรีไซเคิลในตลาด
(ในที่นี้หมายถึงตลาด ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดการรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน) คือ A ไม่ใช่วัสดุหลักที่มีตลาดรองรับ B เป็น
วัสดุที่ตลาดกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ C มีตลาดรองรับอยู่ทั่วไป ในการรีไซเคิล นั้น จะต้องแยกให้เหลือแต่เพียงพลาสติกที่เป็นประเภท
เดียวกันเท่านั้น จะมีพลาสติกชนิดอื่นปนมาไม่ได้เป็นอันขาด เพราะหาก
หลอมไปแล้วจะทำให้สารละลายที่หลอมนั้นใช้ไม่ได้ ต้องทิ้งไปทั้งหมด เหตุนี้ผู้ผลิตจึงต้องทำเครื่องหมายติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ ทั้งเจ็ด
เป็นเครื่องหมายลูกศร 3 อันรวมกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ข้างในมีตัวเลข 1 ถึง
7 กำกับเอาไว้ เพื่อเวลาเลือกพลาสติกจะได้ไม่พลาด

ดูด้วยสายตาหรือคลำเอาไม่อาจจะบอกได้ว่าเป็นพลาสติกประเภทใด

ประเภทที่ 1 PETE และ 2 HDPE คือ ที่ใช้ทำขวดบรรจุเครื่องดื่ม
ต่างๆ ส่วนที่ 4 LDPE คือที่ใช้ทำถุง ทั้งประเภทที่ 1 และ 2 มีตลาดรีไซเคิล
รองรับ ส่วน 4 LDPE ไม่นิยมรีไซเคิล แต่ควรจะนำกลับมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้ง
มากกว่า และประเภทที่ 7 OTHER นั้นไม่มีการรีไซเคิล

บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโพลีสไตรีนหรือที่เรียกกันว่า โฟม ทั้งที่เป็นภาชนะ
แผ่นกล่อง หรือเม็ด ไม่มีศักยภาพในการรีไซเคิลเพราะไม่คุ้ม กับการลงทุน
แต่ที่ใช้กันทั่วไปเพราะคุณสมบัติที่ดีหลายข้อรวมทั้งราคาถูก มาก และราคา
ที่ถูกนี้เองทำให้ไม่คุ้มกับการนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลหมายความว่าถ้าต้องนำไปแยกด้วยมือเพื่อให้ได้โพลีสไตรีนแท้
ที่ไม่มีวัสดุอื่นใดเจือปน ค่าแรงในการแยกแพงกว่าการผลิตใหม่ และยิ่งถ้าจะ
ต้องเอาไปล้างทำความสะอาด เป่าลมให้แห้งหรืออะไรประเภทนั้น
ทั้งค่าแรงงานและค่าเสียเวลายิ่งไม่คุ้มเข้าไปใหญ่
เพราะเหตุนี้เองที่พลาสติกหลายชนิดที่คิดกันว่าส่งเข้าโรงงานรีไซเคิลไปแล้วจะถูกส่งเข้าเตาหลอม
แต่ความจริงแล้วกลับเดินทางไปยังที่ฝังขยะมากกว่า

ดิฉันเคยไปอยู่บ้านเพื่อนในเมืองไครซ์เชิร์จ นิวซีแลนด์ ที่เทศบาลของ
เขากำลังรณรงค์อย่างกว้างขวางและเข้มแข็งให้มีการแยกขยะเพื่อนำไปรียูส
และรีไซเคิล เทศบาลแจกโปสเตอร์แผ่นใหญ่ให้ทุกครอบครัวติดไว้ตรงที่วางถังขยะ จะได้รู้ว่าขยะประเภทใดต้องแยกอย่างไร และยังมีแผ่นพับเล็กๆ บอกว่าวิธีการที่ถูกต้อง ในการจัดการกับขยะรีไซเคิลชนิดต่างกัน จะต้อง
ทำอย่างไร ยกตัวอย่างดังนี้คือ

กระดาษและกล่องกระดาษ : เฉพาะกระดาษหนังสือพิมพ์ที่สะอาดเท่า
นั้น โดยให้มัดรวมกันเป็นห่อ กล่องกระดาษให้ทำให้แบนก่อน ที่ไม่รับ
เพราะไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้คือแมกกาซีนที่พิมพ์ด้วยกระดาษอาบมัน
กระดาษสกปรกทุกชนิด และกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่อาบมัน

