++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธรูปทรงเครื่อง

พระพุทธรูปทรงเครื่อง เรื่องของ...คติความเชื่อ และพลังศรัทธา

พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นพระพุทธรูปที่ฉลองพระองค์ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์ เช่น สวมมงกุฎ กรองศอทับทรวง ฉลองพระบาท ฯลฯ เกี่ยวกับคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องนี้ มีข้อสันนิษฐานไว้หลายประการด้วยกัน คือ ประการแรกสร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ ลัทธิเถรวาท สร้างตามพระพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าทรงทรมานพระมหาชมภู ซึ่งเป็นเรื่องราวการอธิบายทางประติมานวิทยาของพระพุทธรูปทรงเครื่อง ตามเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในมหาชมภูบดีสูตรว่า

"พระมหาชมภู เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบุญญาธิการและมีฤทธานุภาพมาก ไม่ยอมรับนับถือพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตพระองค์เป็นอย่างพระมหาจักรพรรดิ ทรงแสดงธรรมโปรดจนพระมหาชมภูลดทิฐิมานะ หันมายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา"

ประการที่สอง หมายถึง คติที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเทวราชา ผสมผสานกับพุทธราชา ตามลัทธิเทวราช และอีกประการหนึ่ง ตามคติพุทธศาสนามหายาน อาจจะหมายถึง อนาคตพุทธเจ้า

พระพุทธรูปทรงเครื่องเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓) ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔) พระพุทธรูปทรงเครื่องแบ่งเป็น ๒ แบบ คือ แบบทรงเครื่องใหญ่ และแบบทรงเครื่องน้อย นอกจากนี้แล้วยังนิยมทำพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับยืนประทานอภัย ๓ แบบ คือ ๑.ประทานอภัยทั้งสองพระหัตถ์ เรียก ปางห้ามสมุทร ๒.ประทานอภัยพระหัตถ์ขวา เรียก ปางห้ามญาติ และ ๓.ประทานอภัยพระหัตถ์ซ้าย เรียก ปางห้ามพระแก่นจันทน์ ส่วนพระพุทธรูปทรงเครื่องประทับนั่ง นิยมทำปางมารวิชัย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปจำนวนมาก เช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก (หลวงพ่อโต) พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท ทำเป็นลายประดับมุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องใน สมัยรัตนโก
ินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเป็นพุทธลักษณะทรงเครื่องใหญ่เต็มยศ ประดับกระจกหรือเนาวรัตน์ทั้งองค์

พระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนมากนิยมทำปางห้ามสมุทร พระพักตร์ดูเรียบเฉยเหมือนหน้าหุ่นตัวพระของโขน ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประทับอยู่บนฐานที่ลดหลั่นกันหลายชั้น ลวดลายละเอียด งดงาม มีผ้าทิพย์ประกอบดูรับกับองค์พระทรงเครื่องทั้งยังมีฉัตรประกอบทุกองค์ แม้แต่พระสาวกส่วนบัวที่อยู่ชั้นในสุดมีการทำลวดลายอย่างละเอียด เชื่อว่าได้แรงบันดาลจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูร้อน ยังมีปรากฏพระพุทธรูป แบบจีวรดอก คือลวดลายดอกดวงที่จีวร เชื่อว่าได้รับอิธิพลมาจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูฝน

สำหรับประพุทธรูปทรงเครื่องอันเป็นที่รู้จักทั่วโลก คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว นอกจากนี้แล้วยังมีพระพุทธรูปทรงเครื่องอันเป็นที่รู้จักของชาวไทย เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระประธานในอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถื่อเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ หลวงพ่อพุกกะยาภรณ์มณีศรีปทุม พระพุทธรูปในวิหาร วัดพระธาตุจอมศีล ต.บ้านถ้ำ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ในขณะที่พระพุทธไสยาสน์ทรงเครื่อง หรือพระนอน ซึ่งเข้าใจว่ามีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทยคือ พระพุทธรูปทรงเครื่องโนรา วัดพระทอง หรือวัดพระผุด จ.ภูเก็ต และพระทรงเครื่องในอุโบสถวัดนางนอง เขต บางขุนเทียน กทม.สร้างโดยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้น ส่วนสถานที่จัดพระพุทธรูปทรงเครื่องมากที่สุดคือ ในพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม กทม. ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ปัจจุบันมี การสร้างพระทรงเครื่องจักรพรรดิ เฉลิมพระเกียรติ84พรรษา


