++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิธีกำจัดยาเหลือใช้

Page 1
ร่วมรณรงค์ลดยาเหลือใช้ นำไปปรึกษาเภสัชกร
รอบรู้เรื่องยา ปรึกษาเภสัชฯ
ลดยาเหลือใช้ ปลอดภัย ปลอดโรค
26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2553
ยาเหลือใช้ เก็บไว้ก็สับสน
เด็กหยิบกินก็กังวล.....
จะจัดการกับยาเหลือใช้..อย่างไร
• ยาเหลือใช้ที่ยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพดี
ควรเก็บอยู่ในซองยาหรือขวดยาเดิมและวางรวมไว้
ที่เดียวกัน ในที่ที่เหมาะสม หรือเก็บในตู้ยาหรือกระเป๋ายา
ให้พ้นแสงแดด ไม่อยู่ในที่ชื้น และต้องให้พ้นมือเด็ก
ตรวจสอบด้วยว่าฉลากยายังชัดเจน มีวิธีใช้ครบถ้วน
หากไม่มั่นใจ ให้นำไปปรึกษาเภสัชกร
• ยาเหลือใช้ที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพแล้ว
ให้ทำลายก่อนทิ้ง โดยแกะฉลากที่มีชื่อของท่านออก
ถ้าเป็นยาเม็ด ให้ทุบทำลายและเติมน้ำเล็กน้อย หรือถ้า
มียาน้ำที่หมดอายุให้เทผสมลงไป ยาครีม/ขี้ผึ้งให้บีบ
ออกจากหลอด จากนั้น นำกากใบชา ขี้เลื่อย เศษผัก หรือ
เปลือกผลไม้ผสมลงไปในถุงเดียวกัน ปิดปากถุงให้สนิท
(ถ้าเป็นถุงซิปล็อกได้ก็จะดี) ก่อนจะทิ้งลงถังขยะต่อไป
เพื่อไม่ให้คนอื่นนำยาที่ทิ้งนั้นไปใช้ได้อีก แต่หากมียาเหลือ
ใช้จำนวนมาก ให้นำไปปรึกษาเภสัชกร
สิ่งที่ไม่ควรทำ
• อย่านำยาเหลือใช้ไปให้คนอื่นใช้ ขณะเดียวกันก็อย่ากิน
ยาที่คนอื่นให้มา เพราะอาการที่คล้ายกันอาจไม่ได้เกิดจาก
โรคเดียวกัน ขนาดยาก็อาจไม่เหมาะสม และอาจเกิด
อาการแพ้ยาได้อีกด้วย
• อย่านำยาเหลือใช้มารวมในซองยาหรือขวดยาเดียวกัน
• อย่าแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ใช้
• อย่าเก็บยาในตู้เย็น ยกเว้นยาที่มีฉลากระบุไว้
• อย่าเก็บยาในรถที่จอดทิ้งไว้ เพราะความร้อนจะทำให้
ยาเสื่อม
• อย่าหยุดยาเอง เพราะแพทย์จะเข้าใจผิดว่าอาการที่
เลวลงเป็นเพราะโรค หรือขนาดยาไม่พอ แล้วเพิ่มยาให้อีก
• อย่าซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาเภสัชกร เพราะถ้า
ได้รับยาจำนวนมากจากสถานพยาบาล
แล้วอาจได้รับยาซ้ำซ้อน
สิ่งควรทำ
• ฉลากยานั้นสำคัญ...ควรอ่านและ
ทำตามอย่างเข้าใจ
• ควรเก็บยาให้ถูกที่...ยาเปลี่ยนสี...ให้ทิ้งไป
• ลดยาเหลือใช้...ทำได้ไม่ยาก..ปรึกษาเภสัชกร
โรงพยาบาล / ร้านยา ..............................................................................
โทร..................................................................................................................
ข้อแนะนำ
จาก
เภสัชกร
Page 2
ร อ บ รู้ เ รื่ อ ง ย า ป รึ ก ษ า เ ภ สั ช ฯ ล ด ย า เ ห ลื อ ใ ช้ ป ล อ ด ภั ย ป ล อ ด โ ร ค
ท่านมียาเหลือใช้อยู่ในบ้านหรือไม่ ?
