++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รู้หรือไม่ แท้จริงเขมรยึดแผ่นดินไทย 2 จังหวัด

โดย ดร.ป. เพชรอริยะ 9 สิงหาคม 2553 14:43 น.
การก่อตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ (Nation State) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 5 นับแต่ พ.ศ. 2434 สำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 โดยมีกฎหมายระหว่างประเทศคุ้มครองชาติสยามตามกฎหมายความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศในยุคสมัยใหม่ (Modern History) คือไม่รุกราน ไม่แทรกแซงกิจการภายใน เคารพในบูรณภาพแห่งอาณาเขต และมีความเสมอภาคในผลประโยชน์ระหว่างชาติ

เหตุความเป็นมา

เหตุที่ 1 : ฝรั่งเศสแย่งชิงยึดเอาผืนแผนดินไทยไปก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 จะ ทรงสถาปนารัฐชาติสมัยใหม่ (2434-2435) เราจะไม่พูดถึงเพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจของกฎหมายระหว่างประเทศและความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสมัยใหม่

เหตุที่ 2 : ฝรั่งเศสใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่บีบบังคับไทย ไทยต้องเซ็นสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904-1907 (2447-2450) ไทยต้องจำยอมยกดินแดนเขมรในและลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสด้วยความ เจ็บแค้น แต่ไทยก็ได้สงวนสิทธิ์ไว้ว่าถ้าอธิปไตยเหนืออินโดจีนเปลี่ยนไปจากฝรั่งเศส เมื่อใด ฝรั่งเศสจะต้องคืนแก่ไทย

หมายเหตุ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกไปตามอนุสัญญาโตเกียวไปอย่างสมบูรณ์แล้ว

ไทยรบฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสได้บินมาทิ้งระเบิดจังหวัดนครพนม ความเหลืออดของประชาชนทั้งชาติก็ขาดสะบั้นลง ถึงขนาดพระสงฆ์องคเจ้าลาสิกขาเพศออกมาร่วมจับปืนด้วย

สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงได้ระเบิดขึ้น ไทยสามารถยึดได้แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวา แคว้นจำปาศักดิ์ จังหวัดเสียมราฐ พื้นที่ตะวันตกศรีโสภณ 17 กิโลเมตร ทางจันทบุรียึดได้ บ้านกุมเวียง บ้านห้วยเขมร ทิศตะวันตกยึดได้บ่อไพลิน

ฝรั่งเศสเสียหายเป็นอันมาก ส่วนใหญ่ไทยก็สูญเสียนักรบผู้กล้าหาญไปประมาณกว่า 800 คน ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้ามาไกล่เกลี่ย

เหตุที่ 3 : อนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1941 (2484) ไทยได้ชนะกรณีพิพาทไทย-อินโดจีน ฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเขมรในและลาวฝั่งขวาของไทยคืนให้แก่ไทยโดยมีแม่น้ำโขง เป็นเขตแดนระหว่างไทย-อินโดจีน ฝรั่งเศสได้ตกลงทำเป็นกติกาสัญญาขึ้น คือ “อนุสัญญาโตเกียว พ.ศ. 2484”

รัฐบาลญี่ปุ่นโดย นายมัตสุโอกะ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอ ตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ในที่สุดตกลงกันได้ ตามข้อตกลงโตเกียว วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสตกลงยอมคืนดินแดนที่ไทยเสียไปเมื่อ ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 คือ แคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ และแคว้นเขมร ให้แก่ไทย เป็นไปตามข้อตกลงเปิดประชุมทำสัญญาสันติภาพและปรับปรุงเขตแดน ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484

ซึ่งข้อตกลงนี้ได้รับรองโดย “อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส และพิธีสารโตเกียว” ซึ่ง มีสาระสำคัญ 12 ข้อ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และแลกเปลี่ยนสัตยาบัน ณ กรุงโตเกียว วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยนำมาขอสัตยาบันจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยไปรับมอบดินแดนมณฑลบูรพา ซึ่งบิดาของท่านคือ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ปกครองอยู่ในระหว่างที่ฝรั่งเศสแย่งชิงเอาไป พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ลด ธงชาติฝรั่งเศสลง และนำธงไตรรงค์ขึ้นแทน ผลจากสงครามอินโดจีนครั้งนี้ทำให้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ ระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาวตามที่ต้องการมายาวนาน

