เนื่องในวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี เป็นวันป้องกันฆ่าตัวตายโลก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ได้ติดตามในการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและการทำร้ายตนเอง ของประชาชนในจังหวัดแพร่ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 - มิถุนายน 2553 พบมีผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า 2,807 ราย ผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 56 ราย และผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย 84 ราย
เมือง
สูงเม่น
เด่นชัย
ร้องกวาง
สอง
ลอง
วังชิ้น
หนองม่วงไข่
- ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ
14
11
4
4
7
4
11
1
- ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
19
12
9
18
4
8
8
6
นายแพทย์ สุรินทร์ สุมนาพันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแพร่ กล่าวว่าจากสถิติของจังหวัดแพร่ พบผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าในเขตอำเภอเมืองมากที่สุด ผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จพบมากที่สุดที่อำเภอวังชิ้น และผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายพบมากที่สุดที่อำเภอร้องกวาง และองค์การอนามัยโลกแจ้งว่าในปีหนึ่ง ๆ มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 1 คนในทุก ๆ 40 วินาที สำหรับประเทศไทยในแต่ละปี จะมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 4,500-5,000 คน และจังหวัดแพร่ มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อแสนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งจากการติดตามในการเฝ้าระวังผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ พบในเพศชายมากกว่าเพศ หญิง ในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 25-44 ปี มีสถานภาพสมรส และมีอาชีพเกษตรกรรม ในจำนวนนี้มีผู้ที่ฆ่าตัวตายซ้ำจำนวน 5 คน(ร้อยละ 6) จากจำนวนผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายทั้งหมด 84 คน
นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดแพร่ กล่าวต่ออีกว่า สาเหตุของการฆ่าตัวตายในจังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากทะเลาะกับคนใกล้ชิด ผิดหวังในเรื่องความรัก และเหตุจากการหึงหวง วิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุดคือผูกคอตาย รองลงมาคือกินยาฆ่า แมลง ซึ่งผู้ประสบปัญหาที่เป็นสาเหตุให้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย มักมีอาการซึมเศร้านำมาก่อน จึงต้องอาศัยคนใกล้ชิดช่วยคอยสังเกต ติดตามอย่างใกล้ชิดรวมถึงการพยายามพูดคุยให้คำปรึกษาให้กำลังใจ หลีกเลี่ยงการซ้ำเติม เพราะการซ้ำเติมจะยิ่งเป็นการยั่วยุให้ตัดสินใจฆ่าตัวตายมากขึ้น และควรพาไปพบแพทย์หรือพยาบาลทางจิตเวชในทุกโรงพยาบาล
งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น