ทำการทดสอบให้คนในท้องถิ่ นในจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีส่วนร่วมในการสำรวจและศึกษาสัตว์ป่าอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นการศึกษาความหนาแน่นสัมพัทธ์ของสัตว์ป่าด้วยการวาง “ที่เหยียบ” ด้วยการเกลี่ยดินให้เรียบในพื้นที่ 0.5×0.5 ตร.ม. หลายๆตำแหน่งบนเส้นทางที่กำหนด โดยแต่ละ “ที่เหยียบ” ไ ด้ วางอาหารล่อเอาไว้ ผลปรากฏว่าวิธีการนี้เหมาะสมสำหรับการศึกษาแมวป่าขนาดเล็กและขนาดกลาง การศึกษาดังกล่าวเพิ่มความสนใจของคนท้องถิ่นในการศึกษาสัตว์ป่า โดยเริ่มสนใจเกี่ยวกับรอยเท้าสัตว์ป่า ขยายสู่ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาสัตว์ป่าอย่างมีระบบ และเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ การศึกษาสัตว์ป่าด้วยการทำ “ที่เหยียบ” น อก จากจะมีศักยภาพในการขยายพื้นที่ในการสำรวจกลุ่มสัตว์ป่าดังกล่าวโดยคนท้อง ถิ่นได้อย่างกว้างขวางแล้ว ยังมีราคาถูก เหมาะสมสำหรับพื้นที่ และได้ข้อมูลที่มีค่าเพื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่และระหว่างช่วงเวลา โดยอาจจะขยายการสำรวจจากแมวป่าชนิดต่างๆ ไปเป็นการสำรวจสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ต่อไป และยังมีศักยภาพในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้วย
คณะผู้วิจัย – สมโภชน์ ศรีโกสามาตร, สุวิทย์ เนาสวัสดิ์ และทัตฑยา พิทยาภา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น