++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

ความหลากหลายของพรรณพืช และการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวถิ่นและลัวะ ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

อุทยานแห่งชาติดอยภูคาครอบคลุมพื้นที่ 7 อ ำเภอ ในจังหวัดน่าน ประกอบด้วยพรรณไม้ท้องถิ่นนานาชนิด และมีชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดของชนกลุ่มน้อยใน จังหวัดน่าน อาศัยอยู่ 2 กลุ่ม คือ ชาวถิ่น และลัวะ โครงการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจพันธุ์พืชบนดอยภูคาในเส้นทางเดิน ศึกษาธรรมชาติ และองค์ความรู้ในการใช้พืชเพื่อการดำรงชีวิตของชาวลัวะ และถิ่น ผลการสำรวจบนเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติพบพืช 161 ชนิด เช่น ชมพูภูคา, ฮ่อสะพานควาย,เต่าร้างยักษ์, และประนอย จากการสัมภาษณ์องค์ความรู้ในการใช้พืชของชาวลัวะ และถิ่น พบมีพืช 114 ชนิดที่มีการนำมาใช้ในการยังชีพที่สำคัญ ได้แก่ เมี่ยง, มะแขว่น,, แตงอ้ม, ม ะ นอยต๊อบ และตะไคร้ต้น การทำการเกษตรที่สำคัญ คือ การทำไร่ข้าวผสมผสานกับการปลูกพืชอาหารอื่นๆ ซึ่งจะมีการหมุนเวียนใช้ที่ดินภายในรอบ 5-7 ปี และจะต้องผ่านการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อถือของชนแต่ละกลุ่ม

คณะผู้วิจัย ชูศรี ไตรสนธิ, วิทยา หงส์เวียงจันทร์, ไพบูลย์ สุทธิสุภา, ฐานิศวร์ วงศ์ประเสริฐ, สมเจตน์ วิมลเกษม และปริทรรศน์ ไตรสนธิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น