++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

“สุเมธ” ย้ำคนไทยชอบฟัง “ในหลวง” ตรัส แต่ไม่นำไปปฏิบัติ-เข้าใจผิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ใช้กับคนจน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2553 14:13 น.

วันนี้ (1 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร และ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เดินทางมาปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นที่ฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” ในงานฉลองครบรอบ 24 ปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีพระสงฆ์ คณาจารย์ และ นักศึกษา เข้ารับฟังกว่า 80 คน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร และ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวบรรยายตอนหนึ่ง ว่า เมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำทั่วประเทศและการดำเนินการของสถาบันสารสนเทศฯ ซึ่งน้ำปีนี้แย่มากๆ น้ำในอ่างเก็บน้ำจากที่เคยเก็บสถิติว่าน้ำเหลือน้อยที่สุด

แต่ในปีนี้น้ำเหลือแค่ครึ่งหนึ่งของที่เคยเหลือน้อย ฝนที่ตกลงมาก็ไม่ตกในพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่จะไปตกในกรุงเทพฯ ในตัวเมือง หรือพื้นที่ใต้เขื่อน จึงทำให้ปีนี้น้ำแล้งมาก คนไทยเราชอบฟังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ไม่เคยนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เขาบอกว่า คนไทยชอบฟัง แต่ไม่ชอบทำตาม พระองค์ท่านพูดเรื่องบริหารจัดการน้ำให้ฟังนาน 3 ชั่วโมง แต่เราก็ไม่เคยน้ำมาปฏิบัติกันเลย

สำหรับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนั้น หลายคนคิดว่า ความ พอเพียงจะใช้ได้สำหรับคนจน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นธรรมะ และหลักเศรษฐศาสตร์ไปพร้อมกัน คือ ใช้ได้กับทุกเรื่องใช้ได้กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ใช้ได้กับทุกองค์กร ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างปูนซีเมนต์ไทย ประสบความสำเร็จในการนำหลักพอเพียงไปใช้ ซึ่งบริษัทนี้มีเงินหมุนเวียนกว่า 3,000 ล้านบาท

ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องของคนจน แต่การนำมาใช้ต้องปรับให้ถูกกับตัวเอง เพราะทุกคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งต่างกันทั้งสิ่งแวดล้อม ต่างกันทั้งสถานะทางสังคม ฐานะการเงิน และต่างกันทั้งอายุ ฉะนั้นการนำความพอเพียงมาใช้สำหรับตัวเองต้องใช้ให้ถูก เช่น ตัวผมกับคณาจารย์ และนักศึกษาก็มีความแตกต่างกันทั้งอายุสถานะ และการเงิน ฉะนั้น ต้องประมาณตัวเองให้ได้ ว่าเราเป็นอย่างไรและควรดำเนินชีวิตอย่างไร

ดร.สุเมธ กล่าวต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงตรัสไว้ว่า การที่จะนำความสุขมาสู่ชีวิตและสังคมด้วยความพอเพียง นั้น เราต้องยึดหลักธรรมะ 3 ประการ คือ 1.ความพอประมาณ ทำอะไรอย่าทำเกินตัว ให้มีความพอดี 2.มีเหตุผล การจะลงมือทำอะไรต้องมีเหตุมีผลอธิบายได้ และ 3.มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นั่นคือ ทางสายกลาง ที่สามารถนำพาชีวิตเราให้ดำเนินอยู่ได้อย่างมีความสุข ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปใช้กับการบริหารประเทศ, บริหารองค์กร และ บริหารตัวบุคคลได้

การบริหารท้องถิ่นด้วยหลักพอเพียงนั้น สิ่งสำคัญ คือ เราต้องรู้ “ภูมิสังคม” ของแต่ละพื้นที่ การจะกำหนดนโยบายอะไรออกมาต้องรู้ลักษณะของแต่ละท้องถิ่นอย่างชัดเจน เพราะนโยบายเดียวไม่สามารถใช้ได้กับทุกพื้นที่ สำหรับ “ภูมิ” นั้นหมายถึงภูมิประเทศ คือ ดินน้ำลมไฟ ในแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน

เช่น ภาคเหนือภูมิประเทศก็ไม่เหมือนภาคใต้ และไม่เหมือนภาคกลาง หรือภาคอีสาน ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาภัยแล้งจะบอกให้ชาวบ้านหยุดทำนาปรัง หยุดปลูกพืช เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะนั่นคือวิถีชีวิตของเขา เพียงแต่ว่าเราจะบริหารจัดการน้ำกันอย่างไรเพื่อให้ใช้ได้อย่างเพียงพอเป็น เรื่องที่จะต้องคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น