++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทวิเคราะห์ ปัญหาชาวโรฮิงยา ปัญหาที่ไม่มีทางออก

ปัญหาผู้ย้ายถิ่นฐานชาวโรฮิงยา ปัญหาที่อังกฤษทิ้งไว้ให้ภูมิภาคนี้
และกลายเป็นปัญหาที่ไม่มีทางออก

ทำไม ทุกประเทศในแถบนี้ ไม่ยอมรับโรฮิงยาให้ขึ้นฝั่งและให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะโรฮิงยาที่มาจากรัฐยะไข่ในพม่า

เพราะพม่าประกาศมาตั้งแต่ได้รับเอกราชมาจากอังกฤษเมื่อ 70 ปีมาแล้ว โรฮิงยาไม่ใช่คนพม่า แม้พม่าจะประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ เกือบ 140 ชนเผ่า ที่รัฐบาลพม่ายอมรับว่าเป็นคนสัญชาติพม่า แต่พม่ไม่เคยยอมรับว่าชนเผ่าโรฮิงยาเป็นหนึ่งในนั้น และไม่ให้สิทธิต่างๆ ในฐานะพลเมือง ยังถือว่าเป็นผู้อาศัยเท่านั้น และกดดันต้วยวิธีต่างๆ เพราะความแค้น

ความแค้นของพม่ามีมาตั้งแต่สงครามกับอังกฤษ รวมสามครั้ง สองครั้งแรก อังกฤษยึดพม่าตอนล่างรวมทั้งกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ บริเวณทางใต้ ครั้งที่สามอังกฤษตีเมืองมัณฑะเลย์จับกษัตริย์พม่าและครอบครัวไปกักตัวไว้ที่มุมไบจนตาย พร้อมทั้งขโมยทับทิม เพชรพลอยและส่ิงของมีค่าไปจากพม่าเกือบหมด และยึดพม่าไว้เป็นเมืองขึ้นทั้งประเทศ

ในการรบกับพม่า นอกจากทหารอังกฤษแล้ว อังกฤษยังเอาทหารกูรข่า และพวกโรฮิงยาจากอินเดีย (ปัจจุบันเป็นบังคลาเทศ) มาช่วยอังกฤษรบกับพม่า และเมื่ออังกฤษยึดครองพม่า ก็เปิดให้คนอินเดียอพยพเข้ามาในพม่าได้อย่างเสรี พวกโรฮิงยาที่มาช่วยรบก็ลงหลักปักฐานในพม่าและส่วนหนึ่งก็อพยพเข้ามาเพิ่มเติม จนปัจจุบันมีคนโรฮิงยาจำนวน 1.6 ถึง 2 ล้านคนในพม่า ซึ่งพม่ายังถื่อว่าพวกโรฮิงยากไม่ใช่พม่าเดิมและเป็นพวกศัตรู แม้โรฮิงยารุ่นแรกๆ จะล้มหายตายจากไปตามอายุขัยและลูกหลานรุ่นหลังๆ จะเกิดในพม่า แต่พม่าก็ยังถือว่าไม่มีทางที่จะเป็นคนพม่าได้ เป็นเพียงผู้อาศัยชั่วคราว ถ้าออกจากพม่าไปแล้วจะไม่ให้กลับเข้ามาอีกเด็ดขาด

แม้จะถูกกดดันจากพม่า แต่สถานการณ์ในบังคลาเทศก็ยิ่งยากจนกว่า และเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่น พวกโรฮิงยาที่เกิดในพม่า เมื่อหลบหนีไปประเทศบังคลาเทศ ก็ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมือง แม้จะเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันและถือศาสนาอิสลามเหมือนกันก็ตาม มีโรฮิงยาจำนวนมากที่หนีไปบังคลาเทศ บังคลาเทศก็ไม่ให้เข้าประเทศ แต่จัดให้อยู่ในแค้มป์ผู้ลี้ภัยตามชายแดนซึ่งยากลำบากมาก และจะกลับเข้าพม่า พม่าก็ไม่ยอมให้กลับเช้ามา และทำทุกวิถีทางที่จะกำจัดคนพวกนี้ออกไปจากพม่า

