++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

การทำแบบจำลองระดับการพัฒนาชนบทด้วยข้อมูลดัชนี กชช. 2ค และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ข้อมูล กชช. 2ค เป็นข้อมูลที่หลายหน่วยงานของรัฐบาลใช้วางแผนพัฒนาชนบท โดยข้อมูลแสดงถึงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระดับหมู่บ้าน สำรวจและทำการจัดเก็บข้อมูลทุก 2 ปี ลักษณะของชุดข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวอักขระเป็นทั้งแบบเชิงพรรณาและเชิง พื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่นประเมินความเป็นอยู่ของประชากรในหมู่บ้านจากดัชนี 31 ตัว (ดัชนีย่อย) ซึ่งได้จากการประมวลผลข้อมูล กชช. 2ค ดัชนีย่อยได้ถูกแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มสภาพพื้นฐาน, กลุ่มผลผลิต, รายได้และการมีงานทำ, กลุ่มสาธารณสุขและการอนามัย, กลุ่มแหล่งน้ำ, กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม และ กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประเมินผลความเป็นอยู่ของประชากรในหมู่บ้านโดยภาพรวมของจังหวัดจากดัชนี ย่อยยังมีความซับซ้อน งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความซับซ้อนของข้อมูล กชช. 2ค ที่จะใช้ตัดสินสำหรับการพัฒนาชนบท โดยรวมดัชนีย่อยที่มีความสัมพันธ์ไปในเรื่องเดียวกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้ได้ดัชนี 6 กลุ่ม และแสดงผลข้อมูลเปรียบเทียบในรูปแบบของแผนที่อ้างอิงตำแหน่งพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

ก) สร้างขอบเขตการปกครองของตำบลและจุดตำแหน่งหมู่บ้านในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการนำเข้าข้อมูลเชิงตัวเลขจากแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1: 50,000
ข) สร้างแบบจำลองของดัชนีทั้ง 6 กลุ่ม โดยการนำดัชนีย่อย 31 ดัชนีมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย เพื่อให้ได้ค่าน้ำหนักของดัชนีย่อยแต่ละตัวที่จะเป็นองค์ประกอในสูตรดัชนี กลุ่ม
ค) การพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเป็น 2 ส่วน คือ

ค.1) ส่วนที่ให้ผู้ใช้โปรแกรมสามารถสร้างแบบจำลองดัชนีกลุ่มได้เอง ซึ่งแบบจำลองดัชนีกลุ่มจะถูกนำไปใช้ในการคำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของหมู่บ้าน
ค.2) คำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของตำบลจากค่าคะแนนดัชนีกลุ่มของหมู่บ้าน โดยหาค่าคะแนนมาตรฐานของคะแนนดัชนีกลุ่มของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งคิดจากจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัด แล้วหาค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานของแต่ละตำบล แล้วจึงคำนวณคะแนนดัชนีกลุ่มของตำบล

ระบบโปรแกรมได้พัฒนาโดยใช้ทดสอบ กับข้อมูล กชช. 2ค (2542) ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลกาวิจัยที่ได้รับมีความหมายที่มีความแตกต่างจากเดิมในแง่ของการสร้างแบบ จำลองดัชนีกลุ่มที่สามารถกำหนดน้ำหนักได้ นอกจากนั้นยังสามารถแสดงผลเชิงพื้นที่ของดัชนีกลุ่มในระดับตำบลและหมู่บ้าน รวมทั้งการค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ

ผู้วิจัย - สถิพรรณ จันทรัตน์ 2545
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยาพนธ์ - รศ.ดร.ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์, รศ.ดร.ประสิทธิ์ ประคองศรี, ผศ.บุญส่ง วัฒนกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น