น.พ.บรรลุ ศิริพานิช ที่ปรึกษาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ และนายวัลลภ เจียรวนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการจัดสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสงานเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

รายได้จากการบริจาคบูชา ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล และจัดสร้างสำนักงานถาวรของสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ และมูลนิธิส่งเสริมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมชั้น 30 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ถนนสีลม กรุงเทพฯ

น.พ.บรรลุ ศิริพานิช ที่ปรึกษาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า ในปัจจุบันผู้สูงอายุของประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าภายใน 10 ปีข้างหน้าประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ทั้งนี้ เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้คนอายุยืนยาวมากขึ้น ประเทศไทยจึงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วกว่าในประเทศแถบตะวันตก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสังคมไทย ที่ต้องเตรียมแผนรองรับในระยะยาว โดยเฉพาะการดูแล ผู้สูงอายุที่ยากไร้

ด้าน น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ เสริมว่า สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจนวันนี้มีเครือข่ายผู้สูงอายุอยู่ทั่วประเทศถึง 21,120 ชมรม

หากในอนาคตอันใกล้เมื่อสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศ ไทยฯ และมูลนิธิส่งเสริมผู้สูงอายุฯ มีสำนักงานถาวรเป็นของตนเอง ก็จะสามารถดำเนินงานและสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้สูงอายุทั่ว ประเทศได้มาก ยิ่งขึ้น

ในขณะที่ นายวัลลภ เจียรวนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมการดำเนินการโครงการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา กล่าวว่า พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ ถือเป็นพระพุทธรูปที่ทรงคุณค่าองค์หนึ่งในประวัติ ศาสตร์ไทย ด้วยพุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ประทับฐานอาสนะบัลลังก์ ประกอบด้วยผ้าทิพย์ประดับลวดลาย ที่มาก กว่านั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางสมาธิ และด้านหลังพระผง

ในส่วนของพระผงทรงเครื่องจักรพรรดิ ได้รวบรวมมวลสารจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัดสำคัญจากทั่วประเทศ อาทิ ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ที่เคารพบูชาทั่วพระราชอาณาจักร พระพิมพ์จิตรลดา ผงพระพุทธนวราชบพิตร ผงพระพุทธนราวันตบพิธ มวลสารศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ มาผสมเป็นเนื้อผงในการจัดสร้างครั้งนี้ด้วย

ที่สำคัญ วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ และพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปและพระผง ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลา 18.00 น.

มี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม เป็นประธานพิธีจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก, สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ดับเทียนชัย พร้อมกันนั้นยังมีพระราชาคณะร่วมเจริญชัยมงคลคาถา อาทิ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส, สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม, พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม, พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม ฯลฯ

การสร้างพระ ครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมดกว่า 2 ล้านองค์ แบ่งเป็นพระบูชา ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว หล่อด้วยโลหะทองเหลืองรมดำ สีมันปู จัดสร้าง 500 องค์ เปิดให้บริจาคบูชาองค์ละ 20,000 บาท พระบูชา ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว หล่อด้วยโลหะทองเหลืองรมดำ สีมันปู จัดสร้าง 12,500 องค์ บริจาคบูชาองค์ละ 5,000 บาท และพระผงบูชา ขนาด 2.5x3.5 เซนติเมตร จัดสร้าง 2 ล้านองค์ บริจาคบูชาองค์ละ 100 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น