++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

จตุธาตุววัฏฐาน

จตุธาตุววัฏฐาน แปลว่า ธาตุ ๔ คือธาตุ ดิน ๑ ธาตุน้ำ ๑ ธาตุ ไฟ ๑ ธาตุ ลม ๑ ธาตุ ๔ นี้เป็นโครงร่างเป็นที่อาศัยของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณและจิตที่มีอำนาจบัญชาการในความคิดอ่านต่าง ๆ เป็นเรื่องของจิต ความรับรู้ที่เรียกว่า หนาว ร้อน หิว กระหาย เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด รู้การสัมผัส ว่าอ่อนแข็งนิ่ม อย่างนี้เป็นต้น เป็นความรู้สึกของวิญญาณที่ได้รับบัญชามาจากจิต โดยจิตบัญชาว่า อย่างนั้นเป็นอะไร วิญญาณก็รับทราบตามนั้น ความจะจำเรื่องราวต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของสัญญา รวมความแล้วธาตุ ๔ ที่เป็นเรือนร่างอาศัย ไม่มีความรับรู้อะไรเลย มีสภาพเหมือนบ้านคือคนที่อาศัย บ้านจะสวยหรือผุพัง บ้านไม่มีทุกข์ แต่เจ้าของบ้านคือคนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั่นเองเป็นทุกข์ ธาตุ ๔ ที่เป็นเรื่อนร่างของจิตและอุปกร์ต่าง ๆ ที่กล่าว มาแล้วก็เช่นเดียวกัน ความรู้สึกสุขทุกข์ ร่งกายที่สร้างด้วยธาตุ ๔ ไม่รู้เรื่องเลย ดังเราจะเห็นว่า เมื่อจิตไม่รับรู้อาการของทางกายบางขณะ เช่นว่าหลับ หรือมีความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง ร่างกายไม่ยอมรับรู้เรื่องใด ๆ ใครจะมาด่า นินทาให้ได้ยิน แม้จะพูดใกล้ ร่างกายก็เฉยไม่รับรู้รับทราบ หรือเมื่อจิตออกจากร่าง คือตาย ใครจะทำอะไร จะด่า เอามีดมาฟัน จะเอาไฟมาเผา กายไม่รู้เรื่องปล่อยทำตามอามรณ์ ความสุขความทุกข์ที่ปรากฏเป็นอาการของจิต พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทราบเรื่องของร่างกายก็เพราะจะได้ทราบตามความจริงจะได้ไม่หลงผิดอันเป็นการมัวเมาในร่างกายเกินควร และเป็นเหตุให้ถอนความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นของเราได้ง่าย ร่างกายอันเกิดจากธาตุ ๔ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้

๑.ปฐวีธาตุ ธาตุดิน ธาตุดินที่มีในร่างกายนั้น ก็คือของแข็งที่เป็นก้อนเป็นแท่งในเรือนร่าง เช่นกระดูก เนิ้อ ลำไส้ และอวัยวะทั้งหมดที่มีเนื้อ เส้นเอ็น รวมความว่า สิ่งที่เป็นก้อนเป็นแท่งในร่างกายจัดว่าเป็นธาตุดินทั้งหมด

