Fernandez และคณะ 200 ได้สร้างแบบจำลองความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้ต่อสิ่งปลูกสร้าง ดดยได้เลือก ซิตี้ออฟแฮมตัน รัฐ เวอร์จิเนีย เป็นพื้นที่ศึกษา โดยแบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้ตั้งอยู่บนแนวคิดของ ผลลัพธ์ที่เกิดจากเพลิงไหม้ และความถี่บ่อยของการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่ง ความถี่บ่อยหมายถึงจำนวนครั้งที่มีผู้โทรเรียกแจ้งเหตุเพลิงไหม้และพิจารณาว่าผู้ที่โทรนั้นโทรมาจากแหล่งใด อาคารใดและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่าในกระบวนการวิเคราะห์แบบซ้อนทับได้กำหนดค่าถ่วงน้ำหนัก ได้พิจารณาระดับความเสี่ยงในอาคาร โดยมีการจัดกลุ่มของอาคารที่มีลักษณะของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่คล้ายคลึงกันให้อยู่ในชั้นการจำแนกเดียวกันอย่างละเอียด โดยได้ยึดตามมาตรฐานการกำหนดรหัสอาคารจาก บี.โอ.ซี.เอ (Building Officials Code Administrators : BOCA) ซึ่งหลังจากที่ได้มีการจัดกลุ่มอาคารแล้วก้ได้นำเอาแบบจำลองข้างต้นมาหาค่าผลที่เกิดขึ้นหากเกิดเพลิงไหม้ในระดับหนึ่งหน่วยอาคาร หลังจากที่ได้จัดกลุ่มอาคารและการปรากฏว่าสามารถที่จะจัดได้ทั้งหมด 9 ชั้นจากการจำแนก 24 ประเภท ของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งอาคารแต่ละประเภทก้ได้มีการกำหนดระดับความเสี่ยงเนื่องจากวัสดุและการครอบครองในระดับที่ต่างกัน ได้แก่ ระดับเสี่ยงสูง ระดับเสี่ยงปานกลาง และระดับเสี่ยงต่ำ ผลที่ได้จากการคำนวณนำมาทำการปรับช่วง เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้ไปกำหนดเขต ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ในระดับต่างๆ ในการกำหนดช่วงเพื่อที่จะดูว่าอาคารแต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยงเท่าใด ผลที่ได้คือการกำหนดเขตเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ภายในพื้นที่ศึกษา ซึ่งสัมพันธ์กับอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
3-//////
AnNFIRS : Investigating City Characteristics and Residential Fire Rates [onlines] 2002
Available from : URL ; http://www.fema.gov/
Federal Emergency Management Agency (1998) ได้ทำการศึกษาถึงคุณลักษณะของเมือง เพื่อดูความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดเพลิงไหม้ในบริเวณที่พักอาศัย โดยใช้สถิติเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาข้อมูลที่ได้มีการบันทึกไว้ประกอบกับข้อมูลด้านสังคมและเศรษฐกิจของพื้นที่ศึกษา โดยแบ่งประเภทของสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ เพลิงไหม้ที่เกิดจากการลอบวางเพลิง, การละเล่นของเด็ก, ความประมาทจากการสูบบุหรี่ เครื่องทำความร้อน การประกอบอาคาร ไฟฟ้าลัดวงจร อุปกรณ์ไฟฟ้า และเพลิงที่เกิดจากการลุกลามมาจากพื้นที่ข้างเคียง และนอกจากนี้ปัจจัยด้านประชากรที่สำคัญที่นำมาพิจารณาร่วมได้แก่ ประชากรรวม เพศ อายุ การศึกษา เชื้อชาติ รายได้ ลักษณะที่อยู่อาศัย เป็นต้น โดยกลุ่มของข้อมูลดังกล่าวได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยโปรแกรม SPSS Version 6.1.3 เพื่อที่จะหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficients) ระหว่างคุณลักษณะของเมือง กำหนดตัวแปรอิสระ (Independents Variable) 27 ตัวแปร และตัวแปรตาม 9 ตัวแปร กับอัตราการเกิดเพลิงไหม้ และทำการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) ร่วมด้วยโดยใช้วิธีการ Stepwise Analysis ซึ่งพบว่า เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถที่จะแบ่งแยกประเภทของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ 9 ประเภท และพบว่า อัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งนี้มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชากรในพื้นที่ศึกษา ส่วนอัคคีภัยที่เกิดน้อยที่สุดคือ เกิดจากการประกอบอาหาร เนื่องจากไม่สามารถที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆที่ระบุไว้ข้างต้น
4-/////
Report of the joint Committee on the Commission Report to the Central Fire Brigades Advisory Councils (1998) ได้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย โดยกระบวนการประเมินความเสี่ยง (Assessing the Risk) ได้มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ โดยในแต่ละส่วนก็มีลักษณะของความเสี่ยงที่คล้ายคลึงกันซึ่งได้จัดกลุ่มให้เป็นกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ในการจัดกลุ่มประเภทของอาคารและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สัมพันธ์กันนี้ ได้พิจารณาร่วมกับข้อมูลสถิตการเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งบันทึกไว้โดยเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยของเมือง ระดับความเสี่ยงแบ่งออกเป็นเสี่ยงมาก, เสี่ยงปานกลาง, และเสี่ยงต่ำ ซึ่งระดับของความเสี่ยงในระดับต่างๆที่ได้วางเอาไว้ ได้สร้างระดับการยอมรับเอาไว้ด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้มีการจำแนกพื้นที่เสี่ยงแล้ว ท้ายที่สุดพื้นที่ที่ได้รับการจำแนกเหล่านี้กลายเป็นพื้นที่เป้าหมายให้กับหน่วยดับเพลิง เพื่อใช้ในการจัดเตรียมความพร้อมในการระงับเหตุเพลิงไหม้ ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ในพื้นที่ต่างๆภายในเขตชุมชนนี้ โดยประเด็นหลักๆ อยู่ที่การมุ่งความสนใจไปยังบริเวณที่ได้รับการจำแนกว่ามีความเสี่ยงสูงว่า ทางสถานีดับเพลิงจะสามารถเข้าไปยังบริเวณนี้ได้ภายในระยะเวลาเท่าใด นอกจากนี้บริเวณที่ได้รับการจำแนกให้มีระดับความเสี่ยงรองลงไปก็ได้รับความสนใจลดหลั่นตามลำดับ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือ การลดความเสี่ยงจากการเกิดอัคคีภัยนอกเหนือจากการจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ให้มีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยในระดับต่างๆดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
5-//////
Bhaskaran (2002) ได้จำแนกพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากอัคคีภัย (Fire Hazard Categorization) ที่เมืองบาทรัส รัฐนิวเซาว์เวล ซึ่งได้จำแนกพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากอัคคีภัยโดยอาศัยภาพถ่ายทางอากาศ และทำการจำแนกภาพโดยวิธีการ Supervised Classification แบบ Maximum Likelihood การสร้างแบบจำลองใช้ Software Arc. Infi 8.0.1, ArcView และ Envi ซึ่งขั้นตอนการทำ Spectral Analysis ใช้โปรแกรม Envi โดยได้เลือก Training Area จากภาพคือ ความหนาแน่นของอาคารและที่พักอาศัย ระดับความแออัดและหนาแน่นของอาคารสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่ของหลังคาและดาดฟ้าของอาคาร หลังจากนั้นชั้นข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นของพื้นที่หลังคา ได้ถูกคำนวณและส่งออกในรูปแบบเวคเตอร์ (Vector Data Structure) เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการวิเคราะห์โดยซ้อนทับกับชั้นข้อมูลปัจจัยอื่นๆต่อไป ส่วนขั้นตอนการซ้อนทับ นำชั้นข้อมูลซึ่งได้แก่ แปลงที่ดิน (Land Parcels) หน่วยงานที่วางแผนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง (Local Environmental Plan : LEPs) โครงข่ายถนน ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีดับเพลิง ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ข้อมูลจากสำมะโนประชากร และข้อมูลสถิติประชากร เช่น ช่วงอายุ คุณลักษณะของที่พักอาศัย และความหนาแน่น ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถบอกได้ว่า ประชากรและที่พักอาศัย อยู่ใกล้ชิดหรือมีความสัมพันธ์กับพื้นที่เสี่ยงอัคคีภัยเพียงใด ข้อมูลดังที่กล่าวมาข้างต้นชั้นข้อมูลทั้งหมดต้องสัมพันธ์กับหน่วยเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกแบ่งไว้สำหรับการสำรวจภาคสนาม
ผลปรากฏว่า สามารถที่จะจำแนกพื้นที่เสี่ยงอันตรายจากอัคคีภัย ได้ 5 ชั้นการจำแนก และมีความเสี่ยง 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่อันตรายมากเป็นพิเศษ (Special Hazard) แยกได้ 1 ชั้นการจำแนก ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของชั้นความเสี่ยงนี้ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย วัสดุไวไฟ หรือวัสดุของเหลวที่สามารถที่จะติดไฟได้ง่าย เช่น โกดังเก็บวัสดุไวไฟ ,โรงงานด้านเคมีและปั้มน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ในแผนที่แทนที่ด้วยสีแดง ส่วนระดับที่สองจัดเข้าขั้นอันตรายปานกลาง แยกได้ 2 ชั้นการจำแนก 2.1) ซึ่งลักษณะเชิงพื้นที่ประกอบด้วย ความเสี่ยงสูงต่อบ้านพักอาศัย ความเสี่ยงสูงที่เกิดจากย่านการค้าและอุตสาหกรรม และความเสี่ยงสูงอันเนื่องมาจากความหนาแน่นของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง (Structure Density) ภายในบริเวณนี้ แทนด้วยสีส้ม ชั้นที่ 2.2) ประกอบด้วย ความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดขึ้นกับย่านที่พักอาศัยบางส่วน ซึ่งมาจากย่านการค้าอุตสาหกรรม แต่มีความหนาแน่นของสิ่งปลูกสร้างในระดับปานกลาง แทนด้วยสีเหลือง ส่วนความเสี่ยงอันดับที่ 3 คือพื้นที่เสี่ยงต่ำ (Low Hazard) แยกได้ 2 ชั้นการจำแนก 3.1) พื้นที่พัฒนาสำหรับการเป็นแหล่งที่พักอาศัย ความเสี่ยงต่ำที่มาจากย่านการค้าและอุตสาหกรรม แทนด้วยสีเขียวเข้ม 3.2) ประกอบด้วยพื้นที่ที่จัดไว้สำหรับการเป็นย่านที่พักอาศัยบางส่วน และมีความเสี่ยงที่เกิดจากย่านการค้าอุตสาหกรรมน้อย
+ + + + + + + + + + + + + + + +
คนจุดตะเกียง : กลุ่มคนอยากเขียนในสิ่งที่อยากถ่ายทอดโดยไร้ขีดจำกัด
ทุกเรื่องที่อยากสื่อสารจากใจ
เชิญร่วมโหวต ศิลปินลูกทุ่งหญิงไทยในดวงใจของคุณ
http://onknow.blogspot.com/2007/05/blog-post_241.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น