ปัญหาจึงอยู่ตรงนี้ว่า คนโรฮิงยาจึงไม่เหมือนผู้ลี้ภัยกลุ่มอื่น และมีจำนวนมากเกือบสองล้านคน ที่อยู่ในความกดดันของพม่าอยู่ตลอดเวลา คนลี้ภัยหรือหนีภัยสงครามจากประเทศลาว เขมร เวียตนาม หรือพวกกะเหรียง หรือชนกลุ่มนัอยอื่น เป็นผู้ลี้ภัยชั่วคราว เมื่อภัยนั้นพ้นไป ก็สามารถส่งกลับประเทศได้ เป็นการให้ที่พักพิงลี้ภัยชั่วคราว (แต่ก็เป็นภาระหนักมาก และอย่าไปหวังว่าประเทศอื่นจะเข้ามาช่วย แม้การรับพวกผู้อพยพไปประเทศที่สาม ก็ใช้เวลานานประมาณ 20 ปี โดยคัดเอาแต่คนหนุ่มสาวที่ไปเป้นกลังแรงงานได้และมีความรู้ไป ทิ้งประชากรที่ด้อยคุณภาพไว้ให้ประเทศไทยรับเป็นภาระต่อมาจนทุกวันนี้) แต่ผู้ลี้ภัยโรฮิงยาเป็นผู้ลี้ภัยถาวร ไม่ว่าประเทศใดที่รับไว้ หมายความว่าต้องรับไว้ตลอดชีวิตตลอดจนลูกหลานที่จะเกิดตามมาในอนาคต ไม่มีทางที่จะส่งกลับไปได้ และ UNHCR ก็ไม่กล้าออกมาสนับสนุนเงินทุนเหมือนกรณีอื่น เพราะกรณีนี้หากมีการตั้งค่าย จะต้องเป็นค่ายถาวรไปไม่รู้ว่าจะจัดการส่งกลับต้นทางได้หรือไม่ (ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางทำได้) และจะตั้งค่ายไปตลอดชีวิตจนถึงชั้นลูกหลานได้อย่างไร ใครจะรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย ในที่สุดก็ต้องกดดันประเทศที่รับไว้ให้หาทางเลี้ยงคนพวกนี้ไปจนตาย

ด้วยเหตุนี้ ทั้งสามประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จึงไม่กล้าที่จะรับชาวโรฮิงยามาไว้ในประเทศ ที่เข้ามาแล้วก็ผลักดันกันไปด้วยวิธีการนอกระบบ ด้วยการส่งออกไปทางชายแดนพม่า แต่ทั้งสามประเทศไม่ยอมให้เข้ามาในน่านน้ำตัวเอง ได้แต่ส่งน้ำ ส่งอาหารและซ่อมเรือให้ แล้วผลักดันออกไปในเขตทะเลสากล หรือในน่านน้ำของต่างประเทศ เพราะไม่มีใตรที่กล้ารับภาระที่ไม่รู้จบในขณะที่ประเทศเหล่านี้ยังมีปัญหาประชาชนที่ยากจนและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่

ทางตะวันตกที่เคยเสียงแข็งเรื่่องสิทธิมนุษยชน ก็ไม่กล้าแอะปาก เพราะในยุโรปเอง อิตาลีก็ใช้วิธีกันเรื่อผู้อพยพไม่ให้เข้ามาในน่านน้ำ เพราะอิตาลีเองก็เจอปัญหาผู้อพยพจากอาฟริกาเข้ามาในอิตาลีจำนวนมาก และได้ร้องขอให้ชาติในยูโรช่วย แต่ก็ถูกทอดทิ้งให้รับภาระตามลำพัง

ออสเตรเลียที่ทำตัวเป็นชาติที่มีมนุษยธรรมสูง และชอบโจมตีผู้อื่น ก็เจอปัญหาผู้อพยพทางเรือเข้าออสเตรเลียมากมาย จนออสเตรเลียต้องใช้ทหารเรื่อกันไม่ให้เรือผู้อพยพเข้ามาในน่านน้ำ และใช้วิธีลากเรือผู้อพยพออกนอกเขตน่านน้ำของตนเช่นเดียวกัน หากผู้อพยพจมเรือ ก็จะเอาไปทิ้งไว่้ในเกาะคริสต์มาส ซึ่งออสเตรเลียถือว่าไม่ได้อยุ่ในดินแดนของตน (แต่ออสเตรเลียครอบครองอยู่) และสร้างค่ายกักกันคนเหล่านี้ไว้ และเมื่อไม่ถือว่าอยู่ในดินแดนของตน คนเหล่านี้จึงไม่ได้สิทธิในฐานะผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย (ที่ทั้งออสเตรเลียและอิตาลี เป็นภาคีอนุสัญญานี้ แต่ประเทศในอาเซียนทั้งหมดไม่มีใครกล้าเป็นภาคี เพราะอนุสัญญานี้ให้สิทธิผู้ลี้ภัยมากมาย และกำหนดให้รัฐบาลที่รับผู้ลี้ภัยไว้ต้องดูแลผู้ลี้ภัยดีกว่าที่ดูแลประชาชนของตัวเองเสียอีก)

ประเทศที่เคยทำตัวเป็นผู้ที่มีมนุษยธรรมสูงและชอบตำหนิประเทศอื่นว่าไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ ก็ไม่กล้ามีปากเสียง เพราะหากออกหน้ามาจะถูกสวนทันทีว่า ประเทศนั้นจะรับผิดชอบด้านการเงินไหม และจะรับคนพวกนี้ไปประเทศตัวเองไหม จะได้ส่งให้ทันที

UN ก็เหมือนคนง่อยเปลี้ยเสียขา เพราะมองเห็นแล้วว่าหากเข้าไปรับภาระเต็มๆ ด้วยตัว UN เอง ก็ต้องรับภาระทั้งหมด โดยเฉพาะด้านการเงิน ทั้งๆ ที UN ก็ใกล้ล้มละลายเต็มที จะหาเงินมาใช้แต่ละปีต้องไปง้อประเทศผู้บริจาคให้วุ่นไปหมด ถ้ามารับงานนี้เต็มตัว UN จะไม่มีเงินมาจ่าย ต้องตัดเนื่อตัวเอง และอาจจะล้มละลายในที่สุด

