++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

‘สมัชชาหนู’การปฏิรูประเทศตามแนวรัฐบาลในมุมมองดร.อมร จันทรสมบูรณ์

ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไปอภิปรายเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศให้ สถาบันพระปกเกล้ามาพักใหญ่แล้ว ด้วยถ้อยคำที่ดู “แรง” ทำให้ปรากฏเป็นข่าวฮือฮาในวงเล็ก ๆ อยู่วันเดียวแล้วก็เงียบหายไป เหมือนที่เคยเป็นมาโดยตลอดกับแนวคิดของท่านตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

โดยหลักแล้วท่านเห็นว่าปัญหาวิกฤตของประเทศเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐสภา หรือระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน

ถ้าจะแก้ไขก็มีแต่ต้องทำลายระบอบ/ระบบนั้นในทันที !

ส่วนวิธีการแก้ไขในเบื้องต้นที่ต้องทำทันทีก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตัดบทบัญญัติอย่างน้อย ๆ สองสามประการ คือ (1) บังคับผู้สมัครส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง (2) ให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามคำบงการสามารถพ้นจากตำแหน่ง ได้ (3) ให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส.เท่านั้น จากนั้นขั้นต่อไปก็คือเริ่มกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการ ปฏิรูปการเมือ และการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับผู้ เชี่ยวชาญโดยผ่านระบบการคัดเลือกจากรัฐบุรุษหรือผู้นำ ในความหมายของ Statesman ไม่ใช่ในลักษณะของ “สภา” หรือ “สมัชชา” ที่มีที่มาหลากหลาย ขั้นสุดท้ายเมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำเสร็จพร้อมกันแล้วให้นำมาผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง

ไม่ว่าใครจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างอย่างไรท่านก็ยืนยันของท่านอย่างนี้ มาเกือบ 20 ปีแล้วนับตั้งแต่นำข้อเขียนเรื่อง “รัฐธรรมนูญ : โครงสร้างและกลไกทางกฎหมาย” เสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการที่โรงแรมเอเซีย จัดโดยสถาบันนโยบายศึกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรวมทั้งเขียนบทความต่อเนื่องด้วยตนเองตลอด 2 ปีต่อมา ก่อนจะตกรวบยอดเป็นบทสรุปด้วยการเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” ลงในนสพ.ผู้จัดการรายวันช่วงเดือนเมษายน 2537 และจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสถาบันนโยบายศึกษาในอีก 3 เดือนต่อมา

หนังสือ “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” เดี๋ยวนี้กลายเป็นตำราคลาสสิคไปแล้ว

ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีก็เคยนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของคณะกรรมการพัฒนา ประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อปี 2537 และเป็นรากฐานที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 211 รัฐธรรมนูญ 2534 ในปี 2539 ก่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาในที่สุด แม้นวัตกรรมทางการเมืองหลายอย่างจะมาจากแนวคิดวิชากฎหมายมหาชนยุคใหม่ที่นำ เสนอโดยท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ แต่หลักสำคัญที่สุดสองสามประการที่ผมกล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข ผลที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับนั้นในที่สุดจึงคือการกระชับอำนาจให้กับระบบ เผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน

ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไม่ได้ย่อท้อ หรือเปลี่ยนแปลงความคิด ท่านนำเสนอแนวคิดพื้นฐานของท่านอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งหนึ่ง 2 ศิษย์เอกอย่างท่านอาจารย์สมยศ เชื้อไทยและท่านอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติถึงกับก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่งชื่อ “พรรคทางเลือกที่สาม” ในช่วงปี 2547

ช่วงวิกฤตเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2553 ก่อนจะนองเลือด ท่านก็เสนอทางออกของประเทศไทยอีกครั้งภายใต้แนวคิดพื้นฐานเดิมแต่ประยุกต์ไป ตามสถานการณ์

เมื่อเกิดกระแส “ปฏิรูปประเทศ” ขึ้นควบคู่กันไป ท่านก็ออกมาตอบโจทย์อีกว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง 2 ขั้นตอน

ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไม่เคยเชื่อในรูปแบบสภา รูปแบบสมัชชา แต่จะต้องเป็นเรื่องที่เริ่มต้นโดย Statesman และผู้เชี่ยวชาญ แล้วค่อยมาจบที่ภาคประชาชนในการลงประชามติ จนกระทั่งภาคประชาชนกล่าวหาท่านว่าไม่เห็นพลังของมวลชน ไปเน้นแต่ชนชั้นนำมากเกินไป ท่านก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะเชื่อแนวทางการวิเคราะห์สังคมไทยตามหลักสังคมวิทยาการเมือง

