++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

แนวทาง 10 ประการในการชนะความทุกข์

แนวทาง 10 ประการในการชนะความทุกข์ 1. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธหรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าพึ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่าพึ่งทำอะไรลงไปแต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่คนทุกคนในโลกนี้ ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระ และไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์ เพราะมันก็หมายความว่า ท่านชนะมัน 2. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็น สภาวะที่ใสสะอาด ในตัวมันเอง จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร? ไม่กี่นาที ท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้น อย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย 3. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือ สภาวะธรรมดา ที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้น เสียอกเสียใจกับมันทำไม มันจะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไป ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้วท่านจะต้องพลัดพรากและสูญเสีย แม้กระทั่งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้ จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย 4. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่าทำไมถึงต้องเป็นเรา? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา ? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา 5. คงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมันจงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมัน ด้วยการไม่ยึดมั่นในมันและไม่อยากจะให้มันเป็นไปตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ 6. ขอเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้น ทันทีถ้าสบายใจอยู่ ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่าน พร้อมรับ เป็นอย่างนี้ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ 7. ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้น สักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตใจให้สงบ และเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ ภายในจิตของตัวเอง อย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่า การเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบ และเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้ 8. ความรู้จักในการรักษาจิตให้ สงบและสะอาด อยู่เสมอ นี่แหละ คือ สติปัญญาความรู้แจ้งธรรม ความเป็นจริง ความทุกข์จะ เกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย 9. จงเข้าสมาธิความสมควรแก่เวลาที่เอื้ออำนวย ไม่ต้องปรารถนาจะเห็น หรือจะได้ จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ และเมื่อ จิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่แล้ว สรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควร ยึดมั่นถือมั่นเลย 10. จงทำกับปัญหาทุกอย่าง ให้ดีที่สุด ใช้ ปัญญา แก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้ว จงเข้าสู่สมาธิ ได้เวลาแล้ว จงออกมาสู้กับปัญหาอย่างนี้เรื่อยไป และจงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุดในสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก ที่มา:mthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น