กล่องนมและน้ำผลไม้ : ให้ล้างด้วยน้ำเปล่าก่อนเสมอ ถ้าไม่ ล้างจะไม่
รับ (เพราะล้างตอนแห้งแล้วใช้น้ำเปลืองมากและอาจไม่สะอาดจริง)
ไม่รับกล่องใส่ครีมหรือน้ำผลไม้ที่บรรจุขวดพลาสติก

กระป๋องอะลูมิเนียม : เฉพาะเครื่องดื่มประเภท soft drink ถ้าบรรจุ
กระป๋องที่ทำด้วยเหล็กไม่ให้รวมมาด้วยกัน กระป๋องที่ทำจากแผ่นเหล็กกล้า : เช่นพวกอาหารกระป๋อง กระป๋องสี

กระป๋องสเปรย์ ให้ล้างน้ำทำความสะอาดและทำให้แห้งก่อน ไม่รับกระป๋อง
ที่ยังมีอาหารหรือน้ำเหลืออยู่ภายในพลาสติก : เฉพาะขวดหรือบรรจุภัณฑ์อื่นที่ทำจากพลาสติก PETE

ประเภท 1 ให้ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดเอาฝาปิดหรือวัสด ุชนิด อื่นออก และ
ทับให้แบน (เพื่อไม่กินที่) ฯลฯ

เห็นไหมคะว่ากระบวนการรีไซเคิลนั้นไม่หมูเหมือนที่คิด จะต้องอาศัย
ความเข้าใจในขบวนการผลิต เช่นต้องแยกวัสดุชนิดเดียวกันเท่านั้น
ต้องล้าง น้ำเปล่าทำให้สะอาดในระดับหนึ่งก่อน การล้างที่สะดวกที่สุดคือล้างในทันที
ที่เป็นขยะ ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไว้ให้ความสกปรกจับเป็นคราบไคล เพราะตอนนั้น
จะล้างยาก เปลืองแรงงานเปลืองน้ำเปลืองจนถึงขั้นไม่คุ้มกับต้นทุน

ดิฉันถามเพื่อนว่าแล้วยูทำอย่างที่เทศบาลขอร้องหรือเปล่า เพื่อนตอบ
ทันทีไม่ต้องคิด ทำบ้างไม่ทำบ้างแล้วแต่อารมณ์ เอ๊ะ ดิฉันถาม อย่างนั้นเขา
ยอมเก็บขยะรีไซเคิลที่ยูไม่ยอมล้างยอมแยกไปหรือ
เพื่อน ดิฉันหัวเราะก๊าก บอกว่าก็ชิ้นไหนที่ไอไม่ได้ล้างน้ำเปล่าตามที่เขา
ต้องการ ไอก็โยนใส่ถังขยะทั่วไป เขาเอาไปฝังแบบ landfill วันไหนอารมณ์ดี
ไม่มีงานบ้านมากก็แยกก็ล้างตามที่เขาต้องการ แล้วจึงค่อยแยกใส่ถุง
พลาสติกใสตั้งไว้หน้าบ้านวันที่เขามาเก็บขยะรีไซเคิล
ดิฉันได้รู้สัจธรรมว่าขนาดในประเทศนิวซีแลนด์ที่มีประชากร น้อย ใน
เมืองไครสเชิร์จที่เทศบาลรณรงค์เรื่องรีไซเคิลอย่างเข้มแข็ง ในประเทศที่พลเมืองที่มีการศึกษามาก ในสังคมที่คนมีความ รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสูงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการเรื่องรีไซเคิลให้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์

การรีไซเคิลนั้นทำได้สองวิธี คือรีไซเคิลด้วยปากและรีไซเคิลด้วยมือ

อย่างแรกง่ายและได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ คือถ้ามีคนเชื่อว่าทำได้ ก็คือทำได้ แต่
อย่างหลังนี่ซิยาก ขนาดทำไปแล้วยังทำบ้างไม่ทำบ้าง