ท่านวิจารณ์แนวทางตั้งสมัชชาไว้ว่าการแก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไม่ได้ อยู่ที่จำนวนของสมัชชา และคาดหมายว่า สิ่งที่คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปจะได้จากสมัชชาทั้ง 14 สมัชชา ก็คือ ความคิดเห็นที่หลากหลาย จนจับสาระและเหตุผลไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะทำให้ข้อเสนอเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร

“และ ในที่สุด ความคิดเห็นที่รวบรวมได้จากสมัชชา 14 ชุดเหล่านี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมกับหมดเงินงบประมาณของแผ่นดินไปแล้ว 600 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลให้มาสำหรับซื้อเวลาเพื่อให้ Elite ของเรา มีอะไรทำให้วุ่น ๆ บ้าง เพื่อที่รัฐบาลจะได้อยู่ในตำแหน่งและแสวงหาประโยชน์ต่อไป ก็คือ รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ ก็แล้วแต่รัฐบาลจะเลือก และพร้อม ๆ กับการเลือกก็คือการคงอยู่ของการคอร์รัปชั่น และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาประเทศเดียวในโลก....

“Elite ที่มีเจตนาดี และมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอสำหรับการปฏิรูปประเทศให้คนไทย ผู้ที่จะปฏิรูปประเทศได้จะต้องเป็นทั้งผู้มีเจตนาดีที่ได้รับการยอมรับจากคน ส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้มีความรู้ และความรอบรู้ พอที่จะวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจกับคนไทย ตลอดจนสามารถชี้นำคนไทย ด้วยเหตุ ด้วยผล และตรรก ให้ไปสู่การปฏิรูปประเทศและ การปฏิรูปการเมืองได้...

“ใครก็ ตามที่คิดจะเขยื้อนภูเขา ผมไม่คิดว่าผู้นั้นจะสามารถเขยื้อนภูเขาได้ ถ้าผู้นั้นยังอยู่ไต้ภูเขาหรือถูกภูเขาทับอยู่ และหนูก็คือหนู ไม่ว่าจะเป็นหนูตัวเดียว หรือหนู in Council...”

ท่านเปรียบเทียบกับนิทานอีสป เรื่องหนูประชุมกันคิดจะเอากระพรวนไปผูกคอแมว แต่หาหนูอาสาไม่ได้สักตัว เพราะรู้ว่าจะต้องตายแน่ ๆ

แต่หนูในนิทานอีสปก็ยังดีกว่าคณะกรรมการปฏิรูปของไทย เพราะหนูยังดีที่รู้ปัญหา ตรงกันข้ามกับคณะกรรมการปฏิรูปของไทยไม่แน่นักว่า

รู้ปัญหาหรือไม่

เป็นคำวิจารณ์ที่แรง !

ผมเองเห็นด้วย แต่ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เพราะยังเชื่อว่าท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และคุณอานันท์ ปันายารชุน ไม่ใช่จะยอมมาเป็นเครื่องมือในการซื้อเวลาให้ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง นายทุนอย่างตื้น ๆ โดยไม่มีวาระของตัวเองหรอก ท่านยังมี “อาวุธลับ” ที่รัฐบาลไม่รู้หรือรู้แต่ไม่เชื่อหรือรู้และเชื่อแต่ไม่เป็นไรขอแก้ปัญหา เฉพาะหน้าไปก่อน

นั่นคือการสร้างมวลชนกลุ่มใหม่ขึ้นมาให้เติบใหญ่ในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า หวังผลระยะยาว - ไม่เกิน 10 ปี !

โดยใช้เงินของรัฐกระทำไปในนามของรัฐ !!

บางที อาจจะใช้คำตอบของท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์นั่นแหละ เพียงแต่ผ่านวิธีการตอบในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่รูปแบบคณะกรรมการพิเศษที่อาศัย Statesman มาเป็นรูปแบบสั่งสมพลังมวลชนทีละขั้น ๆ ก็เป็นไปได้

การมีคนตรวจสอบอย่างท่านอาจารย์อมรฯ น่าจะเป็นเรื่องท้าทายของอาจารย์หมอประเวศฯและคุณอานันท์ฯ และนำไปประยุกต์ปรับขบวนให้กระชับ ตรงเป้า และ...

ระดมพลังได้ “หลากหลาย” มากขึ้น !

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 สิงหาคม 2553 16:29 น.
ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไปอภิปรายเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศให้ สถาบันพระปกเกล้ามาพักใหญ่แล้ว ด้วยถ้อยคำที่ดู “แรง” ทำให้ปรากฏเป็นข่าวฮือฮาในวงเล็ก ๆ อยู่วันเดียวแล้วก็เงียบหายไป เหมือนที่เคยเป็นมาโดยตลอดกับแนวคิดของท่านตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

โดยหลักแล้วท่านเห็นว่าปัญหาวิกฤตของประเทศเกิดจากระบอบเผด็จการรัฐสภา หรือระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน

ถ้าจะแก้ไขก็มีแต่ต้องทำลายระบอบ/ระบบนั้นในทันที !

