สัตว์ผู้คุ้มกันภัย หมายถึง สัตว์กลุ่มที่มีอาณาบริเวณที่อยู่อาศัยกว้างใหญ่ หรืออยู่ในสภาพนิเวศหลายแบบ การอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้คุ้มกันภัยจะช่วยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่ง (Panthera tigris) อาจเป็นผู้ คุ้มกันที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งได้หายไปอย่างฉับพลันจากบริเวณที่เคยแพร่กระจายทุกแห่งใน 14 ป ระเทศ ที่มีเสือโคร่งอาศัยอยู่ มันถูกจำกัดให้อยู่ในบริเวณที่เล็กลงๆ โดยไม่มีใครรู้ขนาดเนื้อที่ที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของประชากรเสือโคร่ง ตั้งแต่ปี 2540 ได้มีการริเริ่มความพยายามในการ รวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสภาวะและการแพร่กระจายของเสือโคร่งใน ประเทศไทย การสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องถิ่น ตามด้วยการสำรวจร่องรอยยืนยันถึงลักษณะรูปแบบของการอยู่ของเสือโคร่งและ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อื่นๆ ในป่าที่เหลือน้อยลง และบ่งบอกว่ามีการคุกคามต่อเสือโคร่งในแหล่งที่อยู่เหล่านี้ กล้องดักถ่ายภาพด้วยรังสีอินฟาเรดถูกใช้ในการรวบรวมข้อมูลในรายละเอียด เกี่ยวกับความชุกชุมของเสือโคร่งและเหยื่อ และระดับกิจกรรมของมนุษย์ การสำรวจในใจกลางป่าทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยให้ผลที่ไม่คาดคิด บริเวณหลักของสองเจตอนุรักษ์ คือ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาเขียว และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความหนาแน่นของเสือโคร่งต่ำกว่าที่คาดไว้ ขณะที่ป่าที่ไม่มีใครรู้จักในสมัยก่อนในแนวเขตไทยมาเลเซียมีความหนาแน่นของ เสือโคร่งสูงกว่า เสือโคร่งน่าจะเป็นสัตว์ผู้คุ้มกันสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายของสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ แต่การล่าสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือโคร่งอย่างชุกชุมเป็นสิ่งที่คุกคามความ อยู่รอดของเสือโคร่งในป่าเมืองไทย
คณะผู้วิจัย - แอนโทนี่ เจ ไลนัม, อลัน เรบินโนสวิทและ วรเรณ บรอคเคลแมน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น