นัก วิชาการ เตือน คกก.สิ่งแวดล้อมฯ ออกประกาศ 11 กิจการอุตสาหกรรม ไม่ผ่านความเห็นคนในพื้นที่ ส่อขัด รธน.อาจถูกเอ็นจีโอฟ้องได้ จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา ก่อนมลพิษท่วมระยอง เผยสถิติใหม่ ชาวระยองคว้าป่วยมะเร็งอันดับ 1 ของไทย ชี้ พบสารก่อมะเร็งสูงต่อเนื่อง หอยแมลงภู่ กบ โดนด้วยดีเอ็นเอเปลี่ยน
รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล กรรมการ สี่ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติที่จะออกประกาศประเภทอุตสาหกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน 11 ประเภท ลดลงจากข้อเสนอของคณะกรรมการ 4 ฝ่ายฯ ได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ที่เสนอไว้ 18 ประเภท ว่า ในรัฐธรรมนูญไทย ที่ไม่มีมาตราใดบัญญัติให้อำนาจหน่วยงานของรัฐ ประกาศประเภทโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนได้ โดยที่ไม่ผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ และหากภาครัฐไม่เร่งรีบแก้ไข อาจสุ่มเสี่ยงต่อการถูกประชาชนฟ้องศาลปกครองตามวรรค 3 ของมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญไทยได้ ซึ่งการออกประกาศประเภทอุตสาหกรรมฯ เป็นประกาศที่บังคับใช้ทั่วประเทศ เป็นการพิจารณาในภาพรวม จึงไม่สามารถนำมาใช้กับโครงการที่จะสร้างในเขตควบคุมมลพิษใน จ.ระยอง ได้ทั้งหมด
“การ พิจารณาอนุมัติให้โครงการในมาบตาพุดที่กำลังทำศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน (E/HIA) เพื่อยื่นขออนุมัติจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ อยู่ในขณะนี้ ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของรายงานผลการศึกษา E/HIA ให้มาก โดยต้องทำให้ครบถ้วนตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบต่อประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพที่ชัดเจน” รศ.ดร.เรณู กล่าว
รศ.ดร.เรณู กล่าวต่อว่า การที่ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประกาศพื้นที่ 6 แห่งใน จ.ระยอง เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพราะศาลได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงแล้วว่ามีสารพิษและมลพิษ จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน ซึ่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลสถิติมะเร็งของประเทศ พบว่า จ.ระยอง มีสถิติมะเร็งเป็นอันดับ 1 ของประเทศ สะท้อนให้เห็นว่า สารพิษที่มีฤทธิ์ทำลายสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ยังมีอยู่มากในมาบตาพุดและพื้นที่อุตสาหกรรมใน จ.ระยอง
รศ.ดร.เรณู กล่าวอีกว่า ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ รายงานว่า พบสารก่อมะเร็งในอากาศสูงเกินมาตรฐาน ตั้งแต่ปี 2548-จนถึงปัจจุบัน เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) 1, 3-บิวทาไดอีน, เบนซีน และ 1, 2- ไดคลอโรอีทเธน ส่วนในน้ำทะเลและตะกอนดินใต้ท้องทะเลพบโลหะหนัก เช่น สารหนู แคดเมียม และปรอท สูงเกินมาตรฐาน สิ่งที่บ่งชี้ถึงอันตรายจากสุขภาพชัดเจน คือ ตรวจพบโลหะหนักในบ่อน้ำตื้นร้อยละ 50 และตรวจพบสารอินทรีย์ระเหยง่าย ร้อยละ 18 และผลการตรวจสุขภาพประชาชน พบว่า ร้อยละ 34.8 พบโลหะหนักในเลือด และพบอนุพันธ์ของสารเบนซีนร้อยละ 3.67 นอกจากนี้ จากการตรวจหอยแมลงภู่ และกบ ในพื้นที่มาบตาพุดเปรียบเทียบกับแหล่งอ้างอิงอื่น พบว่าหอยแมลงภู่และกบ มีสารพันธุกรรม แตกหักสูงกว่าแหล่งอ้างอิงอื่น 4.85 และร้อยละ 72.24 เท่าตามลำดับ จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงผลกระทบของสารพิษจากอุตสาหกรรมต่อชุมชนอย่างชัดเจน
“ภาครัฐจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับแก้ปัญหาผลกระทบของอุตสาหกรรมมาบตา พุดต่อชุมชน และเร่งแก้ไข บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและจริงจัง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ ที่ถูกกลุ่มอุตสาหกรรมได้ไปกว้านซื้อที่เอาไว้และมีแผนจะก่อสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่นั้น มีความมั่นใจว่า รัฐจะให้ความคุ้มครองประชาชนมากกว่าการลงทุนข้ามชาติ เพราะพวกเขา คือ รัฐเก็่บคุ้มค่า ถึงเวลานั้นค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากรงงานเก่าและขยะสารพิษคงไม่พ้นภาษีของ ราษฎรจะไม่หอบเงินออกนอกประเทศ หลังจากพบว่าคนไทย ที่จะไม่หอบเงินออกนอกประเทศแล้ว ทิ้งซากขยะโรงงานเก่า ที่ซ่อมบำรุงแล้วไม่คุ้มค่า ถึงเวลานั้นค่าใช้จ่ายในการกำจัดซากโรงงานเก่าและขยะสารพิษคงไม่พ้นเงินรัฐ” รศ.ดร.เรณู กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น