ส่วนวิธีการแก้ไขในเบื้องต้นที่ต้องทำทันทีก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตัดบทบัญญัติอย่างน้อย ๆ สองสามประการ คือ (1) บังคับผู้สมัครส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง (2) ให้พรรคการเมืองมีอำนาจให้ส.ส.ที่ไม่ปฏิบัติตามคำบงการสามารถพ้นจากตำแหน่ง ได้ (3) ให้นายกรัฐมนตรีมาจากส.ส.เท่านั้น จากนั้นขั้นต่อไปก็คือเริ่มกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อการ ปฏิรูปการเมือ และการปฏิรูปประเทศ โดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองร่วมกับผู้ เชี่ยวชาญโดยผ่านระบบการคัดเลือกจากรัฐบุรุษหรือผู้นำ ในความหมายของ Statesman ไม่ใช่ในลักษณะของ “สภา” หรือ “สมัชชา” ที่มีที่มาหลากหลาย ขั้นสุดท้ายเมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พร้อมด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำเสร็จพร้อมกันแล้วให้นำมาผ่านการลงประชามติจากประชาชนโดยตรง

ไม่ว่าใครจะเห็นพ้องหรือเห็นต่างอย่างไรท่านก็ยืนยันของท่านอย่างนี้ มาเกือบ 20 ปีแล้วนับตั้งแต่นำข้อเขียนเรื่อง “รัฐธรรมนูญ : โครงสร้างและกลไกทางกฎหมาย” เสนอต่อที่ประชุมในการสัมมนาทางวิชาการที่โรงแรมเอเซีย จัดโดยสถาบันนโยบายศึกษา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 และเป็นหัวหน้าคณะวิจัยรวมทั้งเขียนบทความต่อเนื่องด้วยตนเองตลอด 2 ปีต่อมา ก่อนจะตกรวบยอดเป็นบทสรุปด้วยการเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” ลงในนสพ.ผู้จัดการรายวันช่วงเดือนเมษายน 2537 และจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มโดยสถาบันนโยบายศึกษาในอีก 3 เดือนต่อมา

หนังสือ “Constitutionalism : ทางออกของประเทศไทย” เดี๋ยวนี้กลายเป็นตำราคลาสสิคไปแล้ว

ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีก็เคยนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของคณะกรรมการพัฒนา ประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อปี 2537 และเป็นรากฐานที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 211 รัฐธรรมนูญ 2534 ในปี 2539 ก่อให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 ขึ้นมาในที่สุด แม้นวัตกรรมทางการเมืองหลายอย่างจะมาจากแนวคิดวิชากฎหมายมหาชนยุคใหม่ที่นำ เสนอโดยท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ แต่หลักสำคัญที่สุดสองสามประการที่ผมกล่าวข้างต้นไม่ได้รับการแก้ไข ผลที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับนั้นในที่สุดจึงคือการกระชับอำนาจให้กับระบบ เผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุน

ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไม่ได้ย่อท้อ หรือเปลี่ยนแปลงความคิด ท่านนำเสนอแนวคิดพื้นฐานของท่านอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งหนึ่ง 2 ศิษย์เอกอย่างท่านอาจารย์สมยศ เชื้อไทยและท่านอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติถึงกับก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาพรรคหนึ่งชื่อ “พรรคทางเลือกที่สาม” ในช่วงปี 2547

ช่วงวิกฤตเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2553 ก่อนจะนองเลือด ท่านก็เสนอทางออกของประเทศไทยอีกครั้งภายใต้แนวคิดพื้นฐานเดิมแต่ประยุกต์ไป ตามสถานการณ์

เมื่อเกิดกระแส “ปฏิรูปประเทศ” ขึ้นควบคู่กันไป ท่านก็ออกมาตอบโจทย์อีกว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง 2 ขั้นตอน

ท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ไม่เคยเชื่อในรูปแบบสภา รูปแบบสมัชชา แต่จะต้องเป็นเรื่องที่เริ่มต้นโดย Statesman และผู้เชี่ยวชาญ แล้วค่อยมาจบที่ภาคประชาชนในการลงประชามติ จนกระทั่งภาคประชาชนกล่าวหาท่านว่าไม่เห็นพลังของมวลชน ไปเน้นแต่ชนชั้นนำมากเกินไป ท่านก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะเชื่อแนวทางการวิเคราะห์สังคมไทยตามหลักสังคมวิทยาการเมือง

