++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักสูตร " ลองใช้ชีวิตในเมืองใหญ่โดยไม่มีเงิน และไม่มีมือถือ "

หลักสูตร " ลองใช้ชีวิตในเมืองใหญ่โดยไม่มีเงิน และไม่มีมือถือ "
ระยะเวลา 8 ชั่วโมง
ระหว่าง 09.00-17.00 น. ในวันเสาร์ต้นเดือน
ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคนทางานออฟฟิศ หรือมนุษย์เงินเดือน 20 คน ซึ่งถูกกาหนดเงื่อนไขให้
ได้เรียนรู้แบบแสบๆคันๆหัวเราะไม่ออก ขอทุกคนโปรดงดอาหารเช้า แล้วมาพบกันที่หน้าห้าง
ใหญ่ ย่านสยามสแควร์
เงินทอง บัตรเอทีเอ็ม มือถือ ที่พกมาโปรดฝากไว้ที่อาจารย์
ตอนเย็นจะคืนให้
แต่ทุกคนต้องหาวิธีไปถึงจุดนัดพบ ที่หน้าห้างใหญ่ตรงแยกลาดพร้าวในเวลา 17.00 น.
ทุกคนปฏิบัติการด้วยท้องที่หิว ต่างนาพาตัวเองสู่จุดนัดหมาย ด้วยประสบการณ์เฉพาะตนที่ยาก
จะลืมเลือน
แดง เล่าว่าเธอพยายามรวบรวมความกล้าไปขอเงินค่ารถเมล์ แต่ใจไม่กล้าพอ เพราะรูปร่าง
หน้าตาแบบเธอนี่
ใครเขาจะเชื่อว่าไม่มีเงินเลยสักบาท แต่ด้วยความมุ่งมั่น แดงเดินจากสยามไปถึงแยกลาดพร้าว
โดยไม่มีอาหารและน้า ตกถึงท้อง
แดง สรุปวีรกรรมของเธอว่าเป็นเรื่อง " ศักดิ์ศรี " ล้วนๆ เพื่อนๆจึงแถมด้วยว่า " ไม่ฉลาด "
เพราะไม่รู้จักขึ้นรถเมล์ฟรีสาหรับประชาชน
ต้อย แก้โจทย์แรกทาอย่างไรจึงหายหิว ต้อยเล็งแม่ค้าหมูปิ้งท่าทางมีเมตตา ต้อยเริ่มบรรยาย
ว่าเธอไม่ได้กินข้าวเช้า
กาลังจะเป็นลมแล้ว แม่ค้าสงสารยื่นหมูปิ้งให้สองไม้แถมข้าวเหนียวอีกห่อ
ณ นาทีนั้น ต้อยสัญญากับตัวเองว่า ทันทีที่ภารกิจเสร็จ ได้กระเป๋าสตางค์ของตนคืน จะมาเหมา
หมูปิ้งหมดเลย
แต่พอถึงตอนเดินไปขอใช้โทรศัพท์มือถือ จากผู้ที่เดินผ่านไปมา สายตาที่มองต้อยหัวจรดเท้า
หรือท่าทีธุระไม่ใช่ของคนเหล่านี้
ต้อยสรุปว่า น้าใจแห้งแล้งกว่าแม่ค้าหมูปิ้งยิ่งนัก ต้อยบากหน้าขอยืมมือถือกว่าสิบราย
แต่สุดท้ายมีหญิงวัยกลางคนให้เธอยืมมือถือมาโทรฯ ได้สาเร็จ
ต้อยสัญญากับตัวเองเป็นคารบสองว่าต่อจากนี้ไป ใครมาขอยืมใช้โทรศัพท์มือถือ เธอจะเต็มใจ
ให้ใช้ โดยไม่เกี่ยงงอนใดๆเลย
นี่คือ คาสัญญาจากต้อย
Page 2
2
เอก พยายามทดสอบน้าใจผู้คน แต่ไม่มีใครเชื่อว่าชายครบสามสิบสอง ไม่พิกลพิการจะมีหน้า
มาแบมือขอเงิน เอกต้องทนหิว
ถึงบ่ายแก่ๆ ไปขอเงินจากนักศึกษาสาวที่มองเอกอย่างพินิจพิเคราะห์อยู่ครู่หนึ่งแล้วเดินจากไป
ราวสิบนาทีต่อมา เธอยื่นถุงจากร้านสะดวกซื้อให้เอกโดยไม่พูดสักคา เอกรับมาเปิดดู มี
เครื่องดื่มเย็นๆสองขวด
แซนวิช และธนบัตรหนึ่งร้อยบาทในถุงนั้น
เอกเล่าว่าอยากจะวิ่งไปขอบคุณนักศึกษาสาวผู้นั้น แต่เธอเดินลับหายไปในฝูงชน บุญคุณครั้ง
นี้เอกจะไม่ลืม
เงินร้อยบาทที่ได้มาเป็นเงินที่มีค่ากว่าเงินเดือนหลายหมื่นที่ฝ่ายการเงิน โอนเข้าบัญชีของเอก
ทุกเดือนซะอีก
เอกกาลังคิดว่า ตนจะตอบแทนสังคมที่มีผู้มีน้าใจได้อย่างไร
วิทยา เป็นวิทยากรกระบวนการหลักสูตรนี้ แต่ต้องใช้ชีวิตโดยไม่มีเงินและมือถือเช่นเดียวกัน
กับคนอื่น
วิทยาปล่อยวางและเล่น "เกม" นี้อย่างไม่กดดันตัวเอง แต่พยายามเข้าใจปฏิกิริยาของคนที่เขา
ไปขอเงิน
และพยายามเชื่อมโยงเหตุผลที่ทาให้บางคน " มีน้าใจ " กว่าคนอื่น
วิทยาได้รับความช่วยเหลือจากคนที่ใส่ใจรับฟัง หรือจ้องมองดวงตาของวิทยา
แต่ผู้คนที่เร่งรีบไม่มีเวลาแม้แต่หยุดฟัง มักเชิดหน้าผ่านไปพร้อมส่งสัญญาณอามหิต
แปลความได้ว่า...ชีวิตใคร ชีวิตมัน อย่ามายุ่งกับข้า…
ผู้เข้าร่วมทั้ง 20 คนมาถึงจุดนัดหมายด้วย " ตัวช่วย " ต่างกันแต่ทุกคนสรุปตรงกันว่า ต่อไปตน
จะทาหน้าที่เป็นผู้ให้อย่างเต็มใจเมื่อมีผู้ร้องขอ
เพราะถ้าเราไม่ให้ ไม่ช่วยคนในสังคมแล้ว สังคมที่เราอยู่ร่วมกันนี้ก็คงไม่มีการให้มีแต่ความ
เป็นตัวใคร ตัวมัน
หลักสูตรครึ่งวันนี้ได้ชี้ทางว่า เราควรใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไร ?
(จาก หนังสือ สานพลัง สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คอลัมน์ เล็กไปใหญ่ โดย
นายแพทย์ ชาตรี เจริญศิริ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น