นอกจากนั้น UN เองก็ไม่มีปัญญาที่จะไปจัดการกับประเทศพม่าให้ลดการกดดันชาวโรฮิงยา และให้รับพวกโรฮิงยากลับ หากพม่ายอมรับกลับ และอยู่ร่วมกันโดยไม่กดดันชาวโรฮิงยา ปัญหาคงจะน้อยไปกว่านี้เยอะมาก

อีกประเด็นหนึ่งที่ประะเทศในแถบนี้ไม่กล้ารับโรฮิงยาไว้และดูแลตามมาตรฐานที่ UN กำหนด เพราะยังมีชาวโรฮิงยาอีกล้านกว่าคนที่รอดูอยู่ หากเห็นว่าได้รับการดูแลดี อีกล้านกว่าคน หรืออย่างน้อยหลายแสนคนพร้อมที่จะเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมฺของพม่าที่ต้องการไล่ชาวโรฮิงยาออกนอกประเทศอยู่แล้ว

ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาที่ไม่มีทางออก แต่ประเทศในแถบน้ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ บรูไน) ไม่มีใครกล้ารับพวกนี้ไว่้และปกป้องน่านน้ำของตนเองอย่างหนาแน่น

ปัญหาต่อไปคือคนกลุ่มนี้ คือพวกเหยื่อจ่ากการค้ามนุษย์หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ หลักๆ คือผู้ที่หลบหนีเข้าเมือง ที่ไปจ้างพวกขบวนการลักลอบพาคนเช้าเมืองให้พาเข้ามายังประเทศที่สาม ซึ่งชาวโรฮิงยาอยากไปมาเลเซียและอินโดนีเซียมากกว่าเนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมด้วยกัน การจ้างพวกนี้พาเข้าเมืองโดยมีค่าจ้าง กรณีจึงไม่เป็นการค้ามนุษย์ แต่เป็นการลักลอบพาคนเข้าเมือง ตามข้อสัญญาและพิธีสารว่าด้วยการลักลอบพาคนเช้าเมืองของสหประชาชาติ เว้นแต่บางคนที่ถูกนำไปค้าประเวณีหรือไปบังคับใช้แรงงาน จึงจะเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ซึ่งมีจำนวนน้อย แม้แต่การที่ถูกจับไปเรียกค่าไถ่ก็ไม่เข้าข่ายการเป็นเหยื่อในการค้ามนุษย์ แต่เป็นเหยื่ออาชญากรรมข้ามชาติ

กรณ๊นี้จึงอยู่ที่ความร่วมมือของทั้งสามชาติหลัก คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ที่จะต้องร่วมมือกันกำจัดกลุ่มที่ร่วมเป็นเครือข่ายการลักลอบพาคนเข้าเมือง ซึ่งมีทั้ง คนพม่า คนโรฮิงยา คนไทย คนมาเลเซีย และคนอินโดนีเซียอย่างเด็ดขาด โดยใช้กฎหมายใหม่ของไทย คือ พรบ ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ อย่างเด็ดขาด เพราะคนพวกนี้เป็นต้นตอในการนำคนเหล้านี้ให้ลงทะเลข้ามมา และมาตกระกำลำบากอยู่ในเวลานี้ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ต้องไม่เห็นแก่ได้ ต้องไม่รัับเงิน และต้องจัดการปราบปรามอย่างจริงจัง ต้องกวาดล้างให้สิ้น เงินเล็กน้อยที่พวกนี้ได้ แต่จะสร้างภาระให้ประเทศไทยไปชั่วลูกชั่วหลาน

กรณ๊นี้จึงเป็นการขัดกับความรู้สึกอย่างมาก เพราะมีชาวโรฮิงยาลอยคออยู่ แต่ไม่ประเทศไหนกล้าที่จะรับไว้ เว้นแต่ UN จะสามารถุเจรจากั้บพม่าให้รับกลับคนเหล่านี้กลับไปอยู่ยังแผ่นดินเกิดของตนได้

วิเคราะห์แล้วก็เหนื่่อยแทนครับ กับคนที่ต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ไม่มีทางออก และเป้นปัญหาที่อังกฤษมาก่อไว้เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว จริงๆ แล้วอังกฤษสร้างปัญหาไว้ให้พม่าอีกหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือเรื่องสนธิสัญญาปางหลวง ที่อังกฤษเป็นเจ้ากี้เจ้าการ จนทำให้พม่าต้องรบกับชนกลุ่มน้อยมา 70 กว่าปีแล้ว

บทวิเคราะห์ของ อธิบดีอัยการ ต่างประเทศ นายวันชัย รุจนวงศ์

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณอย่างมากมายครับ......ที่วิเคราะห์อย่างตรงๆ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างเรื่องนี้ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างเรื่องนี้ค่ะ

    ตอบลบ