++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

ยับยั้งโรคกุ้งด้วยสมุนไพรไทย เร่งศึกษาลดปัญหากีดกันการค้า

จนถึงขณะนี้ กุ้งกุลาดำ ของไทยเราก็ยังถูกกีดกัน จากประเทศคู่ค้าไม่เลิก และดูจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวด กับข้อกำหนดการปนเปื้อน ของยาปฏิชีวนะ ในกุ้งกุลาดำเข้าไปอีก ส่งผลให้เกิดการชะลอ ทางด้านการผลิต และการตลาดส่งออกอย่างรุนแรง

ส าเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สหภาพยุโรป (อียู) กีดกันกุ้งไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการจัดการฟาร์มที่ไม่เหมาะสม เกษตรกรยังเคยชินกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงกุ้ง ไม่มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง การขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ ลูกกุ้งขาดคุณภาพ กุ้งแคระแกร็น ต้นทุนการผลิตสูง ราคากุ้งตกต่ำ ฯลฯ

จ ากปัญหารุมเล้าดังกล่าวข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงได้ให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งของป ระเทศไทย ทั้งระบบและครบวงจร ในปีงบประมาณ 2546 โดยมีโครงการวิจัยทั้งหมด 7 ชุดโครงการ

ผลของสมุนไพรไทย 3 ชนิด ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรค การเจริญเติบโต อัตรารอด สุขภาพกุ้ง และความต้านทานโรคในกุ้งกุลาดำ เป็นหัวข้อหนึ่งภายใต้ชุดโครงการวิจัย อาหารกุ้งกุลาดำเพื่อนำไปสู่การผลิตกุ้งปลอดภัย ปลอดสารพิษและเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี ดร.มะลิ บุณยรัตผลิน เป็นหัวหน้าชุดโครงการวิจัย

ดร.มะลิ กล่าวว่า จากการตรวจพบสารตกค้างปฏิชีวนะ ของสหภาพยุโรปในกุ้งกุลาดำของไทย และสหภาพยุโรปได้ใช้ประเด็นนี้กีดกันกุ้งไทยมาตลอดจนถึงขณะนี้ ส่งผลให้ราคากุ้งดำดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรต้องดิ้นรนหาวิธีเพื่อลดต้นทุน และลดปัญหาสารตกค้างในกุ้งไปในเวลาเดียวกัน

ปัจจุ บันจึงมีเกษตรกรหันมาใช้สมุนไพรเลี้ยงกุ้งมากขึ้น แต่การนำสมุนไพรมาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยังขาดข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ สนับสนุนในเรื่องประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพของสมุนไพร ตลอดจนคุณภาพของสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหรือปริมาณความคงที่ของสารสำคัญ

เ พื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำสมุนไพรมาใช้แทนยาปฏิชีวนะและสารเคมี จึงได้ศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรไทย 3 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร และพญาปล้องทอง ต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรค การเจริญเติบโต อัตรารอด การตอบสนองภูมิคุ้มกัน และความต้านทานต่อโรคเชื้อ Vibrio harveyi และเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ในกุ้งกุลาดำ โดยใช้สมุนไพรในรูปของสารสกัด

จากการวิเคราะห์คุ ณภาพและหาปริมาณสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด พบว่า สามารถใช้แอลกอฮอล์สกัดสารจากสมุนไพรได้ทั้ง 3 ชนิด โดยยังคงปริมาณและคุณภาพสารสำคัญไว้ และยังง่ายต่อการควบคุมปริมาณการใช้ อีกทั้งสารสกัดดังกล่าวยังคงคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Vibrio spp ในโรคกุ้งได้ โดยสารสกัดขมิ้นชันมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวนอกตัวกุ้งได้ดีที่สุด

น อกจากนั้น เมื่อนำสารสกัดสมุนไพร ที่ได้มาผสมอาหาร ให้กุ้งกุลาดำ ในระดับความเข้มข้นไม่เกิน 25 มก./กก. (0.025%) พบว่า ขมิ้นชันทำให้กุ้งมีประสิทธิภาพ ในการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสได้มากขึ้น ในขณะที่กุ้งมีประสิทธิภาพ ในการต่อต้านเชื้อไวรัส WSSV ได้ดีขึ้น

จากผลการศึกษาที่ได้นี้ก็จะเป็นปร ะโยชน์อย่างมาก ต่อแนวทางในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อนำสมุนไพรไทยไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมโรคติดเชื้อ แทนการใช้สารปฏิชีวนะได้ในอนาคต

ถึงเวลานั้น ดูซิ...พวกอียูจะงัดเอาเรื่องอะไรมากีดกันกุ้งไทยอีก !!!

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น