++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

สถานภาพและบทบาทของชะนีเต็มวัยเพศผู้ที่ยังไม่มีคู่ในกลุ่มชะนีมือขาว

ระหว่างปี 2538 – 2539 ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบรรลุภาวะตัวเต็มวัยของชะนีมือขาว (Hylobates lar) ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยศึกษาชะนีมือขาว 3 กลุ่ม คือ เพศผู้ตัวเต็มวัย เพศเมียที่มียังไม่มีคู่ (วัยกึ่งเต็มวัย) แ ละ วัยเด็ก ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมสังคม สัดส่วนของเวลาที่ชะนีใช้ในกิจกรรมต่างๆ ระยะห่างระหว่างชะนีแต่ละตัวภายในกลุ่ม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างชะนีวัยกึ่งเต็มวัยและวัยเด็กตอนปลาย กับคู่ชะนีผัวเมียในกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าชะนีกึ่งเต็มวัยยังคงมีปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่มอย่าง ต่อเนื่องอีกเป็นเวลาหลายปีภายหลังบรรลุภาวะตัวเต็มวัยทางกายภาพ เนื่องจากชะนีอาศัยเป็นครอบครัวเล็กๆ ตกลูกครั้งละ 1 ตัวทุก 3 ป ี และชะนีแต่ละกลุ่มมีอาณาเขตเฉพาะ ดังนั้น ชะนีวัยจึงไม่มีเพื่อนเล่นวัยเดียวกันอยู่ภายในหรือนอกกลุ่ม ชะนีกึ่งเต็มวัยใช้เวลาส่วนหนึ่งในการดูแลขนและเป็นเพื่อนเล่นกับชะนีวัย เด็ก นอกจากนี้ชะนีกึ่งเต็มวัยเพศผู้ยังร่วมกับชะนีตัวผู้เจ้าของกลุ่มในการ ป้องกันอาณาเขตจากกลุ่มชะนีเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตามสถานะของชะนีกึ่งเต็มวัยเพศผู้ก็เปลี่ยนไปภายหลังบรรลุภาวะ เต็มวัยทางกายภาพ กล่าวคือ พวกมันจะอยู่ห่างจากคู่ชะนีผัวเมียและชะนีวัยทารก และจะถูกกันออกจากต้นไม้ที่กลุ่มชะนีกำลังหากินอยู่โดยชะนีตัวผู้เจ้าของ กลุ่ม จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชะนีกึ่งเต็มวัยในประชากรชะนีมือขาวแห่งนี้จะยืดเวลาการแยกครอบครัวจาก กลุ่มเดิมภายหลังบรรลุภาวะเต็มวัยทางกายภาพ คู่ชะนีผัวเมียจะไม่ขับไล่ชะนีกึ่งตัวเต็มวัยออกจากกลุ่ม โดยการมีชะนีกึ่งเต็มวัยในกลุ่มจะยังประโยชน์ให้กับคู่ชะนีผัวเมียและลูก ชะนีวัยเด็ก

คณะผู้วิจัย - อุดมลักษณ์ สุวรรณเวโช, วรเรณ บรอคเคลแมน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น