ไทยจัดการปกครอง เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2484 รัฐสภาอนุมัติ “พระราชบัญญัติจัดการปกครอง 4 จังหวัด” ในดินแดนที่ได้คืนจากฝรั่งเศส คือ จังหวัดนครจำปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง ในแคว้นอาณาเขตลาว และในมณฑลบูรพาเดิม ตั้งเป็น 2 จังหวัด คือ จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดพระตะบอง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอำเภอในจังหวัดทั้ง 4 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2484

ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 เราได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตปกครองทั้ง 4 จังหวัดนั้นด้วย โดยมีนายสังคม ริมทอง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดลานช้าง และนายสอน บุตโรบล ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดนครจำปาศักดิ์ นายชวลิต อภัยวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง นายประยูร อภัยวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม

การเลือกตั้งเพิ่มเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 นายสวาสดิ์ อภัยวงศ์ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง เขต 1 พระพิเศษพาณิชย์ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดพระตะบอง เขต 2 และนายญาติ ไหวดี ได้เป็น ส.ส.จังหวัดพิบูลสงคราม

“สงครามอินโดจีน” ไทยสามารถชิงเอามณฑลบูรพากลับคืนมาได้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามจึงได้สร้าง “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารผู้พลีชีพ เป็นรูป “ดาบปลายปืน” ตั้งตระหง่านกลางสี่แยกขึ้นเป็นอนุสรณ์

ในการเอาดินแดนของไทยฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับมาเป็นของไทยโดย เฉพาะที่สำคัญ เป็นการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชา โดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ

เหตุที่ 4 : ข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส 1946 (2489) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 นักล่าอาณานิคมและจักรพรรดินิยมฝรั่งเศส ได้พยายามโกงจังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดลานช้าง และจังหวัดนครจำปาศักดิ์กลับไป ด้วยการบีบบังคับให้รัฐสภาไทยเซ็นข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส

ภายหลังสิ้นสุด “สงครามมหาเอเชียบูรพา” ทำ ให้ฝรั่งเศสถือเป็นโอกาสประกาศยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวเมื่อปี ค.ศ. 1941 ยึดเอาดินแดน 4 จังหวัดของเรากลับคืนไปอีก โดยบังคับให้ฝ่ายไทยทำข้อตกลงปารีส ค.ศ. 1946 (2489) ( คือ “พิธีสารว่าด้วยวิธีการถอนตัวออกไป และการโอนเอาอาณาเขต” ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2489

โดยฝรั่งเศสฉวยโอกาสบังคับให้ไทยคืนดินแดน 4 จังหวัดให้แก่ฝรั่งเศสโดยไม่ชอบด้วยหลักการของฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำหนดไว้ว่า “อาณาเขตของประเทศใดที่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างสงครามให้คืนกลับสู่สภาพเดิมเสมือนหนึ่งไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลง”

ตามความเป็นจริง อาณาเขตทั้ง 4 จังหวัดที่ไทยได้คืนจากฝรั่งเศสก่อนที่จะเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงไม่อยู่ภายใต้หลักการนี้แต่อย่างใดและเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้นำข้อตกลงนี้แจ้งต่อสภาทราบ (เท่านั้น) แต่มิได้ขอสัตยาบันจากรัฐสภา (ซึ่งนายปรีดี ตั้งใจให้เป็นโมฆะ) และเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตอย่างผิดรัฐธรรมนูญ จึงทำให้ข้อตกลงปารีสดังกล่าวเป็นโมฆะ และอนุสัญญาโตเกียวปี ค.ศ. 1941 (2484) จึงยังมีผลบังคับต่อไป

