++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

นักวิจัยไทยใส่ไอเดียรักษ์โลก เคลือบกระดาษจากพลาสติกย่อยได้

การเล็งเห็นถึงพืชท้องถิ่นที่มีมากและหาได้ง่ายในประเทศ อีกทั้งความต้องการที่จะเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ทำให้ ดร.มนทิพย์ ล้อสุริยนต์ ดร.สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุลและอนินท์ มีมนต์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร่วมกันคิดค้น และสร้างนวัตกรรม ในการเคลือบกระดาษจากเยื่อกล้วยด้วยฟิล์มพลาสติกสลายได้ เป็นผลสำเร็จ

ดร.มนทิพย์ ล้อสุริยนต์ หนึ่งในเจ้าของงานวิจัยเปิดเผยว่า การเคลือบกระดาษกล้วยด้วยฟิล์มย่อยสลายได้เป็นช่องทางการเพิ่มมูลค่าเศษเหลือใช้จากงานเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์ ด้วยการใช้ฟิล์มพลาสติกชนิดย่อยสลายได้เคลือบลามิเนต โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความแข็งแรง ทนทานต่อสภาวะการใช้งานรูปแบบต่างๆเช่น ความชื้น หรือการหลุดลอกของเยื่อกระดาษ นอกจากนี้กระดาษกล้วที่ผลิตขึ้นยังสามารถสกรีนลวดลายต่างๆลงไปได้อย่างง่าย รวมถึงตกแต่งลวดลายและเสริมแรงด้วยเยื่อใบตอกสัก เพิ่อมความสวยงามและแข็งแรงขึ้น

"ส่วนกระบวนการขึ้นรูปกระดาษนั้น เป็นการขึ้นรูปด้วยกระบวนการช้อนขึ้นรูปด้วยตะแกรงเบอร์30 โดยขึ้นรูปกระดาษให้มีขนาด 10x12 นิ้ว เมื่อนำไปทดลองการต้มเยื่อในเวลาที่ต่างกัน โดยกำหนดอัตราส่วนโซเดียมไฮดรอกไซค์อยู่ที่ 9% ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมอัตราส่วนคงที่ 7ลิตร แล้วพบว่า อัตราส่วนเชิงกลของกระดาษกล้วย มีความแข็งแรงมากที่สุดได้จากเยื่อกล้วยที่ต้มด้วยเวลา 2.5 ชั่วโมง ค่าแรงต้านทานต่อแรงดึงเฉลี่ยเท่ากับ 15.89 MPa ,ค่าแรงต้านทานฉีกขาดเท่ากับ186.42 mN, ค่าความต้านทานความดันทะลุเท่ากับ3.76 kgf/cm3"

ทีมนักวิจัย กล่าวต่อไปว่า เมื่อนำกระดาษกล้วยไปผ่านกระบวนการเคลือบความต้านทานต่อแรงดึงจะเพิ่มขึ้นเป็น 79.14 Mpa ค่าแรงต้านทานฉีกขาดเพิ่มเป็น913.76 mN, ค่าความต้านทานความดันทะลุเพิ่มเป็น18.57 kgf/cm3 จะเห็นว่ากระดาษกล้วยเคลือบมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นประมาณ 5เท่า
"ตัวกระดาษที่เคลือบแล้วสามารถทนต่อน้ำ ความชื้น และมีความเรียบมากขึ้นจนสามารถพิมพ์สกรีนได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำความสะอาด สิ่งสกปรกที่เกาติดได้ง่าย ซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการนำไปทำเป็นปกหนังสือที่กันน้ำได้ นำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานอีกหลายประเภทเช่น งานตกแต่งภายในอาคารสถานที่ และงานบรรจุภัณฑ์หีบห่ออีกด้วย"

สำหรับผู้ที่สนใจนวัตกรรมการเคลือบกระดาษกล้วยด้วยพลาสติกย่อยสลายได้สามารถติดต่อสอบถามไปได้ที่ ดร. มนทิพย์ ล้อสุริยนต์ 088-0080836

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น