ลอยกระทงปีนี้ดิฉันทำแปลกกว่าทุกปีคือออกไปกินข้าวที่ร้านริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา แล้วลงเรือแล่นไปถึงสะพานแขวน ขากลับมาจอดรอดูเขาจุดดอก
ไม้ไฟที่หน้าโรงแรมโอเรียนเต็ลและเพนนินซูล่า ดูดอกไม้ไฟเสร็จก็อธิษฐาน
ปล่อยกระทงลงในแม่น้ำ บอกให้ก็ได้ว่าซื้อกระทงที่ขายตรงหน้าร้านต้นโพธิ์ ราคาใบละ 30 บาท
มีทั้งประเภททำจากวัสดุธรรมชาติล้วน และประเภทไฮบริด ลูกผสมระหว่างโฟมและวัสดุธรรมชาติ
ถ้าไม่จับยกขึ้นมาดูตรงก้นจะไม่รู้เลยว่าฐานกระทง ทำด้วยโฟมหรือหยวกกล้วย
ตอนปล่อยกระทงหล่นตุ๊บลงไปในน้ำนั้นเห็นชัดว่ากระทงของดิฉัน
กระแทกน้ำ landing แรงไปหน่อย เทียนเลยดับ ส่วนกระทงของบางคนน้ำหนัก
เบากว่าค่อยๆ ตกบนผิวน้ำอย่างนุ่มนวล แล้วจึงค่อยลอยไปตามกระแสน้ำพร้อม
กับแสงเทียนส่องสว่างสะท้อนผิวน้ำงามจับตา

หากกระทงของดิฉันเล็ดลอดสวิงของเจ้าหน้าที่กทม. ออกไป ถึงปาก
อ่าวคงจะค่อยๆ เน่าเปื่อยเป็น ส่วนหนึ่งของขบวนการน้ำเน่า ส่วนกระทงที่
เป็นโฟมก็จะลอยเท้งเต้งออกไปสู่อ่าวไทย บางทีคลื่นลมอาจจะพัดให้เข้ามา
เกยหาดที่ใดที่หนึ่งสักแห่ง เป็นส่วนหนึ่งของขยะนานารูปแบบ ที่เราเห็น
กันอยู่กลาดเกลื่อน เช่น รองเท้าแตะฟองน้ำ ขวดพลาสติก ขวดเบียร์ กล่องโฟม เชือกพลาสติก เศษแหอวนฯลฯ

บางทีกระทงโฟมใบนั้นก็อาจจะหลงทางลอยไปเรื่อยๆ ในทะเลกว้าง
ใหญ่ ดิฉันเคยเห็นชิ้นส่วนโฟมขนาดใหญ่ที่ใครคนหนึ่งคงจะโยนลงทะเลไป
เจ้าโฟมชิ้นนั้นคงจะลอยอยู่นานแล้วเพราะมีตะไคร่น้ำสีเขียวจับ กระดำกระด่าง มองแล้วรำคาญตาอยากจะหยิบ ขึ้นมาเอาไปมอบให้พวกรีไซเคิล แต่เจ้านกนางนวลตัวน้อยคงไม่คิดเช่นดิฉัน
เพราะมันใช้เกาะเป็นที่พักปีก
ระหว่างบินร่อนอยู่กลางทะเล
สองวันมานี้ประเด็นเรื่องกระทงโฟมเป็นที่วิพากษ์กันในสังคมกรุงเทพฯ
นั่นแสดงว่าประชาชนส่วนหนึ่งมีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องสิ่งแวดล้อม
สื่อมวลชน หลายฉบับติดตามข่าวรื่องการรีไซเคิลกระทงโฟมอย่างใกล้ชิดเกาะติดสถานการณ์ รู้ละเอียดถึงขั้นว่าทีแรกบริษัทที่สัญญาว่าจะรับกระทงโฟมไปรีไซเคิล
เปลี่ยนใจเพราะต้องการให้กทม.แยกเอาแต่เฉพาะโฟมล้วนๆ ออกมาจากใบ
ตองใบไม้และวัสดุอื่นๆ แต่ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนใจเพราะความสามารถในการ
เจรจาของคุณสมัคร ผู้ว่าฯ กทม. ยอมเอารถมาขนกระทงโฟมทั้งหมดที่ยังไม่
ได้แยกส่วนไปแยกเอง นัยว่าแยกเสร็จเมื่อไรก็จะส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล
ก่อนปล่อยกระทงลงน้ำ ดิฉันตั้งจิตอธิษฐานว่าขอให้กระบวนการรีไซเคิลกระทงโฟมในปีนี้อย่าเป็นการรีไซเคิลด้วยปาก เลย เพราะแม้ว่ากระทงของ ดิฉันจะไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการรีไซเคิลนี้ แต่ก็ขอเอาใจช่วยให้ความตั้ง
ใจดีของผู้ว่าฯ กทม. ในเรื่องการใช้กระทงโฟมจงสำเร็จลุล่วงทุกประการ เทอญ
โดยคุณ : ยศวดี บุณยเกียรติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น