สรุป ฝรั่งเศสกลัวเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังจะเริ่มขึ้นได้ขอทาบทามไทยให้เซ็นสัญญาไม่รุกรานกัน ไทยยินดีรับคำทาบทามโดยขอปรับปรุงแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมตามคำขอของไทย และได้รุกล้ำอธิปไตยไทยด้วยการทิ้งระเบิดที่นครพนม จึงทำให้ไทยจำเป็นต้องต่อสู้เพื่อกอบกู้ และรักษาอธิปไตยของชาติ ทำสงครามกับอินโดจีนฝรั่งเศสอยู่ถึง 22 วัน ญี่ปุนจึงได้ขอเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยทั้งไทยและฝรั่งเศสต่างก็ยินดีให้ ญี่ปุ่นเป็นผู้ไกล่เกลี่ย จึงได้มีการเจรจากันขึ้น ณ นครโตเกียว โดยฝรั่งเศสยินยอมยกแผ่นดินที่เคยโกงเอาไป เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 คืนให้แก่ไทยทั้งหมด (โดยแท้จริงแล้วไทยยึดคืนมาได้เพราะต่อสู้ชนะฝรั่งเศส)

อนุสัญญาโตเกียว จึงทำขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ 3 ขั้นตอน คือ เจรจา ลงนาม และให้สัตยาบัน รัฐสภาไทยได้ลงสัตยาบันรับรอง และได้จัดการปกครองมณฑลบูรพาเป็น 4 จังหวัด คือ ฝั่งกัมพูชาประกอบด้วย จังหวัดพระตะบอง และ พิบูลสงคราม ด้านลาว ประกอบด้วยจังหวัดจังหวัดนครจำปาศักดิ์ และลานช้าง มีการเลือกตั้งทั่วไป มี ส.ส.ในสภา ปกครองอยู่ 5 ปี ฝรั่งเศสก็ได้มาโกงกลับเอาไปอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบีบบังคับให้ไทยต้องยอมคืนดินแดนมณฑลบูรพาทั้งหมดให้ฝรั่งเศส ด้วยการเซ็นสัญญาเป็นข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1946 แต่ไม่ได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาไทย และ ถือว่าฝรั่งเศสรุกราน การข่มขู่ บีบบังคับ จึงเป็นโมฆะไม่ชอบธรรมจึงไม่สามารถจะให้สัตยาบันจะไปยกเลิกอนุสัญญาโตเกียว ได้ เพราะเป็นสัญญากู้ชาติ และชอบธรรมที่มีรัฐสภาให้สัตยาบัน

ดังนั้น มณฑลบูรพา คือ จังหวัดพระตะบอง พิบูลสงคราม จังหวัด ลานช้าง จังหวัดนครจำปาศักดิ์ จึงยังคงเป็นของไทยตลอดมาตั้งแต่ ค.ศ. 1941 จนถึงบัดนี้ และปราสาทพระวิหารจึงยังคงเป็นของไทยจนถึงบัดนี้เช่นกัน

ข้อ ตกลงไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1946 (2489) จึงกลายเป็นสัญญาที่เป็นโมฆะและไม่เป็นธรรม ประกอบกับข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส ไม่ได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาไทย แต่อนุสัญญาโตเกียวได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาไทย จึงทำให้อนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1941 เป็นกติกาสัญญาที่มีผลบังคับใช้อยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 จนถึงบัดนี้ (จากบทความทหารประชาธิปไตย)

ฝ่ายกัมพูชานำเอาสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ที่ถูกยกเลิกไปโดยอนุสัญญาโตเกียวที่ได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาไทยอย่างถูก ต้องสมบูรณ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศสที่เป็นโมฆะเพราะไม่ได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาไทย และผิดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศและผิดต่อหลักกฎหมายแห่งชาติ จึงไม่สามารถยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวได้อย่างสิ้นเชิง แท้จริงเขมรยึดเอา 2 จังหวัดของไทยไป

“สัตยาบัน” (ratification) หมายถึง คำมั่นสัญญา คำรับรอง คำมั่น การยืนยัน ฉะนั้นการให้สัตยาบันใน สนธิสัญญาคือการยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้ สัตยาบันเป็นกระบวนการตรวจสอบสนธิสัญญาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการเจรจา และ/หรือลงนามแล้ว

ขอให้รัฐบาลและผู้รักชาติทั้งหลายได้ศึกษาเรื่องนี้ด่วนพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น