++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

3 วิธีเลิกหัวใจวาย เมื่อเห็น "บิลค่าโทรศัพท์"

ในชั่วโมงที่สมาร์ทโฟนกำลังผุดขึ้นราว กับดอกเห็ด เชื่อว่าผู้ใช้งานมือใหม่และมือเก่าหลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ Bill Shock หรืออาการตกตะลึงเมื่อพบกับยอดค่าใช้บริการโทรศัพท์ในใบแจ้งหนี้รายเดือนที่ สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะยอดการใช้งานข้อมูลหรือดาต้าที่มากกว่าการใช้งานจริง

ก่อนจะไปรับรู้ 3 วิธีปฏิบัติตัวเพื่อเลี่ยงวิกฤต Bill Shock คุณควรรู้ว่าปัจจัยของปัญหานี้เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่ที่หนีไม่พ้นคงเป็นเรื่องของการเปิดใช้งานแอปพลิเคชันจำพวกเครือข่าย สังคม, อีเมล์, โปรแกรมแผนที่ ที่ต้องมีการอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา

จุดนี้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักเผลอเปลี่ยนไปใช้งานโปรแกรมอื่นทันที เมื่อเลิกใช้งานแอปออนไลน์เหล่านี้ โดยที่ไม่ปิดโปรแกรมให้เรียบร้อยก่อน ปัญหาที่ตามมาก็คือสมาร์ทโฟนคู่ใจยังเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว

ปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ เมื่อผู้ใช้งานจำเป็นต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ มักจะเผลอลืมปิดโทรศัพท์มือถือของตน เมื่อเดินทางไปถึงที่หมาย ปรากฏว่าระบบทำการค้นหาและเชื่อมต่อสัญญาณ EDGE/GPRS/3G อัตโนมัติ ซึ่งอัตราค่าบริการโรมมิงในต่างประเทศ หรือบริการข้ามแดนอัตโนมัตินั้นมีราคาค่อนข้างสูงอย่างที่คนไทยรู้กันดี

วันนี้ ทีมงานไซเบอร์บิส ขอนำเสนอวิธีการป้องกันปัญหา Bill Shock ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนทุกคนควรรู้ เผื่อว่ามีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ จะได้ใช้เงินในกระเป๋าอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่าต้องเหลือเงินเก็บมาจ่ายค่ารักษาอาการดังกล่าว

**3 ขั้นตอนกัน Biil Shock เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ**

ก่อนออกเดินทาง - ผู้ใช้งานควรศึกษารายละเอียด และวิธีการควบคุมการใช้งานต่างๆ ของโทรศัพท์มือถืออย่างละเอียด รวมถึงโทรศัพท์ไปสอบถามคอลล์ เซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่คุณใช้งานอยู่เพื่อให้ทราบ ถึงอัตราค่าบริการใช้งานในต่างประเทศ, โปรโมชันที่มีอยู่, วิธีเช็คยอดค่าใช้บริการด้วยตัวเองบนมือถือ, วิธีการปิด และระงับการเชื่อมต่อ Data Roaming ด้วยตนเอง

ขณะเดินทาง - ควรปิดดาต้า โรมมิงไว้ และเปิดเมื่อต้องการใช้งานเท่าทีจำเป็นเท่านั้น โดยผู้ใช้งานไม่ควรใช้ซิมการ์ดร่วมกับแอร์การ์ดเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ในต่างประเทศ เพราะจะถูกคิดค่าบริการในอัตราโรมมิ่ง

ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ต ควรเลือกใช้ไว-ไฟของผู้ให้บริการท้องถิ่น ซึ่งอาจเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยเฉพาะกรณีดาวน์โหลดไฟล์, เข้าเว็บไซต์ และรับส่งอีเมล์ที่มีไฟล์ขนาดใหญ่

เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย - ให้ทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงของการเดินทาง ผ่านใบแจ้งค่าบริการเพื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานจริง หรือถ้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมให้ติดต่อคอลล์ เซ็นเตอร์ทันที