ยาเหลือใช้ หมายถึงยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งอาจเป็น
เพราะแพทย์เปลี่ยนยา หรือ ได้ยามาจากหลายโรงพยาบาล
แล้วใช้ไม่ถูก หรือเป็นยาที่รักษาอาการอย่างเดียวกัน เลย
ไม่ได้ใช้ หรือ หยุดใช้ยาเพราะหายดีแล้วหรือเกิดอาการ
ข้างเคียง หรือปรับลดขนาดยาลงเอง หรือเป็นยาที่เหลืออยู่
หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต เป็นต้น
การมียาเหลือใช้อยู่ในบ้าน เป็นความเสี่ยงใกล้ตัว
ยิ่งถ้าเก็บไม่ถูกวิธี จะกลายเป็นยาเสีย ยาที่มีคุณอนันต์
ก็อาจทำให้เกิดโทษมหันต์ได้ โดยเฉพาะถ้ามีเด็กเล็กในบ้าน
ความเสี่ยงยิ่งทวีคูณ เพราะเด็กอาจจะเอายานั้นใส่ปาก
โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ยาเหลือใช้...
ยังใช้ได้...หรือไม่ ?
ยาเหลือใช้จากสาเหตุต่างๆ หรือยาบรรเทาอาการที่
ซื้อมามากเกินไป เมื่ออาการหายแล้วจะยังมียาเหลืออยู่
จำนวนหนึ่ง ต้องเก็บรักษาอย่างถูกวิถี เมื่อจะนำมาใช้ในครั้ง
ต่อไป ควรตรวจสอบสภาพยาและอ่านวันหมดอายุของยาก่อน
ทำอย่างไร ไม่ให้มียาเหลือใช้
• อ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ยา ควรอ่านให้เข้าใจว่า
ใช้อย่างไร ต้องใช้ต่อเนื่องจนยาหมดหรือไม่ หรือใช้นาน
เท่าใด ยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ ต้องกินติดต่อกันจน
หมด เพื่อให้ได้ผลในการรักษา หรือยาหยอดตา เมื่อเปิดใช้
แล้วเก็บได้ไม่เกิน 1 เดือน เป็นต้น ถ้าปฏิบัติตามคำ
แนะนำบนฉลาก จะช่วยลดยาเหลือใช้
• นำยาที่เหลืออยู่ไปพบแพทย์ตามนัด หากท่านมี
โรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องใช้ยาต่อเนื่องและต้องไปพบ
แพทย์ตามนัด อย่าลืมนำยาที่เหลืออยู่ไปด้วยทุกครั้งที่ไป
พบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทราบถึงจำนวนยาที่เหลืออยู่ และ
สั่งจ่ายยาตามจำนวนที่หักยาเดิมให้พอถึงวันนัดครั้งต่อไป
แทนที่จะสั่งยาให้ตามจำนวนวัน เพราะถ้ามียาเดิมเหลือ
ค้างอยู่ที่บ้าน หากแพทย์มีการเปลี่ยนยาให้ใหม่ และท่าน
ใช้ร่วมไปกับยาเดิม จะทำให้ได้รับยามากเกินไปจนอาจเป็น
อันตราย แต่ถ้าท่านไม่ใช้ ยาเดิม
นั้นจะเป็นยาเหลือใช้
• ไม่ควรซื้อยาบรรเทา
อาการคราวละมากๆ
ยาบรรเทาอาการ เช่น
ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ
แก้หวัด หลังจากหายแล้ว
ถ้าเหลืออยู่ จะกลายเป็น
ยาเหลือใช้
วิธีดูยาหมดอายุ ยาเสื่อมสภาพ
• ดูจากข้อมูลวันหมดอายุยา ที่ข้างกล่อง
ข้างขวด หรือบนแผงยา
• ดูจากลักษณะภายนอกของยา เช่น สีหรือ
กลิ่นเปลี่ยนไป ยาผงหรือยาเม็ดชื้น ยาน้ำ
ตกตะกอน แยกชั้น
• หากไม่มีวันหมดอายุระบุไว้ หรือ ยายังอยู่ใน
สภาพดี ก็ให้ดูจากวันที่ที่รับยานั้นมา หากได้
รับมานานเกินกว่า 6 เดือน - 1 ปี ก็ไม่ควรใช้
อีกต่อไป (ขึ้นกับประเภทของยา หากไม่แน่ใจ
ควรปรึกษาเภสัชกร)
ทุกครั้งที่รับยาจากเภสัชกร
ให้สอบถามวิธีใช้อย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น