ผู้ศึกษาค้นคว้า นางสาวแพรพรรณ สุวัน กศ.ม วิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2548
อ.ที่ปรึกษา รศ.ดร.ไพฑูรย์ สุขศรีงาม
บทคัดย่อ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศโดยต้องเริ่มที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ในการคิดตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล และเลือกรับเทคโนโลยีมาใช้ในการดำรงชีวิตที่เหมาะสมทันกับสภาพการเปลี่ยน แปลงตลอดเวลาควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุหรือเทคโนโลยี ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต จึงจะทำให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ และมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคมและปัญญา และมีทักษะในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การสอนวิทยาศาสตร์ความเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย และสามารถทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะเป็นคนเก่ง คนดี และมีสุขได้ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการสอนโดยใช้รูป แบบของวัฎจักรการเรียนรู้และรูปแบบของ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 86 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน 40 ข้อ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 ด้าน จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติที่ทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test และ F-test (Two-way ANCOVA) และ (Two-way ANCOMANOVA)
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. นักเรียนโดยส่วนรวมและจำแนกตามเพศ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจัดประเภทสิ่งของ ด้านการวัด ด้านการใช้จำนวนตัวเลขและการคำนวณ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลาและด้านการจัดกระทำข้อมูล เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน คือ ความอยากรู้อยากเห็น ด้านมีใจกว้าง ด้านคิดเชิงวิพากษ์ ด้านความเป็นปรนัย และด้านการยอมรับข้อจำกัด เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฎจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานโดยรวมและเป็นรายด้าน 6 ด้าน (ยกเว้นด้านการพยากรณ์และด้านการลงข้อวินิจฉัย) และมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน 5 ด้าน (ยกเว้นด้านความมีเหตุผล ด้านมีความรอบคอบ และความซื่อสัตย์) มากกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยรวมและเป็นรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
4. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและรูปแบบการสอน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน
โดยสรุป นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนของวัฏจักรการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนของ สสวท. ดังนั้น ครูวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
การเปรียบเทียบผลการสอนตามรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้กับรูปแบบ สสวท. ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น