++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พี่ใหญ่ มทร.ธัญบุรี ใจดี คิดค้น"หนังสือเสียง"แด่น้องผู้พิการทางสายตา

เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา การผลิตสื่อทางเลือก สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเป็นรูปเล่มได้ ดังนั้นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ประกอบด้วย “หญิง” นางสาวทิพวัลย์ เชี่ยวชาญกิจแก้ว “ลูกกิ๊ก” นางสาวกัณจนาณัฏ พัฒนะสิริกุลชัย “แซม” นายอนันต์ ล้อมแพน “นิว” นายเตวิช เพียรเจริญ “เปิ้ล” นางสาวรัตติกาล แก้วเจริญ และ “บูล” นางสาวนงนภัส เดชธรรมรงค์ สร้าง "หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY สำหรับเด็กพิการทางสายตา" โดยใช้เทคนิคการสร้างเสียงประกอบและการใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างความน่าสนใจ ขึ้นมา โดยมี ดร.ภัสสร สังข์ศรี เป็นที่ปรึกษาและคอยให้คำแนะนำ

“นิว” ตัวแทนกลุ่ม เล่าว่า การสร้างหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY สำหรับเด็กผู้พิการทางสายตาโดยใช้เทคนิคการสร้างเสียงประกอบและการใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างความน่าสนใจนี้ ได้นำนิทานชาดกมาประกอบ เพื่อปลูกฝั่งคติธรรม คำสอน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีอยู่ในนิทานชาดก "ทางคณะผู้จัดทำ ได้สร้างเสียงประกอบและใส่เสียงดนตรีเพื่อให้น่าฟังและน่าสนใจ และทำให้เด็ก ๆ เหล่านี้ขยายโอกาสในการรับข่าวสาร และได้รับความสนุกสนานเพิ่มขึ้น ทางคณะผู้จัดทำได้ฝึกปฏิบัติ การสร้างและใส่เสียงประกอบ การเขียนบท สำหรับหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาการสร้างหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY สำหรับเด็กผู้พิการทางสายตาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโอกาสต่อไปอีกด้วย"

ซึ่งโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์นั้นไม่มีหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับระบบ DAISY แต่นักเรียนผู้พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิด ระดับประถมศึกษาตอนปลาย สามารถใช้ระบบ DAISY เนื่องจากนักเรียนจะเข้าไปฟังหนังสือเสียงที่ห้องสมุดและจะมีบรรณารักษ์เป็นผู้สอน

"ส่วนใหญ่นักเรียนที่เรียนอยู่โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยเฉพาะเด็กที่เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายแล้ว จะใช้ระบบ DAISY เป็นทุกคน เพราะทางโรงเรียนได้จัดให้มีการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรการเรียน ในชั้นประถมศึกษาตอนปลายและทางโรงเรียนยังมีมาตรฐานในการสอนและสามารถประเมินผลนักเรียนผู้พิการทางสายตาเป็นอย่างดีจึงเชื่อได้ว่าเด็กผู้พิการทางสายตาระดับประถมศึกษาตอนปลายสามารถใช้คอมพิวเตอร์และสามารถใช้ระบบ DAISY ได้"

โดยคณะผู้จัดทำได้เลือกนิทานชาดกจำนวน 12 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 รางวัลแก้เผ็ด ตอนที่ 2 แพะใช้กรรม ตอนที่ 3 ลิงกับจระเข้ ตอนที่ 4 ลูกชายสอนพ่อ ตอนที่ 5 นกกระยางกับปู ตอนที่ 6 ชายหนุ่มกับแม่มด ตอนที่ 7 หนูกับสนุขจิ้งจอก ตอนที่ 8 โคนันทวิสาส ตอนที่ 9 แม่นกกับช้างเกเร ตอนที่ 10 เต่าบิน ตอนที่ 11 เศรษฐีขี้งก และตอนที่ 12 พญาลิงผู้ยอมสละชีวิต มาจัดทำเป็นหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY ซึ่งมีความยาว 59 นาที ที่มีเนื้อหาสอดแทรกความรู้และคติสอนใจแก่ผู้ฟัง โดยนำนิทานชาดกที่มีผู้แต่งไว้แล้วมาแปลงเป็นบทใหม่โดยอ้างอิงจากเล่มเดิม ต่อจากนั้นทำการบันทึกเสียง ในห้องบันทึกเสียงด้วยไมโครโฟนชนิด Condenser ขยายสัญญาณเสียงไปสู่ลำโพงด้วยเครื่องขยายเสียง จากนั้นแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงด้วยลำโพง ESI และปรับแต่งสัญญาณเสียงด้วยเครื่องผสมเสียง บันทึกและตัดต่อด้วยการใช้โปรแกรม ADOBE AUDITION 1.0 บนเครื่องคอมพิวเตอร์

จากนั้นแปลงเป็นหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY ด้วยโปรแกรม My Studio PC แล้วบันทึกผลงานลงคอมแพ็คดิส (CD) สำหรับการประเมินผลออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ การประเมินผลเชิงปริมาณ โดยทำการประเมินผลจากนักเรียนผู้พิการทางสายาตาในระดับประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ และจะทำการประเมินผลเชิงคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้านด้วยกันคือผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงจำนวน 1 คน อาจารย์ผู้สอนเด็กนักเรียนผู้พิการทางสายตาจำนวน 1 คน ผู้ผลิตหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY จำนวน 1 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านนิทานสำหรับเด็กจำนวน 1 คน

ต้องขอปรบมือดังๆให้กับนักศึกษาทั้ง 6 คนใน การสร้างหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY สำหรับเด็กผู้พิการทางสายตา ด้วยการใช้เทคนิคการสร้างเสียงประกอบและการใช้เสียงดนตรีเพื่อสร้างความน่าสนใจ ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างสามารถสร้างความน่าสนใจได้ดีเนื่องจากมีการใช้เสียงประกอบและเสียงดนตรีที่สร้างขึ้นเองมาประกอบในบทนิทานชาดก เพื่อช่วยให้บทนิทานชาดกมีความเหมือนจริงเพิ่มมากยิ่งขึ้น และยังสามารถเปิดโอกาสทางการศึกษาให้เด็กผู้พิการทางสายตาเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังถือว่าเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนด้วย เพราะหนังสือเสียงอิเล็กทรอนิกส์ระบบ DAISY ชุดนิทานชาดก สามารถสร้างจินตนาการ พร้อมทั้งยังมีคติธรรมที่ดีเพื่อให้เด็กผู้พิการทางสายตานำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น