งานวิจัยนี้ ศึกษาทัศนคติของกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง (ชายนักเที่ยว,หญิงอาชีพพิเศษ, ชายรักร่วมเพศ) ต่อการใช้ความน่ากลัวในภาพยนตร์โฆษณาต่อต้านโรคเอดส์
ผลการวิจัยพบว่า
– ก ลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า สื่อที่ใช้ระดับความน่ากลัวสูง จะมีประสิทธิภาพมากกว่าสื่อที่ใช้ความน่ากลัวระดับปานกลางและต่ำ ถึงแม้จะไม่สามารถหยุดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศได้ แต่ก็มีแนวโน้มทำให้เกิดพฤติกรรมป้องกันเพิ่มมากขึ้น
- ก ลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ควรใช้ความน่ากลัวในด้านข้อเท็จจริงเรื่องโรคเอดส์ซึ่งอาจเป็นข้อมูลวิชาการ มาใช้ในการรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ภาพประกอบที่แสดงถึงความน่ากลัวของโรค
– กลุ่มตัวอย่างเสนอแนะว่า ใ นอนาคต น่าจะมีสื่อเอดส์ที่นำเสนอให้ประชาชนได้มีความเอื้ออาทรหรือยอมรับให้ผู้ติด เชื้อสามารถดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
– ผ ู้เชี่ยวชาญเห็นว่า การใช้ความน่ากลัวในสื่อเอดส์จะมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะผู้ติดเชื้อจะไม่ได้รับการยอมรับในสังคม แต่ถ้าใช้ความน่ากลัวในระดับต่ำ สื่อก็จะมีประสิทธิภาพได้
ผู้วิจัย – วีนัส เจิดจรรยาพงศ์ 2541
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น