++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

การตอบสนองของสัตว์ป่าต่อการที่ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกเปลี่ยนสภาพเป็นหย่อมป่า และปัจจัยการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกิดจากมนุษย์ในพื้นที่ป่าดิบเขาภาคเหนือ

เนื่องจากพื้นที่ป่าอนุรั กษ์ส่วนใหญ่ ในภาคเหนือ ถูกเปลี่ยนสภาพจากป่าพื้นที่ทีเคยเป็นป่าผืนใหญ่ กลายเป็นหย่อมป่า ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ป่า ดังนั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษารูปแบบและการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าดิบเขา และผลกระทบต่อสัตว์ป่าที่ใช้พื้นที่ที่แตกต่างกันในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง โดยชาวเขา และการพัฒนาอื่นๆ พื้นที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย และแม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่ และตาก วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ประกอบด้วยการสำรวจสัตว์ป่าตามเส้นแนวในหย่อมป่าตัวอย่าง ระหว่างปี 2540 – 2541 โดยเน้นเฉพาะนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบว่า หย่อมป่าอมก๋อยยังคงเหลือสภาพหย่อมป่าผืนใหญ่ (4-8 ตารางกิโลเมตร) ท่ามกลางพื้นที่ไร่ร้าง ในขณะที่พื้นที่ป่าแม่ตื่นถูกเปลี่ยนสภาพเป็นหย่อมป่าผืนเล็กผืนน้อย (0.3 – 0.8 ต า รางกิโลเมตร ท่ามกลางไร่กะหล่ำ ถนน และหมู่บ้าน ผลการศึกษาสัตว์ป่าปรากฏว่า ความหลากหลายของชนิดนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในหย่อมป่าอมก๋อย มีสูงกว่าหย่อมป่าแม่ตื่น และพบว่านกป่าดิบยังคงมีความหนาแน่นสูง ในหย่อมป่าดิบเขาขนาดเล็กในป่าแม่ตื่น แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของหย่อมป่าเหล่านี้ต่อนกป่า ปัจจัยรบกวนอื่นๆ ที่พบคือ การล่าการจุดไฟเผาป่า และ ปล่อยวัวเลี้ยงเข้าป่า หย่อมป่าอมก๋อยยังคงคุณค่าต่อสัตว์ป่า แต่ประชากรถูกจำกัดตามหย่อมป่าที่คงเหลือ ส่วนหย่อมป่าในป่าแม่ตื่น ยังคงคุณค่าต่อนก และการกระจายพันธุ์ของนกป่าในพื้นที่

คณะผู้วิจัย อนรรฆ พัฒนวิบูลย์, Philip Dearden และ อุทิศ กุฏอินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น