++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

ความหลากหลายและวิวัฒนาการ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในประเทศไทย

โครงการวิจัยนี้เป็นการศึ กษาและ วิจัยความหลากหลายและวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนู และกระรอก ที่สะสมตัวอยู่ในถ้ำและโพรงหินปูน ในภาคตะวันตกของประเทศไทยบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี, ราช บุรี และบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณนี้มีภูมิประเทศแบบคาร์ส มีภูเขาหินปูนเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นถ้ำและโพรงหินที่เหมาะสมกับการสะสมตัว ของฟอสซิลสัตว์เหล่านี้ ฟอสซิลเหล่านี้เกิดจากการสะสมตัวจากการสำรอกของนกเค้าแมวและสัตว์กินเนื้อ ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสามารถบ่งชี้าภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศใน อดีตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ในการศึกษานี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างหินที่สะสมตามถ้ำและโพรงหินปูนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และพบแหล่งสะสมตัวของฟอสซิลหลายแห่ง นำตัวอย่างหินเหล่านี้มาละลายโดยใช้กรดฟอร์มิกเจือจางในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างฟอสซิลสัตว์บางส่วนที่ละลายออกมาแล้วได้นำมาศึกษาเปรียบเทียบ โดยศึกษารายละเอียดของลักษณะฟันสัตว์เป็นส่วนใหญ่ จากการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า มีฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่น่าสนใจหลายชนิด ได้แก่ หนู กระรอก และกระรอกบิน ประมาณ 21 ชนิด ได้ค้นพบฟอสซิลหนูบางชนิดที่ไม่ได้อาศัยในประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น หนูคุณฮูท (Hadromys humei) ซึ่งเป็นหนูที่มีถิ่นอาศัยปัจจุบันอยู่บริเวณแคว้น Manipur ในประเทศอินเดีย และทางใต้ของประเทศจีน นอกจากนั้นยังพบฟอสซิลกระรอกบินชนิดใหม่ มีลักษณะคล้ายกับกระรอกบินเท้าขน (Belomys pearsonii) แ ต่ มีขนาดใหญ่กว่ามาก การค้นพบฟอสซิลชนิดใหม่ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ทราบถึงความหลากหลายและวิวัฒนาการของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต ได้เป็นอย่างดี

ผู้วิจัย เยาวลักษณ์ ชัยมณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น