๒.เตโชธาตุ ธาตุไฟ ได้แก่ความอบอุ่นที่ปรากฏภายในเรือนร่าง ท่านเรียกว่า ธาตุไฟ

๓.วาโยธาตุ ธาตุลม ได้แก่สิ่งที่พัดไปมาในร่างกาย มีลมหายใจเป็นต้น เรียกว่าธาตุลม

๔.อาโปธาตุ ธาตุน้ำ สิ่งที่เอิบอาบไหลไปมาในร่างกาย มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสลด น้ำลาย ปัสสาวะ เป็นต้น เรียกว่าธาตุน้ำ
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงว่า เรือนร่างของเรานี้เป็นธาตุ ๔ ประชุมกันขึ้น เป็นเรือนร่างขั่วคราว เป็นของไม่จีรังยั่งยืน มีเสื่อมและสลายตัวในที่สุด ไม่มีอะไรสะอาดน่ารักน่าชม เป็นของน่าเกลียดโสโครก เป็นแดนรับทุกข์เพราะจิตหลงผิดยึดเรือนร่างว่า เป็นเราเป็นของเรา คิดว่าร่างกายจะทรงความเจริญตลอดกาลตลอดสมัย คิดว่าจะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไ่ม่ป่วย ไม่ตาย หลงว่าสวยสดงดงาม ในมหาสติปัฏฐานท่านสอนให้แยกร่างกายออกเป็น ๔ส่วน โดยพิจารณาโคที่ถูกนายโคฆาต คือ คนฆ่าโค ฆ่าตายแล้ว ให้เอาเนื้อกระดูก และไส้พุงตับไตไปกองไว้ส่วนหนึ่ง เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ส่วนหนึ่ง แล้วพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่พอจะเห็นว่าสวยสดงดงาม พิจารณาแล้วจะเห็นว่าไม่มีอะไรสวยเลย แล้วท่านให้พิจารณาตัวเองเช่นเดียวกับโคที่ถูกฆ่านั้น ให้เห็นว่าร่างกายเราก็ดี ใครก็ตามที่เราเห็นว่าเป็นเรือนร่างที่สวยสดงดงาม น่ารักน่าชม ให้พิจารณาหาความจริงว่า ในเมื่อร่างกายนี้เป็นเพียงธาตุ ๔ ผสมตัวกันชั่วคราว มีเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ที่หลั่งไหลอยู่ภายในตลอดร่าง จะมีอะไรสวยงาม จงพิจารณาหาความจริงตามนี้จนอารมณ์จิตมีความรู้สึกเป็นปกต้ว่า นอกจากน่าเกลียดแล้ว ยังไม่มีอะไรยั่งยืน มีการก่อตัวขึ้นแล้วยังเป็นรังที่อาศัยของโรคภัยไข้เจ็บ มีโรครบกวนเป็นปกติ ถึงกระนั้นจะทำให้สิ้นทุกข์หาได้ไม่ เพียงแต่ระงับทุกข์ชั่วคราว เท่านั้น แล้วในที่สุดความเสื่อมโทรมของธาตุ ๔ ก็จะค่อยทวีตัวมากขึ้น ในที่สุด ธาตุ ๔ ก็ค่อย ๆ คลายตัวจากความเข้มแข็ง เป็นอ่อนสลวยและสิ้นกำลังในที่สุด เป็นจุดดับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอนัตตา คือบังคับไม่ให้ดับสลายไม่ได้ ท่านสอนให้พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจจนจิตมีความรู้สึกเป็นอารมณ์ประจำตามที่ท่านเรียกตามแบบว่า เป็นเอกัคคตารมณ์ คืออารมณ์เห็นอย่างนั้นเป็นปกติจนหมดความหมายในเรือนร่าง หมดความเมาในความเป็นอยู่ รู้อยู่เสมอว่าเราต้องตาย ธาตุที่รวบรวมตัวนี้ต้องสลาย และสลายตัวอยู่เป็นปกติทุกวันแวลาที่เคลื่อนไป ตัดความห่วงอาลัยในธาตุที่ประชุมเป็นเรือนร่างเสีย เห็นเป็นอนัตตาเป็นปกติ คิดรู้อยู่เสมอโดยมีความคิดเป้นปกติว่า ร่างสิ้นไป เราคือจิตจะอาศัยร่างชั่วคราว เมื่อสิ้นร่าง เราก็ไม่ยึดแดนใดเป็นที่เกิดต่อไป เพราะการเกิดเป็นการแสวงหาความทุกข์ ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีทุกข์ แดนที่เรียกว่าไม่เกิดคือแดนพระนิพพาน พระนิพพานที่จะไปถึงได้ ก็อาศัยความไม่ยึดถือร่างกายที่ประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ว่าเป็นเรา มีความเห็นว่ากายสลายตัวในที่สุด จนตัดรักความพอใจในโลกเสียได้ บัดนี้ เราเห็นแล้วว่า ร่างกายและโลกทั้งโลกเป้นแดนทุกขื เราตัดความยึดมั่นได้แล้ว เราตัดตัณหา คือความปรารถนา ในความเกิดต่อไปแล้ว เราตัดความยึดถือสรรพวัตถุที่เป็นเหตุของทุกข์ได้แล้ว ความสิ้นเชื้อในความเกิดได้มีแล้ว เราสิ้นรักด้วยอำนาจราคะที่เป็นเชื้อให้เกิดแล้ว เราตัดพยาบาท อันเป็นปัจจัยให้วนเวียนในวัฏฏะได้แล้ว เราตัดความหลงผิดที่เห็นว่าร่างกายเป็นเราได้แล้ว เพราะทราบว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา คิดอย่างนี้จนเป็นอารมณ์ จนจิตมีความรู้สึกตัดความคิดว่าโลกเป็นสุข เห็นโลกเต็มไปด้วยความทุกข์ได้แล้ว ก็ชื่อว่า ท่านชนะตัณหาได้แล้ว ท่านจบกิจในพรหมจรรย์แล้ว ทานไม่ต้องเกิดต่อไป ทานมีพระนิพพานเป็นที่ไปในที่สุด ชื่อว่าท่านหมดทุกข์สมความปรารถนาแล้ว การพิจารณาอย่างนี้ เรียกว่าพิจารณาทั้งสมถะ และวิปัสสนาร่วมกัน

1 ความคิดเห็น: