++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กก.มาบตาพุดวอน “มาร์ค” ทวนข้อเสนอ 18 กิจการรุนแรง เสนอเอ็นจีโอหอบข้อมูลสุขภาพฟ้อง

กรรมการ 4 ฝ่ายมาบตาพุด วอน นายกฯ กล้าตัดสินใจ ทบทวน ข้อเสนอ 18 ประเภทกิจการรุนแรง ชี้ ศึกษานาน 8 เดือน ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย แนะ ใช้กลไก คกก.สุขภาพแห่งชาติ ยุติปัญหา เสนอ ภาคประชาชน หอบข้อมูลสุขภาพ ฟ้องนายกฯ อนาคตชาวมาบตาพุด โรคเรื้อรังรุม เบาหวาน ความดัน หัวใจ เหตุทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธาน อนุกรรมการด้านสุขภาพของคณะกรรมการสี่ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด กล่าวว่า ได้เสนอแนะให้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ยื่นข้อเสนอถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พิจารณาทบทวนข้อเสนอ 18 ประเภทโครงการกิจการที่อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและสุขภาพ ตามที่คณะกรรมการสี่ฝ่ายได้ใช้เวลาถึง 8 เดือนในการศึกษาและรับฟังความเห็น จากทั้งนักวิชาการ และประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีจะได้นำมติจากทั้งคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและจากคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติรวมกันพิจารณาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมต่อไป

“การ อาศัยอำนาจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติออกประกาศเพียง 11 ประเภทโครงการกิจการที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรง โดยขาดการพิจารณาผลกระทบด้านสุขภาพที่เพียงพอจะทำให้ปัญหามาบตาพุดขยายบาน ปลายออกไปทั่วประเทศ เพราะปัญหามลภาวะจากอุตสาหกรรมเป็นปัญหาของประเทศชาติ ชุมชนรอบบริเวณโรงงานและผู้ใช้แรงงานได้สูญเสียชีวิต เจ็บป่วย พิการ อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่เงินกำไรจำนวนมากกับอยู่ในมือของบรรษัทข้ามชาติที่ไม่รับผิดชอบต่อ สังคม” นพ.ชูชัย กล่าว

นพ.ชูชัย กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา มีนักวิชาการของไทยได้ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจำนวนมากโดยเฉพาะผลการศึกษาทาง ระบาดวิทยา ที่ศึกษาพื้นที่รอบมาบตาพุดในรัศมี 10 กิโลเมตร พบว่า ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ในประเทศ ทารกน้ำหนักน้อยจะส่งผลให้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะมีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรค เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจได้ จึงขอเสนอให้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกนำหลักฐานเหล่านี้ยื่นต่อนายก รัฐมนตรีและศาลปกครองด้วย ศาลปกครองอาจเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน หากรัฐบาลขาดภาวะการนำในการปรับเปลี่ยนทิศทางในการพัฒนาประเทศ ตนจึงขอให้นายกฯ ตัดสินใจเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด

นพ.ชูชัย กล่าวอีกว่า จากการรับฟังความเห็นจากผู้นำชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบและทำให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยต้องการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางของประเทศ ต้อง การเห็นภาคอุตสาหกรรมที่พัฒนาจากฐานทรัพยากรธรรมชาติของไทย และพัฒนาจากฐานวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไม่ทำลายชุมชน ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะนี้มีเครือข่ายของชุมชนท้องถิ่นเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ เพื่อปกป้องคุ้มครองฐานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและชุมชน หากผู้มีอำนาจรัฐหรืออำนาจทุนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาค ประชาชน จะส่งผลให้เกิดความรุนแรงทั่วประเทศได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น