++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

การใช้มดเป็นดัชนีวัดความหลากหลายทางชีวภาพ : การพัฒนาวิธีการตรวจสอบและการวัดความหลากหลายทางชีวภาพ

การศึกษาการใช้มดเป็นดัชน ีความหลาก หลายทางชีวภาพ ได้เน้นในเรื่องของการพัฒนาวิธีการตรวจนับและการวัดความหลากหลายทาง ชีวภาพโดยใช้มดเป็นดัชนี ใช้พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสถานที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมสภาพป่าต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ป่าดิบเขา และป่าพื้นที่เกษตรนิเวศ วิธีการสุ่มตรวจนับความหลากหลายของมดที่ทำการศึกษามี 3 วิธีการ 2 ใน 3 วิธีการเป็นวิธีสุ่ม แบบเทียบเคียง คือ การสุ่มแบบใช้หลุมดัก และสุ่มแบบใช้เหยื่อดัก ส่วน 1 ใน 3 ว ิธี เป็นการสุ่มแบบสมบูรณ์แบบ คือ การใช้วิธีเก็บด้วยมือ จากข้อมูลของการสุ่มจะนำมาหาความเชื่อมั่น และประสิทธิภาพของการสุ่ม โดยใช้ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างแต่ละวิธีการ และจะพัฒนาวิธีการตรวจนับและวัดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศของป่า หลายประเภาต่อไป

คณะผู้วิจัย อุดมลักษณ์ หนูล้อมทรัพย์, อวบ สารถ้อย, ณิศ กีร์ติบุตร, ฉวีวรรณ หุตะเจริญ Chris Dickinson

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น