++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเจริญอินทรีย์ ๕ เส้นทางสีทองสู่ความตื่นรู้ 4

การเจริญอินทรีย์ ๕ เส้นทางสีทองสู่ความตื่นรู้ 4
โดย Dhammachak . Net เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:57 น.



พระพุทธดำรัส อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปหนึ่งรูปใดก็ตาม จะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของข้าพเจ้า ก็ย่อม(พยากรณ์)ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งในบรรดามรรค ๔ เหล่านี้ คือ
๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ “เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า “ เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๒. อีกประการหนึ่ง “ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า “ เมื่อเธอเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๓. อีกประการหนึ่ง “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน “ เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ มรรคเกิดขึ้น เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป
๔. อีกประการหนึ่ง “ ภิกษุมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ “ (แต่ครั้น) ถึงคราวเหมาะที่จิตนั้นตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายในเด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคเกิดขึ้นแก่เธอ เธอเสพคุ้นเจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป"
อํ.จตุกฺก 21/170/218-219 ยุคนัธสูตร

วิมุตติ ความหลุดพ้น เป็นความหลุดพ้นจากความที่ถูกกิเลสร้อยรัดพันธนาการ หลุดพ้นจากอุปาทาน หลุดพ้นจากเหตุแห่งทุกข์(สมุหทัย)
วิมุตติ(บาลี) แปลไทยว่า ความหลุดพ้น ความหลุดพ้นจากทุกข์โดยไม่กำเริบขึ้นเนื่องจากเชื้อที่ได้ดับสนิทจากภาวะ ประจักษ์แจ้งนิพพานตามกำลังมรรคกำลังอินทรีย์ นั่นจะกลายเป็นความหลุดพ้นของจิต สภาพรับรู้เมื่อกลับคืนมาสู่มิติของนามรูป

นิโรธ ความดับทุกข์ หรือ นิพพาน นิพพาน มาจากคำว่า นิรวาณ(Nirvana) แปลว่า ความปราศจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวง เป็นการให้ความหมาย ภาวะของ "สิ่ง" สิ่งนั้น ที่ภาษาไม่อาจอธิบายความหมายตามภาษาพูดของมนุษย์(อนีรวจนียะคือพูดไม่ได้) และไม่อยู่ในขอบข่ายของประพจน์ใดๆ เป็น "สิ่ง" ที่พ้นไปจากมิตินามรูป(ขันธ์๕), ไม่มีการไป-ไม่มีการมา

ดังพระพุทธดำรัสได้ตรัสไว้ว่า:
...‘สิ่ง’ สิ่งหนึ่งอันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่ ใน‘สิ่ง’นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ ใน‘สิ่ง’นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งาม ไม่สามารถหยั่งลงได้ ในสิ่งนั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ นามรูปดับสนิทในสิ่งนี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้แล"๑
" ภิกษุทั้งหลาย สิ่งนั้นมีอยู่ เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญานัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีอันเดียวกับ‘สิ่ง’นั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา เราไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่ามีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้ดับไป และสิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์" ๒
๑ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. 9/466/431 เกวัฏฏสูตร
๒ขุททกนิกาย อุทาน. 25/71/242-243 ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร


วิมุตติญาณทัสสนะ
วิมุตติญาณทัสสนะ คือความรู้ความเห็นในความหลุดพ้น ญาณ๓แห่งอริยสัจ๔ ปฏิจสมุปบาท มรรคแห่งตถตา และอื่นๆเมื่อคืนกลับมาสู่มิติของนามรูปขันธ์๕ ความรู้ความเห็นที่ได้ตกผลึกเก็บไว้ยังผลสู่มุมมองและความเป็นไปของชีวิตของ บุคคลผู้นั้น
วิมุตติญาณทัสสนะเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่อาศัยใจความรู้สึกนึกคิดใด ก็จะปรากฏแก่บุคคลนั้นมาเป็นระยะ ตามเหตุปัจจัยดุจแสงที่ส่องเข้าไปในผลึกนั้นบางหนบางครั้ง บางอย่างสามารถอธิบายเป็นภาษาพูดได้เมื่อมีไวยากรณ์ นิรุตติ ภาษา มารองรับ
วิมุตติทัสสนะจะเป็นผล เป็นประโยชน์โดยตรงต่อบุคคลผู้นั้น เพราะเป็นผลความรู้ในการดำเนินหนทาง(มรรค) เพาะบ่มอินทรีย์ที่จะก้าวสู่ภาวะนิพพานเพื่อดับทุกข์โดยลำดับละเอียดขึ้นไป และเป็นประโยชน์โดยอ้อมในการบอกกล่าวแนะนำกัลยณมิตรผู้คนรอบข้างตามแต่กำลัง อินทรีย์เพื่อไม่ให้เสียเวลาเดินทางอ้อมจากการบอกวิธีต่างๆจะช่วยลดระยะทาง ของกัลยณมิตรให้สั้นลงได้บ้างตามเหตุปัจจัย

"ธรรมนี้แหละ ถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายังไม่เห็นล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์"” พระสารีบุตร-พุทธชิโนรส

พระพุทธดำรัส..อัศจรรย์ ๔ อย่าง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้น จึงเกิดมี "ของอัศจรรย์ ๔ อย่างนี้" ปรากฏขึ้น คือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย "พอใจในกามคุณ" ยินดีในกามคุณ บันเทิงอยู่ในกามคุณ ครั้นตถาคตแสดง "ธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณ" ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง...
๒. ภิกษุทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย "พอใจในการถือตัว" ยินดีในการถือตัว บันเทิงอยู่ในการถือตัว ครั้นตถาคตแสดง "ธรรมที่กำจัดความถือตัว" ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง...
๓. ภิกษุทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย "พอใจในความวุ่นวายไม่สงบ" ยินดีในความวุ่นวายไม่สงบ บันเทิงอยู่ความวุ่นวายไม่สงบ ครั้นตถาคตแสดง "ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ" ประชาชนเหล่านั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง...
๔. ภิกษุทั้งหลาย ประชาชนทั้งหลาย "ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา" เป็นคนมืดบอด ถูกความมืดครอบงำเอาแล้ว ครั้นตถาคตแสดง "ธรรมที่กำจัดอวิชชา"ประชาชน นั้นก็ฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง เพื่อให้เข้าใจทั่วถึง ภิกษุทั้งหลาย " นี่คือของน่าอัศจรรย์ ที่ไม่เคยมี...ก็มีขึ้นมา เพราะการบังเกิดขึ้นของตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ "
อํ.จตุกฺก. 21/128/180-181 ทุติยตถาคตอัจฉริยสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น