++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ

"พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ ถ้าจะดับก็ดับที่เหตุ ความทุกข์ทั้งหลายมาจากเหตุให้เกิดทุกข์คือตัณหา ความอยากทะยานอยากได้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การจะแก้ปัญหา แก้ทุกข์ การจะดับทุกข์ ก็คือต้องไปแก้ที่เหตุ ต้องทำลายเหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหาความทะยานอยาก อยากมีอยากเป็น อยากในกาม อยากไม่มีอยากไม่เป็น เวลามันมีอารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้นก็อยากให้มันหมดไป อยากให้มันสิ้นไป ไม่เอาไม่ต้องการ อยากให้มันพ้นไปจากสิ่งเหล่านี้ มันก็เป็นกิเลสเป็นตัณหา ตัณหามีสามอย่างคือ กามตัณหา ความต้องการติดใจในกามคุณอารมณ์ อยากได้รูปสวยเสียงเพราะกลิ่นหอมรสอร่อยสัมผัสนุ่มนวลเป็น กามตัณหา อยากมีอยากเป็น อยากได้อย่างนั้นอยากได้อย่างนี้เป็น ภวตัณหา อยากให้มันไม่มีไม่เป็นให้มันหมดไป สิ่งที่ไม่ชอบใจให้มันไป ให้มันหมดไป ปฏิเสธผลักไสผลักดัน มันก็เป็น วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ในจิตใจที่วุ่นวายเป็นทุกข์เมื่อสาวไปแล้วมันก็มาจากกิเลสมาจากโลภะ มาจากตัณหาก็ต้องไปดับตัณหาไปทำลายตัณหาให้สิ้นซาก เมื่อเวลาประพฤติปฏิบัติจึงต้องรู้เท่าทันต่อตัณหาที่จะเกิดขึ้น ต้องพิจารณาในจิตใจว่าขณะนี้มีความทะยานอยากไหม มันมีตัณหาประเภทไหนเกิดขึ้น อยากสงบมันก็เป็นตัณหาเป็นการอยากมีอยากเป็นอยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ มีตัณหาเข้ามาแล้วถ้าเราปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ มันไม่สงบดังใจขึ้นมามันก็จะเกิดความเดือดดาลใจ เกิดความวุ่นวายใจยิ่งขึ้น ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องอ่านจิตใจตัวเองให้ออกว่าขณะนี้มีตัณหาไหม มีความทะยานอยากไหมถ้ามีก็ต้องแก้ไข แก้ไขอย่างไร อันดับแรกก็คือรู้ทัน รู้ลักษณะของตัณหาที่เกิดขึ้นแล้วก็ละวาง ฝึกหัดการเจริญสติสัมปชัญญะให้มันหลุดรอดหลุดพ้นจากตัณหาเรียกว่าให้มันมีความปล่อยวาง ฝึกหัดการให้มันมีความปล่อยวาง" หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี — กับ คิด พันธมิตร รักในหลวง
โดย: Watsanghathan วัดสังฆทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น