** หลายยี่ห้อ หลายวิธี **

"Bill Shock" นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับสมาร์ทโฟนเกือบทุกรุ่น เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วสมาร์ทโฟนจะมีฟีเจอร์ "Always On" connection ซึ่งจะทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายข้อมูลผู้ให้บริการเครือข่าย ตลอดเวลา

ผู้ ใช้งานสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าด้านบนสุดของหน้าจอโทรศัพท์ของคุณมีเครื่องหมาย E หรือ EDGE นั่นแปลว่าโทรศัพท์ของคุณกำลังเชื่อมต่อข้อมูลอยู่ โดยผู้ใช้สามารถปิดบริการได้ด้วยตัวเอง โดยตั้งค่าตามวิธีด้านล่างนี้

* ไอโฟน (iPhone) ให้เข้าไปที่ Setting > General > Network > Data Roaming เลือก Off

* แบล็กเบอรี (BlackBerry) ให้เข้าไปที่ Option > Mobile Network > Data Services เลือก Off when roaming

* แอนดรอยด์ โฟน (Andriod Phone) ให้เข้าไปที่ Settings > Wireless & Networks > Mobile Networks > Select the Data Roaming check box

แต่ถึงกระนั้น การตั้งค่าบนสมาร์ทโฟนอาจไม่สามารถระงับการเชื่อมต่อข้อมูลได้ทั้งหมด เนื่องจากแอปพลิเคชันจำพวกอีเมลล์, เฟสบุ๊ก, ทวิตเตอร์, โปรแกรมแผนที่ หรือพยากรณ์อากาศ จะทำการอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา แม้จะปิดการเชื่อมต่อไปแล้วก็ตาม

ดังนั้น ใน กรณีที่ผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ต ให้ลองเลือกใช้แพคเกจการใช้งานดาต้าที่เหมาะสม ทั้งแพคเกจในและต่างประเทศ แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เลย ให้ผู้ใช้งานโทรไปปิดบริการโรมมิ่งกับคอลล์เซ็นเตอร์ (เอไอเอส กด 1175, ดีแทค กด 1678 และ ทรูมูฟ กด 1331)

นอกจากนี้ผู้ใช้บริการยังสามารถระงับการเชื่อมต่อ 3G, EDGE และ GPRS กับทางระบบที่ใช้งานได้ด้วยตัวเอง สำหรับดีแทค กด *124*3#, ทรูมูฟ กด *9399 กด 5 กด 3 และเอไอเอสกด *129*1# โทรออก

** Biil Shock อย่าช็อคเพลิน **

เมื่อเกิดปัญหาค่าใช้จ่ายในส่วนของ ดาต้า โรมมิงขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำคือการติดต่อกับโอเปอเรเตอร์ เพื่ออธิบายถึงปัญหาการใช้งานที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ทางโอเปอเรเตอร์ลดหย่อนค่าใช้จ่าย ในกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดในการใช้งาน

ซึ่งทางเอไอเอสให้ข้อมูลว่า ส่วนใหญ่ปัญหาเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของลูกค้า ดังนั้นโอเปอเรเตอร์ จึงดูแลโดยให้คำแนะนำในการเลือกแพ็คเกจที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออกไปได้

แต่ทั้งนี้ทางโอเปอเรเตอร์เอง ไม่สามารถยกเลิกการเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากในการใช้งานโรมมิงข้อมูล จะเกิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อข้อมูลกับโอเปอเรเตอร์นั้นๆ เมื่อถึงเวลาทางโอเปอเรเตอร์ในต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวมา ยังโอเปอเรเตอร์ในประเทศจากการใช้งานดังกล่าว

ถึง นาทีนี้ เชื่อว่าเม็ดเงินที่ผู้ใช้ชาวไทยต้องเสียไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นคาดว่า มีมูลค่ามหาศาล แม้จะไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดสามารถให้รายละเอียดสถิติปัญหาที่เกิดขึ้น ฉะนั้นเมื่อไม่มีใครให้ความคุ้มครองเรื่องนี้ได้ ทางที่ดีที่สุดที่เราในฐานะผู้บริโภคจะทำได้ ก็คือการคุ้มครองตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น