ท่านวิจารณ์แนวทางตั้งสมัชชาไว้ว่าการแก้ปัญหาการปฏิรูปประเทศไม่ได้ อยู่ที่จำนวนของสมัชชา และคาดหมายว่า สิ่งที่คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปจะได้จากสมัชชาทั้ง 14 สมัชชา ก็คือ ความคิดเห็นที่หลากหลาย จนจับสาระและเหตุผลไม่ได้ และไม่รู้ว่าจะทำให้ข้อเสนอเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร

“และ ในที่สุด ความคิดเห็นที่รวบรวมได้จากสมัชชา 14 ชุดเหล่านี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมกับหมดเงินงบประมาณของแผ่นดินไปแล้ว 600 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลให้มาสำหรับซื้อเวลาเพื่อให้ Elite ของเรา มีอะไรทำให้วุ่น ๆ บ้าง เพื่อที่รัฐบาลจะได้อยู่ในตำแหน่งและแสวงหาประโยชน์ต่อไป ก็คือ รัฐบาลจะทำหรือไม่ทำ ก็แล้วแต่รัฐบาลจะเลือก และพร้อม ๆ กับการเลือกก็คือการคงอยู่ของการคอร์รัปชั่น และการแสวงหาประโยชน์ของนักการเมืองนายทุนเจ้าของพรรคการเมือง ในระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองนายทุนในระบบรัฐสภาประเทศเดียวในโลก....

“Elite ที่มีเจตนาดี และมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่เพียงพอสำหรับการปฏิรูปประเทศให้คนไทย ผู้ที่จะปฏิรูปประเทศได้จะต้องเป็นทั้งผู้มีเจตนาดีที่ได้รับการยอมรับจากคน ส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้มีความรู้ และความรอบรู้ พอที่จะวิเคราะห์ปัญหาและทำความเข้าใจกับคนไทย ตลอดจนสามารถชี้นำคนไทย ด้วยเหตุ ด้วยผล และตรรก ให้ไปสู่การปฏิรูปประเทศและ การปฏิรูปการเมืองได้...

“ใครก็ ตามที่คิดจะเขยื้อนภูเขา ผมไม่คิดว่าผู้นั้นจะสามารถเขยื้อนภูเขาได้ ถ้าผู้นั้นยังอยู่ไต้ภูเขาหรือถูกภูเขาทับอยู่ และหนูก็คือหนู ไม่ว่าจะเป็นหนูตัวเดียว หรือหนู in Council...”

ท่านเปรียบเทียบกับนิทานอีสป เรื่องหนูประชุมกันคิดจะเอากระพรวนไปผูกคอแมว แต่หาหนูอาสาไม่ได้สักตัว เพราะรู้ว่าจะต้องตายแน่ ๆ

แต่หนูในนิทานอีสปก็ยังดีกว่าคณะกรรมการปฏิรูปของไทย เพราะหนูยังดีที่รู้ปัญหา ตรงกันข้ามกับคณะกรรมการปฏิรูปของไทยไม่แน่นักว่า

รู้ปัญหาหรือไม่

เป็นคำวิจารณ์ที่แรง !

ผมเองเห็นด้วย แต่ไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เพราะยังเชื่อว่าท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และคุณอานันท์ ปันายารชุน ไม่ใช่จะยอมมาเป็นเครื่องมือในการซื้อเวลาให้ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง นายทุนอย่างตื้น ๆ โดยไม่มีวาระของตัวเองหรอก ท่านยังมี “อาวุธลับ” ที่รัฐบาลไม่รู้หรือรู้แต่ไม่เชื่อหรือรู้และเชื่อแต่ไม่เป็นไรขอแก้ปัญหา เฉพาะหน้าไปก่อน

นั่นคือการสร้างมวลชนกลุ่มใหม่ขึ้นมาให้เติบใหญ่ในอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า หวังผลระยะยาว - ไม่เกิน 10 ปี !

โดยใช้เงินของรัฐกระทำไปในนามของรัฐ !!

บางที อาจจะใช้คำตอบของท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์นั่นแหละ เพียงแต่ผ่านวิธีการตอบในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่รูปแบบคณะกรรมการพิเศษที่อาศัย Statesman มาเป็นรูปแบบสั่งสมพลังมวลชนทีละขั้น ๆ ก็เป็นไปได้

การมีคนตรวจสอบอย่างท่านอาจารย์อมรฯ น่าจะเป็นเรื่องท้าทายของอาจารย์หมอประเวศฯและคุณอานันท์ฯ และนำไปประยุกต์ปรับขบวนให้กระชับ ตรงเป้า และ...

ระดมพลังได้ “หลากหลาย” มากขึ้น !

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น