++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อัปปมัญญา

อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมชาติที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้
ไม่จากัด ผู้ที่เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น
จะต้องมีการแผ่ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจากัดจึงจะ เรียกว่า
เป็นการแผ่เมตตาอัปปมัญญา กรุณาอัปปมัญญา มุทิตาอัปปมัญญา
อุเบกขาอัปปมัญญา สาหรับการแผ่โดยเฉพาะเจาะจง
ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน ฉะนั้นเมื่อจะเจริญเมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา ชนิดที่เป็นอัปปมัญญาได้นั้น
ต้องเป็นชนิดทาลายขอบเขตไม่ให้มีจากัดอยู่เฉพาะแต่ในบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง
อัปปมัญญา ก็ได้ชื่อว่าพรหมวิหารด้วย เพราะว่า
ผู้ที่ปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นย่อมมีจิตเสมือนพรหม
คือมีความดีในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ได้อย่างไม่มีประมาณ

วิธีการปฏิบัติเมตตาอัปปมัญญา ในเบื้องต้นต้องตัดปลิโพธ คือ เครื่องกังวล
๑๐ ประการ เลือกสิ่งสัปปายะ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอสัปปายะ
แล้วเริ่มต้นโดยการพิจารณาโทษของความโกรธและอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธก่อนเป็นลำดับแรก
๑. พิจารณาโทษของความโกรธ และอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธ
๑.๑ เหตุใดจึงต้องพิจารณาโทษของความโกรธ ?
เพราะการเจริญเมตตาอัปปมัญญานี้
มีความประสงค์เพื่อจะสลัดทิ้งความโกรธและให้บรรลุถึง ขันติคุณ
ซึ่งเป็นเป้าหมายสาคัญ
ถ้าผู้ตั้งใจปฏิบัติเจริญเมตตาแล้วยังมีความโกรธความขัดเคืองใจ
เมตตาจิตก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ๑.๒
แล้วจะพิจารณาโทษของความโกรธได้อย่างไร ? ข้ออุปมาโทษของความโกรธ
มีดังนี้ ๑.๒.๑ เมื่อเราโกรธ ริษยา อาฆาต พยาบาท ตระหนี่ หวงแหน
และขัดเคืองใจ เราก็เปรียบเสมือนบุคคลผู้ต้องการอาบน้าและไปเอาน้าโสโครกมาชาระกาย
ยังแต่จะนาความสกปรกมาสู่ตน ๑.๒.๒ เมื่อเราเป็นผู้รักษาศีล
แล้วยังแสดงความโกรธให้ประจักษ์แก่สายตาบุคคลอื่น
เราก็อาจถูกตาหนิติเตียน อาจไม่ได้รับความเคารพจากบุคคลที่เคยเคารพ
เพราะการแสดงออกซึ่งความโกรธนั้น
๑.๓ แล้วจะพิจารณาอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธอย่างไร ? มีข้ออุปมาดังนี้
๑.๓.๑ ความอดทนคือพลัง ความอดทนเป็นดุจเกราะ ย่อมคุ้มครองร่างกายได้ดี
การกาจัดความโกรธความขัดเคืองจึงได้ชื่อว่าเป็นเกราะเป็นธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ
๑.๓.๒ ขันตินี้เป็นธรรมที่พระอรหันต์ทั้งหลายปฏิบัติ เพราะฉะนั้น
เราจะไม่ยอมให้ความโกรธเหลืออยู่ในจิตของเรา เราได้ชื่อว่าเป็นสาวก
เราจะให้บุคคลอื่นเรียกว่าสาวกตามความเป็นจริง เรามีศรัทธา
ขันตินี้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาในตัวเรา เรามีความรู้
ขันตินี้เป็นพรมแดนแห่งความรู้ในตัวเรา ถ้ามียาพิษ คือ
ความโกรธและขัดเคืองใจอยู่ในตัวเรา
ขันตินี้ก็เป็นยาแก้พิษที่จะต่อต้านยาพิษในตัวเรา
ความโกรธของแต่ละบุคคลมีมากน้อยต่างกัน
บุคคลผู้ผูกโกรธจะเก็บความโกรธไว้นานมากน้อย ต่างกัน อุปมา เช่น
ความโกรธของบางบุคคลเหมือนรอยขีดในน้้า คือ โกรธง่ายหายเร็ว
ความโกรธบางบุคคลเหมือนรอยขีดบนดิน เมื่อลมพัดก็ลบรอยขีดหายไป
ความโกรธบางบุคคลเหมือนรอยขีดบนหินก็ยังคงอยู่ไม่ลบเลือน

อุบายวิธี ๑๒ อย่างสาหรับกาจัดความโกรธ
๑. แบ่งปันให้ประโยชน์ ให้ทานแก่คนที่ตนโกรธ เกลียด
๒. คิดถึงความดีของเขา
๓. มีความปรารถนาดีต่อเขา
๔. พิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
๕. พิจารณาว่าเป็นการใช้หนี้กรรม
๖. พิจารณาโดยความเป็นญาติ
๗. พิจารณาตนเอง
๘. พิจารณาว่าความโกรธเป็นกิเลส
๙. พิจารณาโดยความเป็นธรรมชาติ
๑๐. พิจารณาโดยความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย
๑๑. พิจารณาโดยความเป็นขันธ์
๑๒. พิจารณาโดยความเป็นสุญญตา

๑. แบ่งปันให้ประโยชน์ ให้ทานแก่คนที่ตนโกรธ เกลียด แม้จะเกลียดจะโกรธ
หากอีกฝ่ายหนึ่งขอก็ควรให้ หรือหากเขาให้เราก็ควรรับไมตรีของเขา
ในการพูดก็ควรใช้คาพูดที่ดี เช่นเดียวกับที่พูดกับคนที่ไม่ได้โกรธกัน
อย่างนี้ย่อมช่วยดับความโกรธได้
๒. คิดถึงความดีของเขา บุคคลควรมองเห็นความดีของผู้อื่น
ทุกบุคคลย่อมมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ขอให้คิดถึงส่วนดีของเขา
จิตใจเราก็จะไม่เศร้าหมองและสามารถแผ่เมตตาให้กับเขาได้
๓. มีความปรารถนาดีต่อเขา ควรเปลี่ยนความโกรธให้กลับเป็นความปรารถนาดีต่อกัน
๔. พิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
ถ้าเราโกรธเขาเท่ากับเราทากรรมชั่ว กรรมชั่วนั้นเราเองจะต้องได้รับผล
เช่น ตกนรก หรือชาติหน้าเกิดมาจะมีผิวพรรณทราม เป็นต้น
๕. พิจารณาว่าเป็นการใช้หนี้กรรม
ที่เขาโกรธหรือทาไม่ดีต่อเราให้ถือว่าเราเคยทาไม่ดีกับเขามาในอดีต
มาถึงเวลานี้ก็ควรชดใช้ให้เขาเสีย
๖. พิจารณาโดยความเป็นญาติ สัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นญาติกันทั้งสิ้น
เพราะสังสารวัฏนี้ยาวนาน ไม่มีใครไม่เคยเกิดเป็น บิดา มารดา พี่น้อง
เพื่อนฝูง หรือเครือญาติกัน
การที่เราโกรธผู้อื่นก็เท่ากับเราโกรธญาติของเราเอง
๗. พิจารณาตนเอง หาความผิดของตนเอง ว่าที่เขาโกรธนั้น
อาจเป็นความผิดของเราเอง เป็นการพิจารณาหาเหตุก่อน
แทนที่จะไปโกรธหรือเพ่งโทษเขา
๘. พิจารณาว่าความโกรธเป็นกิเลส หากเราโกรธเท่ากับปล่อยให้กิเลสครอบงา
๙. พิจารณาโดยความเป็นธรรมชาติ การประสบสิ่งที่ชอบใจหรือสิ่งที่ไม่ชอบใจ
เป็นโลกธรรม เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเราโกรธเท่ากับเราขาดสติ
๑๐. พิจารณาโดยความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย
จิตของเขาก็เกิดดับอยู่ตลอด เวลา ถ้าเราโกรธเขา เราโกรธจิตดวงใดของเขา
เพราะจิตของเขาที่เราโกรธก็ดับไปแล้ว
และเกิดจิตดวงใหม่และดับไปนับไม่ถ้วน เช่นนี้แล้วเราจะโกรธอะไร
๑๑. พิจารณาโดยความเป็นขันธ์ ร่างกายขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้งของความทุกข์
เราโกรธขันธ์ ๕ ทาไม โกรธส่วนใดของขันธ์ ๕
๑๒. พิจารณาโดยความเป็นสุญญตา เราไม่อาจกล่าวว่าเราโกรธเขา
เพราะที่จริงแล้วไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ให้โกรธเลย ไม่มีนาย ก.
นาย ข. ทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น