++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

สมพงศ์ และคณะ (2528) ได้ศึกษา บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย โดยเก็บเลือดจาก peripheral blood เส้นเลือดแดงที่นำปสู่ม้าม (splenic artery) และเส้นเลือดแดงที่ออกจากม้าม (splenic vein) มาศึกษาลักษณะรูปร่างของเม็ดเลือดแดงและนับเป็นเปอร์เซ็นต์โดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (Scanning Electron microscope, SEM) รวมทั้งศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อของม้ามด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบลำแสงผ่าน (Transmission Electronmicroscope, TEM) และ SEM การศึกษาครั้งนี้กระทำในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดต่างๆกัน 12 คน ซึ่งมีอาการ hypersplanism แ ละ ได้รับการรักษาโดยการตัดม้ามขณะกำลังศึกษา ผลจากการศึกษาสรุปได้ว่า ม้ามนอกจากทำลายเม็ดเลือดที่ผิดปกติแล้ว ยังทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงผิดปกติบางชนิด โดยเฉพาะกลุ่มเม็ดเลือดแดงผิดปกติที่เกิดจากกระบวนการแตกตัวของเซลล์เม็ด เลือดแดงกลุ่มนี้ ได้แก่ decrycocyte keratocyte และ schizocyte จ าก การศึกษาพบว่า เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากกระบวนการแตกตัวของเซลล์ ในเส้นเลือดดำที่ออกจากม้ามสูงขึ้นเมื่อขนาดของม้ามโต ซึ่งหมายถึงระบบการหมุนเวียนเลือดเป็นไปในทางระบบเปิดในม้ามของผู้ป่วย ธาลัสซีเมีย นอกจากม้ามแล้วอาจสันนิษฐานได้ว่า ตับก็มีส่วนช่วยทำลายเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติด้วย

สมพงศ์ สหพงศ์, สุภาพร สุวิวัฒน์, สุทัศน์ พูเจริญ, อานนท์ บุณยะรัตเวช, และ เกลียวพันธ์ เถลิงผล (2528) บทบาทของม้ามในการกำจัดเม็ดเลือดแดงผิดปกติของผู้ป่วยธาลัสซีเมีย ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น